简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: เงินเฟ้อภาคการผลิตญี่ปุ่นพุ่งแรงในม.ค. หนุนกระแสเก็ง BOJ เตรียมขึ้นดอกเบี้ย
รายงานที่เปิดเผยในวันนี้ (13 ก.พ.) ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อภาคการผลิตรายปีของญี่ปุ่นในเดือนม.ค. 2568 พุ่งขึ้นสู่ระดับ 4.2% นับเป็นการเร่งตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 สะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันด้านราคาที่ยังคงอยู่ในระดับสูง พร้อมทั้งตอกย้ำการคาดการณ์ของตลาดที่ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในเร็ววันนี้
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ข้อมูลดังกล่าวได้เผยแพร่ออกมาภายหลังจากที่คาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการ BOJ ได้ส่งสัญญาณเตือนเมื่อวันพุธ (12 ก.พ.) ว่า การที่ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลต่อการคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชน สะท้อนให้เห็นว่า BOJ กำลังจับตามองความเสี่ยงที่ราคาสินค้าอาจปรับตัวสูงขึ้นอย่างใกล้ชิด
ดัชนีราคาผู้ผลิต (CGPI) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดระดับราคาสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บระหว่างกัน ได้ปรับตัวสูงเกินกว่าที่นักวิเคราะห์ในตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 4.0% และเมื่อเทียบกับตัวเลขที่ปรับปรุงใหม่ในเดือนธ.ค.ที่ขยายตัว 3.9%
จากข้อมูลพบว่า ราคาสินค้าได้ปรับตัวขึ้นในวงกว้าง ครอบคลุมหลายหมวดสินค้า ไม่ว่าจะเป็นอาหาร สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ตลอดจนโลหะนอกกลุ่มเหล็ก
เมื่อปีที่ผ่านมา BOJ ได้ยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลที่ดำเนินการมานานนับทศวรรษ พร้อมกับปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นเป็น 0.5% ในเดือนม.ค. ด้วยความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเดินหน้าสู่การรักษาระดับเงินเฟ้อได้ตามเป้าหมาย 2% อย่างมั่นคง
ทั้งนี้ BOJ ได้เปิดเผยว่าพร้อมจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม หากเห็นว่าการปรับขึ้นค่าแรงในภาพรวมสามารถหนุนกำลังซื้อของผู้บริโภค และเอื้อให้ภาคธุรกิจปรับราคาสินค้าและบริการได้อย่างต่อเนื่อง
ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือนธ.ค.อยู่ที่ 3.0% นับเป็นการเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในรอบ 16 เดือน และยังคงสูงกว่าเป้าหมาย 2% ที่ BOJ กำหนดไว้ต่อเนื่องยาวนานเกือบ 3 ปี
ขอบคุณ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
บทความนี้สำรวจ 5 ประเทศที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายเงินตราระดับโลก ได้แก่: สหราชอาณาจักร (ลอนดอน) – ศูนย์กลางอันดับหนึ่งของโลก มีสภาพคล่องสูงสุดเพราะเชื่อมโยงตลาดเอเชียและอเมริกา สหรัฐอเมริกา (นิวยอร์ก) – ฐานหลักของดอลลาร์สหรัฐ และได้รับอิทธิพลจากนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ สิงคโปร์ – ศูนย์กลางการเงินของเอเชีย และประตูสู่ตลาดเอเชียแปซิฟิก ฮ่องกง – เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีน และเป็นศูนย์กลางการซื้อขายเงินหยวนนอกประเทศจีน ญี่ปุ่น (โตเกียว) – ฐานหลักของเงินเยน และได้รับอิทธิพลจากนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น การเข้าใจโครงสร้างและลักษณะเฉพาะของตลาดเหล่านี้ ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรและวางกลยุทธ์การซื้อขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรมสรรพากรสหรัฐฯ เลิกจ้างพนักงานราว 6,000 ตำแหน่งตามนโยบายทรัมป์
บทวิเคราะห์ทองคำ
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
STARTRADER
FXTM
EC Markets
IB
HFM
Vantage
STARTRADER
FXTM
EC Markets
IB
HFM
Vantage
STARTRADER
FXTM
EC Markets
IB
HFM
Vantage
STARTRADER
FXTM
EC Markets
IB
HFM
Vantage