简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19” ยังไม่ทันจะคลี่คลาย ประธานาธิบดี“โดนัลด์ ทรัมป์”ของสหรัฐ ก็ออกมา “เปิดศึก” รอบใหม่กับ “จีน”
โดยกล่าวหาว่า จีน คือต้นตอการแพร่ระบาดของโรคโควิด ซึ่ง “ทรัมป์” ประกาศว่า จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน สร้างความกังวลว่า สงครามการค้าระหว่าง “สหรัฐ” กับ “จีน” จะกลับมาปะทุอีกครั้ง
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวนการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า หากสหรัฐกลับมาทำสงครามการค้ากับจีนอีกครั้งในช่วงเวลานี้ จะยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกทำให้แย่ลงมากขึ้น ซึ่งเวลานี้ทั่วโลกเริ่มพูดคุยกันว่า เศรษฐกิจโลกอาจเกิดภาวะตกต่ำครั้งใหญ่เหมือนที่เกิด Great Depression เมื่อปี1929 หากเกิดจริงจะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยมาก เพราะไทยเป็นประเทศพึ่งพาการค้าโลกเป็นหลัก
“ตอนที่เกิด Great Depression การค้าโลกลงไปลึกมาก แต่ครั้งนี้มีความแตกต่างกันตรงที่ ธนาคารกลางและรัฐบาลหลายประเทศได้เรียนรู้จากวิกฤติในคราวนั้น ซึ่งครั้งนั้นธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดทำให้สถานการณ์ยิ่งหนัก แต่ครั้งนี้ เฟด(ธนาคารกลางสหรัฐ) ผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น ซึ่งถ้าเทียบกับของไทยแล้ว ของเราถือว่ายังเล็กน้อยมาก”
นายดอน กล่าวด้วยว่า ประเด็นเรื่องสงครามการค้า ถือเป็นความเสี่ยงที่มีมาโดยตลอด แต่หากเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ทั่วโลกกำลังเผชิญผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19” ก็มีความเป็นไปได้ที่ มาตรการดูแลเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท อาจไม่เพียงพอ และทำให้ภาครัฐต้องอัดฉีดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อดูแลเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ณ เวลานี้ วงเงินดังกล่าวยังสามารถยันไว้ได้
ส่วนประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ ธปท. ยังประเมินว่า จีดีพี มีแนวโน้มหดตัวในระดับ 5.3% โดยประมาณการดังกล่าวมีขึ้นในช่วงเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า การแพร่ระบาดจะคลี่คลายลงในไตรมาส 2 ซึ่งถ้าดูสถานการณ์ภายในประเทศ ณ ตอนนี้ ก็ดูเหมือนจะคลี่คลายลงได้ภายในไตรมาส 2 เพียงแต่ถ้าดูเศรษฐกิจโลกถือว่าหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้
“เรามองว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งก็เข้าสู่ภาวะถดถอยจริง แต่ตอนที่ประเมินคือเดือนมี.ค. ผ่านมา 1 เดือน เศรษฐกิจโลกถดถอยมากกว่าคาด ดังนั้นในเดือนพ.ค.นี้ คงต้องทบทวนตัวเลขประมาณการณ์ใหม่อีกครั้ง”
สำหรับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาครัฐในวงเงิน 4 แสนล้านบาทนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องติดตาม เพราะจะมีผลต่อประมาณการเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ซึ่งเวลานี้ยังไม่ชัดเจนว่า เงินส่วนนี้จะถูกใช้อย่างไร
“เรื่องการฟื้นฟู สิ่งที่เราคาดหวัง คือ การฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว เพราะถือเป็นกลุ่มที่โดนผลกระทบหนักสุด เงิน 4แสนล้าน ถ้าส่วนหนึ่งนำมาใช้ดูแลเรื่องนี้ ก็ถือว่าตรงจุด และอีกส่วน คือ เวลานี้หลายคนโดนผลกระทบต้องหางานใหม่ หลายคนกลับสู่ภาคชนบท เราจึงอยากเห็นระบบชลประทานที่ดี เพื่อช่วยภาคเกษตรไปได้”
ส่วนปัญหาภัยแล้ง ถือเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเผชิญกับ perfect storm เพราะสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาคเกษตรแรงกว่าที่คาดในช่วงไตรมาสแรก ขณะที่ไตรมาสสอง คาดว่าจะเริ่มมีฝนทำให้สถานการณ์ดังกล่าวดีขึ้นบ้าง ประกอบกับมาตรการเยียวยาในส่วนของ 6 แสนล้านบาท ถูกแบ่งมาใช้เยียวยาภาคเกษตร ซึ่งถือว่าช่วยได้ในระดับหนึ่ง
นายดอน กล่าวด้วยว่า การแก้ปัญหาเศรษฐกิจเวลานี้ผ่านการใช้นโยบายการคลังและการเงิน ซึ่งเราอาจยอมให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเกิน 60% ได้บ้าง แต่ระยะยาวแล้วจำเป็นต้องดึงลงมา เช่นเดียวกับดอกเบี้ยแม้ตอนนี้ต้องปล่อยให้อยู่ระดับต่ำ แต่ระยะข้างหน้าจำเป็นต้องปรับขึ้นไปเพื่อป้องกันปัญหาใหม่ที่จะตามมา โดยเฉพาะการเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ
ด้าน นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงการคลังและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดูการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม
รวมไปถึงผู้ประกอบการขนาดเล็กกว่าเอสเอ็มอี และประชาชนในกลุ่มเปราะบางซึ่งกระทรวงการคลังต้องไปจัดทำรายละเอียดว่าครอบคลุมประชาชนกี่คน และต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่เพื่อนำมาเสนอ ครม.อีกครั้ง โดยมั่นใจว่าวงเงินที่เตรียมไว้เยียวยาผู้ที่เดือดร้อนจากโควิด-19 วงเงินประมาณ 5 แสนล้านบาท ตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ ยังรองรับได้
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
XM
FBS
Pepperstone
IC Markets Global
Tickmill
FXTM
XM
FBS
Pepperstone
IC Markets Global
Tickmill
FXTM
XM
FBS
Pepperstone
IC Markets Global
Tickmill
FXTM
XM
FBS
Pepperstone
IC Markets Global
Tickmill
FXTM