简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โดย Detchana.K - สัปดาห์นี้เป็นโค้งสุดท้ายแล้ว สำหรับการประกาศตัวเลขผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาด
โดย Detchana.K - สัปดาห์นี้เป็นโค้งสุดท้ายแล้ว สำหรับการประกาศตัวเลขผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หลังจากผ่านไปแล้วจำนวน 65 บริษัท ปรากฏว่ากำไรโดยภาพรวมลดลง 30%YoY และคาดว่าที่ยังไม่ได้ประกาศ ก็จะมีผลประกอบการอ่อนแอเช่นกันจากผลกระทบของโควิด-19 ติดตามรายละเอียดพร้อิมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับสัปดาห์นี้
1. สัปดาห์แห่งการรอ...รอกำไร 2Q63 .. รอ Trade War .. รอ GDP 2Q63
บล. เอเชียพลัส เผยว่าสัปดาห์นี้เป็นช่วงสัปดาห์สุดท้ายที่บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่จะประกาศตัวเลขผลประกอบการ 2Q63 โดยเหลือบริษัทใน SET100 อีก 81 บริษัทที่จะประกาศ ซึ่งส่วนมากถูกคาดหมายว่าผลประกอบการจะอ่อนแอ จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยล่าสุดมีการรายงานมาแล้ว 65 บริษัท (คิดเป็นสัดส่วน 28.2% ของมูลค่าตลาด) มีกําไรสุทธิ รวมอยู่ที่ 6.62 หมื่นล้านบาท ลดลง 9.8 QoQ และ
ลดลง 30%YoY
นักวิเคราะห์จาก บล.หยวนต้าเผยว่า หากอิงจากการประกาศออกมาแล้ว 19 บริษัทใน SET100 (26% Market Capitalization SET INDEX) มีกำไรสุทธิรวมกัน 5.46 หมื่นล้านบาท (-34%YoY -9%QoQ) ถูกกดดันจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ตามการตั้งสำรองที่สูงขึ้น ส่วนกลุ่มที่ กำไรสุทธิดีกว่า Bloomberg คาดจะเป็นกลุ่มสื่อสาร (ADVANC DTAC INTUCH)
คาดว่า ตลาดหุ้นไทย สัปดาห์นี้ SET Index จะผันผวนระหว่าง 1300–1350 จุด โดยประเด็นอื่นทีน่าสนใจได้แก่ข้อเสนอของภาคธุรกิจในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเช่น 1)การให้รัฐกู้เงินเพิ่ม ซึ่งในส่วนนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นในระยะสั้น เนื่องจากจนถึงปัจจุบันการใช้จ่ายเม็ดเงินตาม พ.ร.ก. ล้านล้านบาท ยังคืบหน้าไม่ถึง 40% ประการที่ 2 ) ขยายเวลาการพักชําระหนี้ออกไปอีก ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่การดําเนินการดังกล่าวอาจสร้างภาระให้กับสถาบันการเงินในระยะยาว และ3 ) มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ เช่นลดค่าธรรมเนียมการโอนฯ-จดจํานอง บ้านราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ป ระกอบการที่จับตลาดกลาง-บน
และสัปดาห์นี้เตรียมรอฟังการประกาศ GDP Growth งวด 2Q63 ของไทย ซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ที่ -15 % YoY ส่วนปัจจัยต่างประเทศ ช่วงปลายสัปดาห์จะมีการเจาจาทบทวนข้อตกลงการค้า สหรัฐฯ-จีน ซึ่งดูเหมือนจะคาดหวังผลเชิงบวกได้ยาก
2. ทั้งนักลงทุน และผู้เชี่ยวชาญมองราคาทองสัปดาห์นี้ยังเป็นบวก
ศุนย์วิจัยทองคำเผยผลสำรวจ จาก 14 ผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำที่ได้มีส่วนร่วมตอบแบบสำรวจ ในจำนวนนี้มี 6 ราย หรือเทียบเป็น 43% คาดว่าราคาทองคำในสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 3 ราย หรือเทียบเป็น 21% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 5 ราย หรือเทียบเป็น 36% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับนักลงทุนทองคำ ได้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ จำนวน 371 ราย ในจำนวนนี้มี 247 ราย หรือเทียบเป็น 67% คาดว่าราคาทองคำในประเทศของสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 52 ราย หรือเทียบเป็น 14% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 72 ราย หรือเทียบเป็น 19% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์ราคาทองคำในประเทศ ทองคำแท่ง 96.5% ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 29,050 – 30,400 บาท ต่อบาททองคำ โดยราคาทองคำปิดอยู่ที่ระดับ 30,000 บาท ต่อบาททองคำ ปรับเพิ่มขึ้น 1,000 เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า (สัปดาห์ก่อนหน้าปิดที่ 29,000 บาท)
อัพเดตราคาทองคำ GOLD SPOT XAU/USD
สำหรับนักลงทุนโกลด์ฟิวเจอร์ส อัพเดตราคา สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า ล่าสุด
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ
1. สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน เมื่อนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ลงนามคำสั่งไม่อนุญาตให้บริษัทในเครือสหรัฐฯ ทำธุรกิจกับบริษัทแม่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ “TikTok” และ “WeChat” โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ โดยคำสั่งดังกล่าวจะมีผลในวันที่ 20 ก.ย. 2563
2. ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ออกมาคาดการณ์ว่าอาจจะมีวัคซีนโควิด-19 ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 3 พ.ย. 2563
3. รายงานความคืบหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เพื่อรับมือกับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
3.เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.00-31.40 ต่อ ดอลลาร์
ศูนย์วิจัยกรุงศรี เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทUSD/THB สัปดาห์ก่อนปิดแข็งค่าที่ 31.16 ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 30.99-31.29 โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 1 เดือนขณะที่ราคาทองคําในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นทําสถิติใหม่ อย่างต่อเนื่อง ส่วนคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)มีมติ เป็นเอกฉันท์ให้ คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตามคาด ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 4.4 พันล้านบาท และ 3.3 พันล้านบาท ตามลําดับ
เงินบาทสัปดาห์นี้มีคาดว่าซื้อขายในกรอบ 31.00-31.40 ต่อ ดอลลาร์ โดยนักลงทุนจะติดตามท่าทีของสหรัฐฯกับจีนก่อน การเจรจาการค้าวันที่ 15 ส.ค. รวมถึงประเด็นข้อกฎหมาย ของคําสั่งฝ่่ายบริหารซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ ของสหรัฐฯลง นามเพื่อให้จ่ายสวัสดิการว่างงาน 400 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์แก่ชาวอเมริกันที่ตกงานเพราะ COVID-19 หลังจากที่สมาชิก พรรคเดโมแครตและรีพับลิกันไม่สามารถตกลงกันเรื่อง มาตรการกระตุ้นทางการคลัง นอกจากนี้ ตลาดจะให้ความสนใจกับดัชนีราคาผู้บริโภคและยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ขณะที่แรงหนุนจากตัวเลขการจ้างงานอาจส่งผลให้ ในภาพรวมตลาดเข้าสู่ภาวะพักฐานในช่วงสั้นๆ
สําหรับปัจจัยในประเทศ เงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ค.ลดลง 0.98% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยติดลบเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อติดลบน้อยกว่าที่ตลาด คาดไว้และเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนมิ.ย.ตามราคาพลังงานและ ราคาอาหารสดที่ฟื้นตัว ขณะที่กนง.ระบุว่านโยบายการเงินที่ ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปีนี้รวมถึงมาตรการด้านการคลังและสินเชื่อจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมาย
{777}
โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้ม ทยอยฟื้นตัวและจีดีพีไตรมาส 2/63 อาจจะออกมาดีกว่าที่ เคยประเมินไว้ แต่คาดว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ที่กิจกรรมโดยรวมจะกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ ทางการมองว่าค่าเงินบาทผันผวนสูงขึ้นตามการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ แต่หากเงินบาทแข็งค่าเร็วอาจพิจารณาความจําเป็นของมาตรการอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม มองว่ากนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายต่อไปและเร่งกระจายสภาพคล่องสู่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดมากขึ้น
{777}
{22}
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ