简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:แม้เริ่มต้นปี 2563 จะเจอปัจจัยลบรุมเร้าหลายด้าน แต่ก็ยังมีปัจจัยหนุนอยู่บ้าง หลักๆ 4 ด้าน สศช.เชื่อว่า หากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สิ้นสุดลงในไตรมาส 2 ปี 2563 ตามที่คาดการณ์ไว้ ทั้ง 4 ปัจจัยจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างแน่นอน
เกือบ 2 เดือนเต็มแล้วที่ “เศรษฐกิจไทย” เผชิญกับ “ข่าวร้าย” แบบไม่หยุดหย่อนมาตั้งแต่ต้นปี 2563เริ่มตั้งแต่ “การห้ำหั่น” กันระหว่าง “สหรัฐ” กับ “อิหร่าน”ทำเอาการลงทุนชะงักงันไปช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นเรายังเจอกับปัญหา “ฝุ่นพิษ”ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวจากทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ขณะเดียวกันยังเผชิญกับ“ภัยแล้ง”ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อของแรงงานภาคเกษตร รวมไปถึงปัญหางบประมาณปี 2563 ที่ล่าช้าอยู่แล้วต้องล่าช้าออกไปอีก และที่หนักสุด คือ ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19”ซึ่งไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นและยังส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งเศรษฐกิจไทยด้วย
สัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2562 เติบโตเพียง 1.6% เป็นระดับ “ต่ำสุด” ในรอบ 21 ไตรมาส รวมทั้งยังได้ “ปรับลด” คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ลงเหลือ 1.5-2.5% จากเดิม 2.7-3.7%สาเหตุสำคัญมาจากการแพร่ระบาดของ “โควิด-19” ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อ “ภาคการท่องเที่ยวไทย” และยังกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญด้วย ..เรียกได้ว่า “เศรษฐกิจไทย” ห้วงเวลานี้ “มีแต่ข่าวร้าย” เต็มไปหมด ทุกคนเฝ้ารอแค่ว่าจะมี “ข่าวดี” ให้ใจชื้นเมื่อไหร่บ้าง
สำหรับ “ปัจจัยหนุน” ทางเศรษฐกิจนั้น หาก “ส่องดูดีๆ” ก็พอมีให้เห็นบ้าง โดยข้อมูลของ สศช. ระบุว่า ปัจจัยหนุนทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้มี “4 ด้านหลัก” ด้านแรก คือ การปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลกท่ามกลางการผ่อนคลายจากแรงกดดันของมาตรการการค้าระหว่าง “สหรัฐ” กับ “จีน” รวมทั้งการลดลงของ “ความเสี่ยง” จากการแยกตัวแบบไร้ข้อตกลงของสหราชอาณาจักร หรือ “โนดีล เบร็กซิท” ซึ่งแม้การแพร่ระบาดของ “โควิด-19” จะส่งผลต่อเศรษฐกิจจีนและประเทศสำคัญๆ ผ่านการลดลงของนักท่องเที่ยว และผ่านห่วงโซ่การผลิต-การค้าระหว่างประเทศบ้าง แต่กรณีฐานเชื่อว่าจะสิ้นสุดลงในช่วงต้นเดือนพ.ค.2563 ทำให้แรงกดดันทางเศรษฐกิจเริ่มผ่อนคลายลงในไตรมาส 2
ด้านที่ 2 คือ การขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจของ “อุปสงค์” ภายในประเทศ ทั้งในด้านการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชนส่วนหนึ่งได้แรงหนุนจาก การลงทุนย้ายฐานการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากมาตรการกีดกันการค้าท่ามกลางความคืบหน้าของโครงการลงทุนสำคัญๆ รวมไปถึง การผ่อนคลายมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (แอลทีวี) ในบางข้อเป็นต้นด้านที่ 3 คือ แรงขับเคลื่อนจากมาตรการภาครัฐทั้งการดูแลผู้มีรายได้น้อย รวมถึงมาตรการการเงินการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งข้อนี้ “ภาครัฐ” พร้อมทุ่มสรรพกำลังเข้ามาดูแลอย่างเต็มที่
สุดท้าย คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำในปีที่ผ่านมา ทำให้ “ฐาน” ปีที่แล้วต่ำลงโดยเฉพาะช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ ทาง สศช.เชื่อว่า หากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สิ้นสุดลงในไตรมาส 2 ปี 2563 ตามที่คาดการณ์ไว้ ทั้ง “4 ปัจจัย” เหล่านี้ จะช่วยให้เศรษฐกิจไทย “ฟื้นตัว” อย่างแน่นอน ...เราหวังว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในรอบนี้จะเป็นลักษณะ “วีเชฟ” หากทำได้จริง จะถือว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง “ครึ่งแรก” ของปีนี้ เป็นเพียง “ฝันร้าย” ทางเศรษฐกิจ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นซิมบับเวเติบโตสูงสุด เนื่องจากมีการพิมพ์เงินออกมามากขึ้นเมื่อเผชิญวิกฤติ เพื่อให้ค่าเงินอ่อนลงและรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับสหรัฐที่ทำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งหลายคนมองว่าเราอาจอยู่ในฟองสบู่ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ลงนามในร่างกฎหมายบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันพฤหัสบดี โดยสั่งจ่ายเช็คกระตุ้นให้บุคคลและครอบครัวที่มีคุณสมบัติตามรายได้และเงินบรรเทาทุกข์จำนวนมากที่จะส่งไปยังเมืองโรงเรียนและธุรกิจต่างๆ
‘เยลเลน’ต่อสายตรงรมว.คลังอินโดฯ หวังกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ (โควิด-19) ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติการณ์ และยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เมื่อใดจะกลับมาฟื้นตัวเต็มที่ พัฒนาการของวัคซีนทำให้เศรษฐกิจโลกดูมีความหวังก็จริง แต่นักเศรษฐศาสตร์ยังมีเรื่องที่น่าห่วง
ATFX
IC Markets Global
EC Markets
Tickmill
Vantage
TMGM
ATFX
IC Markets Global
EC Markets
Tickmill
Vantage
TMGM
ATFX
IC Markets Global
EC Markets
Tickmill
Vantage
TMGM
ATFX
IC Markets Global
EC Markets
Tickmill
Vantage
TMGM