简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เมื่อ 2 ม.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ตอบโต้เสียงวิจารณ์ว่ารัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยอ้างว่า รัฐบาลทำไปเต็มที่ และเรียกร้องให้ผู้วิจารณ์เสนอแนวทางการแก้ไขมา ถ้าเขาเห็นว่าดี จะทำตาม
เมื่อ 2 ม.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ตอบโต้เสียงวิจารณ์ว่ารัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยอ้างว่า รัฐบาลทำไปเต็มที่ และเรียกร้องให้ผู้วิจารณ์เสนอแนวทางการแก้ไขมา ถ้าเขาเห็นว่าดี จะทำตาม
“เรื่องค่าเงินบาท ก็มีการตั้งคณะกรรมการติดตามอย่างใกล้ชิด มาตราการหลายอย่างก็ได้ออกไป หลายอย่างก็ดีขึ้น แต่บางอย่างก็ยังไม่ดีขึ้น”
ด้าน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในวันเดียวกัน ยอมรับว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลกระทบต่อประเทศ แม้ทุกฝ่ายพยายามบริหารจัดการต่อเนื่อง และไม่สามารถตอบได้ว่า เงินบาทจะแข็งค่าอีกนานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ อีไอซี ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุในรายงานเมื่อ 2 ม.ค. ว่า เงินบาทในปี 2563 จะยังเผชิญแรงกดดันด้านแข็งค่าอยู่ต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่น้อยลงจากปี 2562 โดยมองว่า เงินบาท ณ สิ้นปี 2563 จะอยู่ในกรอบ 29.50-30.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจาก ไทยยังต้องเผชิญปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล ในระดับสูง ขณะที่ความต้องการลงทุนในต่างประเทศยังต่ำ จึงทำให้มีความต้องการเงินบาทในปริมาณมาก อีกทั้งดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีโอกาสปรับอ่อนค่าลงได้เล็กน้อย ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ดี ปัจจัยหนุนที่ช่วยให้เงินบาทจะไม่แข็งค่าขึ้นเร็วมากเท่าในปี 2562 คือ การลงทุนในต่างประเทศของภาคธุรกิจไทยอาจมีแนวโน้มปรับดีขึ้นบ้าง
ด้าน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดว่าค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2563 จะอยู่ที่ 29.85/ดอลลาร์สหรัฐฯ
แบงก์ชาติ ประกาศ ดูแลเงินบาท “ใกล้ชิด”
วชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงเมื่อ 2 ม.ค. ว่า ธปท. กำลังจับตาความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดหลังจากที่เมื่อ 30 ธ.ค. ค่าเงินบาทในตลาดค้าเงินตราต่างประเทศพุ่งไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี ที่ 29.92 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ
วชิรา ระบุว่า ราคาค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. ไม่ได้สะท้อนปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย แต่มาจากจำนวนเงินบาทในตลาดที่มีน้อยในวันนั้น ทำให้ค่าเงินสูงเกินความเป็นจริง
สำนักข่าวรอยเตอร์และบลูมเบิร์กรายงานตรงกันว่า เงินบาทของไทย เป็นสกุลเงินเอเชียที่แข็งค่ามากที่สุดในรอบปี 2562 โดยมีมูลค่าสูงขึ้นเกือบ 9% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
บลูมเบิร์กรายงานว่าเมื่อช่วงเช้าเวลาเอเชียของ วันที่ 2 ม.ค. ค่าเงินบาทในตลาดค้าเงินตราตกลงไปถึง 1.8% ซึ่งถือว่าตกหนักมากที่สุดนับแต่ปี 2550 มาอยู่ที่ 30.226 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ
บลูมเบิร์กอ้างคำพูดของนักค้าเงินตราจาก INTL FCStone ในสิงคโปร์ว่า “มีความเป็นไปได้ว่าราคาที่ตกลงไปมาจากการแทรกแซงตลาดของธนาคารกลางของไทย ที่พูดเสมอว่าจะเข้าต่อกรกับค่าเงินบาทที่กำลังพุ่งขึ้น”
ที่ผ่านมา ธปท. ไม่เคยชี้แจงเรื่องการแทรกแซงค่าเงินบาทในตลาดค้าเงิน
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
กรอบนโยบายการเงินแบบไหนล้วนมีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน คือ ต้องการดูแลราคาสินค้าในประเทศไม่ให้เกิดเงินเฟ้อสูงหรือต่ำไป ดูแลเศรษฐกิจไม่ให้ร้อนแรงหรือซบเซามากไป รวมถึงดูแลให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพ แต่จะแตกต่างกันที่ “วิธีการ” ไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง กรอบ “เป้าหมายเงินเฟ้อ” ที่ไทยใช้อยู่ในปัจจุบันเลือกควบคุม “ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย” โดยพึ่งกลไกการส่งผ่านไปยังเงินเฟ้อเป้าหมายและเศรษฐกิจ รวมถึงภาคส่วนต่างๆ
เงินบาทช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่จับตามองจากหลายๆ ฝ่าย ซึ่งแบงก์ชาติกล่าวว่าการแข็งค่าอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลจากสภาพคล่องในตลาดเงินที่อยู่ในระดับต่ำในช่วงวันหยุดเทศกาล ทำให้การทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราไม่สมดุล อีกทั้งยังเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน
HFM
ATFX
EC Markets
STARTRADER
VT Markets
GO MARKETS
HFM
ATFX
EC Markets
STARTRADER
VT Markets
GO MARKETS
HFM
ATFX
EC Markets
STARTRADER
VT Markets
GO MARKETS
HFM
ATFX
EC Markets
STARTRADER
VT Markets
GO MARKETS