简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:กลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต เมื่อ “Facebook” (เฟซบุ๊ค) ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดีย เจอแบรนด์ระดับโลกแห่ถอนโฆษณาซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัทตลอดหลายปีหลัง แล้วอะไรเป็นชนวนเหตุให้เกิดกระแสบอยคอตนี้ และ Facebook จะปรับกลยุทธ์รับมืออย่างไร
ช่วงสัปดาห์ที่แล้วถือเป็นสัปดาห์อันเลวร้ายสำหรับ Facebookหลังเกิดกระแสวงกว้างที่บริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายออกมาสนับสนุนประเด็นทางสังคมเพื่อต่อต้านข้อความสร้างความเกลียดชังผ่านโซเชียลมีเดียพร้อมประกาศพักการซื้อโฆษณาบน Facebook ชั่วคราวขณะเดียวกันอาจจะมีแบรนด์ดังเข้าร่วมแจมมากขึ้นเรื่อย ๆ
กระแสกดดันนี้มีขึ้นเพื่อกดดันให้ยักษ์ใหญ่สังคมออนไลน์เพิ่มความพยายามในการควบคุมโพสต์ยั่วยุให้เกิดความเกลียดชังหรือ “hate speech”และโพสต์ข้อมูลบิดเบือนต่าง ๆ ซึ่งแพร่กระจายทั่วชุมชนออนไลน์ยอดนิยมนี้ ข้อความจำนวนมากมีที่มาจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐและนักการเมืองรายอื่น ๆ ซึ่งมักพาดพิงประเด็นอ่อนไหวเกี่ยวกับเชื้อชาติ
โดยเฉพาะช่วงที่หลายเมืองในสหรัฐมีการประท้วงต่อต้านการเหยียดสีผิวหลังการเสียชีวิตของ “จอร์จ ฟลอยด์”ชาวอเมริกันผิวสี บ่อยครั้งที่พบว่าโพสต์ซึ่งมีเนื้อหาสร้างความเกลียดชังด้านเชื้อชาติหรือข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการประท้วงต่าง ๆ ปรากฏโฆษณาของแบรนด์ดังบนโพสต์นั้น จนทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์เสียหายและถูกคนวิจารณ์ไปด้วย
นั่นทำให้ขณะนี้ Facebookกำลังเผชิญกับผลกระทบลุกลามเหมือนไฟลามทุ่ง จากการที่แบรนด์ต่าง ๆ แห่ถอนโฆษณาบนแพลตฟอร์มตัวเอง และเมื่อดูจากจำนวนพันธมิตรที่ลงโฆษณาบน Facebook จำนวน 8 ล้านราย สถานการณ์นี้จึงถือเป็น“เรื่องใหญ่มาก”
แบรนด์ดังพร้อมใจระงับโฆษณา
ในบรรดาบริษัทรายใหญ่ที่ร่วมถอนโฆษณาจาก Facebook นี้ รวมไปถึง Unilever (ยูนิลีเวอร์), Coca-Cola (โคคา-โคล่า), Honda (ฮอนด้า) และรายล่าสุดคือStarbucks (สตาร์บัคส์)ที่ประกาศถอนโฆษณาในสื่อสังคมออนไลน์เมื่อวันอาทิตย์ (28 มิ.ย.) ตามรอย Unilever และ Coca-Cola ที่ถอนโฆษณาตั้งแต่วันศุกร์ (26 มิ.ย.) ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแบรนด์ที่ร่วมถอนโฆษณาในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว เช่น Hershey Co. (เฮอรชีย์ โค), Diageo Plc (ดิอาจิโอ), PepsiCo (เป๊ปซี่โค), Verizon Communications Inc. (เวอไรซอน คอมมูนิเคชันส์ อิงค์) และ Ben & Jerrys Homemade Inc. (เบน แอนด์ เจอร์รีส์ โฮมเมด อิงค์)
“เราเชื่อในการรวมชุมชนเข้าด้วยกัน ทั้งในชีวิตจริงและแพลตฟอร์มออนไลน์ และเราขอยืนหยัดต่อต้าน hate speech” Starbucksซึ่งมีเชนร้านกาแฟหลายหมื่นแห่งทั่วโลก ระบุ “เราเชื่อว่าผู้นำธุรกิจและผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ระหว่างที่มีการหารือภายในบริษัทและกับหุ้นส่วนสื่อมวลชนและองค์กรด้านสิทธิพลเมือง เราจะระงับการซื้อโฆษณาออนไลน์ในทุกแพลตฟอร์ม เพื่อยับยั้งการเผยแพร่ถ้อยคำยั่วยุความเกลียดชัง”
กระแสแห่ถอนโฆษณาบน Facebook เกิดขึ้นในช่วงที่สังคมอเมริกันกำลังถกเถียงเกี่ยวกับข้อความhate speechที่ระบาดหนักในโซเชียลมีเดียโดยเฉพาะ Facebook ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักกรณีไม่มีมาตรการลบโพสต์ที่กระตุ้นความเกลียดชังหรือแสดงถึงการแบ่งแยกทางสีผิว
นอกจากนี้ กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ได้เรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรยักษ์ใหญ่สังคมออนไลน์หลังจากการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์และเรียกร้องให้ Facebook ดำเนินการมากขึ้น เพื่อยับยั้งการโพสต์ข้อความที่สร้างความเกลียดชัง และข้อมูลไม่ถูกต้องบนแพลตฟอร์มด้วย
สมาคมแห่งชาติเพื่อความก้าวหน้าของผู้คนหลากสีผิว (NAACP)องค์กรสิทธิพลเมืองในสหรัฐซึ่งต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวอเมริกันผิวสี และสันนิบาตต่อต้านการใส่ร้าย (Anti-Defamation League)ออกมารณรงค์ให้บริษัทต่าง ๆ ร่วมกันบอยคอต Facebook ในเดือน ก.ค.
Facebook รับมือยังไง
ฝั่ง Facebookส่งสัญญาณว่าจะตั้งใจจัดการเรื่องนี้ภายใต้เงื่อนไขของตัวเอง โดย “แคโรลิน เอฟเวอร์สัน” รองประธานฝ่ายโซลูชั่นธุรกิจระดับโลกของ Facebookออกหนังสือชี้แจงถึงแบรนด์ต่าง ๆ เมื่อวันศุกร์ว่า โดยทั่วไปแล้ว การบอยคอตไม่ใช่วิธีการสำหรับเราในการสร้างความก้าวหน้าไปด้วยกัน
“ดิฉันหวังอย่างยิ่งว่า ณ ตอนนี้ คุณคงรู้ว่าเราไม่เปลี่ยนนโยบายตามแรงกดดันด้านรายได้ เรากำหนดนโยบายของเราอิงจากหลักการมากกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจ”
มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) Facebookประกาศวันเดียวกันว่า บริษัทจะเริ่มติดแท็ก “Harmful”เตือนโพสต์ที่มีเนื้อหาอันตรายซึ่งก่อให้เกิดความโกรธแค้นในสังคม แม้เขาไม่ได้พูดถึงกระแสบอยคอตโดยตรง แต่คาดว่าเพื่อเป็นการลดกระแสกดดันที่สปอนเซอร์รายใหญ่ถอนโฆษณา
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Vantage
FOREX.com
VT Markets
FBS
Pepperstone
FxPro
Vantage
FOREX.com
VT Markets
FBS
Pepperstone
FxPro
Vantage
FOREX.com
VT Markets
FBS
Pepperstone
FxPro
Vantage
FOREX.com
VT Markets
FBS
Pepperstone
FxPro