简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: เมื่อเร็วๆ นี้ อียูได้ประกาศเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าต่อกัมพูชา ในกลุ่มสินค้าหลัก เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ฯลฯ ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.63 แน่นอนว่ากัมพูชาต้องได้รับผลกระทบ แต่ไทยเองจะได้หรือเสียผลประโยชน์อย่างไรบ้าง?
การประกาศ “เพิกถอน” สิทธิพิเศษทางการค้า (Everything But Arms: EBA) ที่สหภาพยุโรปหรืออียูมีต่อกัมพูชาในสินค้าหลัก ได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า จากปัญหาสิทธิมนุษยชนและแรงงาน จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.63 หรือ 6 เดือนนับจากประกาศนี้
EBA คือสิทธิพิเศษทางการค้าสูงสุดจากประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าและยกเลิกการกำหนดโควตานำเข้าครอบคลุมสินค้าทุกประเภทยกเว้นอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออกซึ่งรวมถึงกัมพูชาด้วย
อียูนับเป็นคู่ค้าสำคัญที่สุดของกัมพูชา โดยในปี ค.ศ.2018 กัมพูชาส่งออกสินค้าไปอียูมากถึง 45% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ารวม 5,300 ล้านยูโร หรือ 170,000 -180,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่มีสัดส่วนมากถึง 78% ของมูลค่าการส่งออกไปตลาดอียู คิดเป็นมูลค่า 134,800 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ รองเท้า สัดส่วน 13% หรือคิดเป็นมูลค่า 23,000 ล้านบาท ที่ส่งออกไปตลาดอียูปี 2018
· ประเมินผลกระทบจากการที่อียูตัดสิทธิพิเศษทางการค้ากัมพูชา แยกเป็น 2 กรณี คือ
กรณีแรก ผลกระทบต่อเศรษฐกิจกัมพูชาเศรษฐกิจกัมพูชามีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการพึ่งพาเศรษฐกิจอียูในระดับสูง ผลจากการถูกตัดสิทธิพิเศษ EBA จะทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าไปอียูต้องเสียภาษีนำเข้ามากขึ้น โดยจะเสียภาษี 12% สำหรับรายการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และเสียภาษี 8% สำหรับรายการรองเท้า ส่งผลให้ผู้ส่งออกกัมพูชาต้องเสียภาษีมากขึ้นและบั่นทอนความสามารถการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาค ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้ามีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทำให้อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจกัมพูชาในปีนี้อาจโตไม่ถึง 7% นอกจากนี้ แนวโน้มการลดการจ้างงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวย่อมกระทบต่อกำลังซื้อ ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานกัมพูชาในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปและรองเท้าประมาณ 750,000 คน หากนับรวมคนในครอบครัวแรงงานก็จะมีประมาณ 2 ล้านคน ทำให้เงินหมุนเวียนในประเทศอาจหายไปจากระบบ
อย่างไรก็ตาม การถูกถอนสิทธิพิเศษ EBA อาจเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการปฏิรูปเศรษฐกิจกัมพูชาภายใต้แผนพัฒนาอุตสาหกรรมฉบับใหม่ รวมไปถึงการที่กัมพูชายังคงได้สิทธิพิเศษทางภาษี GSP จากสหรัฐ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูง นอกจากนี้ ความหลากหลายทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ประกอบกับปัจจัยที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ได้แก่ การยกเว้นภาษีสูงสุด 9 ปีสำหรับธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และการให้สิทธิต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจได้ 100% ทำให้การลงทุนในกัมพูชายังคงมีความน่าสนใจ
กรณีที่สอง ผลกระทบต่อทุนไทยในกัมพูชาในระยะสั้นคาดว่าไม่มีผลต่อการปรับแผนการผลิต เพราะโดยปกติมีการวางแผนสั่งซื้อล่วงหน้า 3 ปีแล้ว สำหรับในช่วงที่คำสั่งเพิกถอนสิทธิจะมีผลในเดือน ส.ค.63 คาดว่าทางโรงงานผู้ผลิตจะเร่งส่งมอบสินค้าให้ได้มากที่สุด ส่วนในระยะถัดไปหลัง 12 ส.ค.63 ทุนไทยที่เข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มให้กัมพูชาเป็นลำดับต้น ๆ เพื่อรับคำสั่งซื้อจากเจ้าของแบรนด์ดังจากต่างประเทศ อาจถูกทยอย “ยกเลิก” การจ้างผลิตหรือลดปริมาณคำสั่งซื้อ รวมไปถึงอาจถูกพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น โดยเฉพาะเวียดนามเนื่องจากมีค่าแรงไม่สูง ประกอบกับเมื่อกลางเดือนก.พ. ที่ผ่านมา รัฐสภายุโรปได้ลงมติรับรองข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับเวียดนาม นอกจากนี้ กำลังซื้อของผู้บริโภคชาวกัมพูชาที่ลดลง อาจส่งผลทางอ้อมต่อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ส่งออกจากไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกัมพูชายังมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็น การผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ไทยยังมีโอกาสขยายการค้ากับกัมพูชาโดยเฉพาะการค้าชายแดนโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รถยนต์และส่วนประกอบ และที่สำคัญทุนไทยในกัมพูชาควรหาแนวทางการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดเมื่อการตัดสิทธิพิเศษทางการค้าของอียูที่มีต่อกัมพูชามีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
การระบาดของโรคโควิดในต่างประเทศกลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวของตลาดการเงินโลกอย่างเป็นระบบ เราเชื่อว่าเมื่อเทียบกับวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2551 ระบบการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักของโลกมีความแข็งแกร่งกว่ามากและสินทรัพย์ในยุโรปจะแสดงมูลค่าการกำหนดค่า
สำหรับอนาคตของตลาดทุนยุโรปหลังจากอังกฤษและสหภาพยุโรปไม่ได้มีส่วนร่วมในการทะเลาะวิวาทที่รุนแรงเหมือนก่อน แต่ว่าสถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนไป
STARTRADER
FxPro
ATFX
VT Markets
FOREX.com
FBS
STARTRADER
FxPro
ATFX
VT Markets
FOREX.com
FBS
STARTRADER
FxPro
ATFX
VT Markets
FOREX.com
FBS
STARTRADER
FxPro
ATFX
VT Markets
FOREX.com
FBS