简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ข่าวดีเพียงนิดเดียวก็ดีพอจะทำให้นักลงทุนบางส่วนฝากความหวังแล้วหันมาถือดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้นขาขึ้นใดๆ ของดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนนี้จะมาจากความหวังมากกว่ามูลค่าที่แท้จริงของดอลลาร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัปดาห์ต้นเดือนแรกของทุกๆ เดือน
ต้นเดือนแรกของทุกๆ เดือนคือสัปดาห์ที่มีข่าวทางเศรษฐกิจสำคัญประกาศออกมามากที่สุดเช่น การประกาศนโยบายทางการเงิน รายงานตัวเลขการจ้างงาน ข้อมูลดุลบัญชีการค้าของจีนและดัชนีสำคัญจาก ISM
สิ่งที่นักลงทุนจะให้ความสำคัญในการดูข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้คือการฟื้นตัวในภาคการผลิตและบริการในเดือนกรกฎาคมของสหรัฐฯและแน่นอนว่าพระเอกคนสำคัญที่มาในทุกๆ ศุกร์แรกของต้นเดือนคือรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ที่จะชี้ให้เห็นถึงอัตราการเติบโตของการจ้างงาน ข้อมูลล่าสุดของเดือนมิถุนายนแสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวของอัตราการจ้างงานดีขึ้นจากเดือนเมษายนและนักเศรษฐศาสตร์หวังว่าตัวเลขของเดือนกรกฎาคมจะสามารถรักษายอดการจ้างงานให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมได้ ที่น่าเป็นห่วงก็คือ 2 สัปดาห์ล่าสุดของเดือนกรกฎาคมพบว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานกลับมาเพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านคนในช่วงกลางเดือนเป็น 1.4 ล้านคนในช่วงก่อนสิ้นเดือน ดังนั้นจึงน่าสนใจว่าอัตราการเติบโตและการกลับมาจ้างงานในสหรัฐฯ จะกลับมาได้มากน้อยแค่ไหน หากว่าตัวเลข NFP ออกมามากกว่าที่คาดการณ์ดอลลาร์สหรัฐฯ จะสามารถดีดกลับขึ้นมาได้ แต่ถ้าน้อยกว่าที่คาดการณ์และแย่กว่าที่คิดก็คงไม่ต้องพูดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับดอลลาร์ต่อจากนั้น
กราฟยูโรเทียบดอลลาร์ขึ้นยืนเหนือ 1.19 ได้ในช่วงก่อนตลาดลอนดอนเปิดแม้ว่าสุดท้ายแล้วจะปรับตัวลดลงมาก็ตามการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของฝั่งยูโรโซนถือว่าแย่กว่าที่คาดการณ์เล็กน้อย ฝรั่งเศสและอิตาลียังอยู่ในระดับที่รับได้แต่ข้อมูลจากสเปนไม่เป็นที่ประทับใจของนักลงทุน ยูโรโซนได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 ไม่ต่างจากสหรัฐฯ แต่ด้วยมาตรการการควบคุมโรคที่ทำได้ดีกว่าชัดเจนและการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจในฝั่งยุโรปมีความชัดเจนมากกว่าและมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วกว่า สำหรับยูโรโซนนอกจากข้อมูลตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของยูโรโซนและรายงานข้อมูลการค้าของเยอรมันก็ไม่มีข่าวสำคัญอื่นอีกในสัปดาห์นี้ หมายความว่าทิศทางของกราฟ EUR/USD จะถูกกำหนดโดยดอลลารสหรัฐและข่าวจากฝั่งอเมริกามากกว่า
ในขณะที่กราฟ EUR/USD ย่อตัวลงมาเมื่อวันศุกร์ที่แล้วแต่กราฟ GBP/USD กลับสามารถสร้างขาขึ้น 11 วันติดต่อกันได้นี่คือขาขึ้นที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่งของปอนด์เทียบดอลลาร์ในรอบทศวรรษโดยที่ราคามีแนวต้านอยู่ที่ 1.32 แต่แนวต้านหลักจริงๆ ที่ต้องจับตามองคือ 1.35 ที่สำคัญสัปดาห์นี้แบงก์ชาติของอังกฤษ (BoE) จะมีการประกาศนโยบายทางการเงินด้วย ครั้งสุดท้ายที่มีการประชุมปรากฎว่า BoE เลือกที่จะผ่อนคลายนโยบายทางการเงินลงมากกว่าที่ตลาดคาดเอาไว้แต่ผลที่ได้ออกมาคือเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ดังนั้นการประชุมในสัปดาห์นี้จึงคาดว่าน่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินใดๆ เพิ่มเติม
ฝั่งแบงก์ชาติอังกฤษดูเหมือนว่าจะยังรับได้กับเศรษฐกิจภายในประเทศแต่แบงก์ชาติของออสเตรเลีย (RBA) อาจจะมีความเป็นกังวลต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่กลับมาในรัฐวิคตอเรียกราฟนิวซีแลนด์ดอลลาร์ปรับตัวลดลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาส่วนออสเตรเลียดอลลาร์คาดว่าจะวิ่งแบบพักตัวในสัปดาห์นี้เพราะแถลงการณ์จาก RBA ข้อมูลตัวเลขยอดขายปลีกและดัชนี PMI ที่สำคัญอย่าลืมจับตาดูข้อมูลตัวเลขในตลาดแรงงานไตรมาสที่ 2 ของนิวซีแลนด์ที่จะประกาศออกมาด้วย แคนาดาดอลลาร์ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ด้วยแนวโน้มขาขึ้นเนื่องจากข้อมูลตัวเลข GDP รายเดือนที่ออกมาดี
WikiFX แอปพลิเคชั่นตรวจสอบโบรกเกอร์ที่นักลงทุนก็ควรให้ความสนใจ เพราะจะอัพเดทข่าวเศรษฐกิจหรือข่าวโบรกเกอร์ทั่วโลก
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
OANDA
Tickmill
IC Markets Global
ATFX
GO MARKETS
XM
OANDA
Tickmill
IC Markets Global
ATFX
GO MARKETS
XM
OANDA
Tickmill
IC Markets Global
ATFX
GO MARKETS
XM
OANDA
Tickmill
IC Markets Global
ATFX
GO MARKETS
XM