简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ปฏิทินเศรษฐกิจ (Economic Calendar) คือ เครื่องมืออย่างเป็นทางการที่ใช้เผยข้อมูลทางเศรษฐกิจหรือการประกาศนโยบายทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่สำคัญ ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่ ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ และยังส่งผลกระทบต่อ Forex อีกด้วย เช่น การประกาศอัตราดอกเบี้ย อัตราการว่างงาน เป็นต้น
สำหรับตัวเลขที่ประกาศในตารางปฏิทิน Forex คือ ข้อมูลที่แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ รวมถึงแนวทางที่ผู้มีอำนาจของประเทศนั้นๆ จะกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่จะดำเนินในประเทศของตน
นอกจากนี้ปฏิทินข่าว Forex ยังมีการบอกคร่าว ๆ เอาไว้อีกด้วยว่า “ข่าวไหนส่งผลกระทบต่อค่าเงินสูงที่สุด” โดยเทรดเดอร์สามารถดูปฏิทินข่าว Forex ได้ทางแอปพลิเคชัน WikiFX โดยปฏิทินข่าว Forex จะอยู่ในฟังก์ชัน “ทั้งหมด” แล้วจะเจอฟังก์ชัน “ปฏิทิน”
สำหรับข่าว Forex บนปฏิทินเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อความผันผวนของค่าเงิน ได้แก่
1. ข่าวการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ(Nonfarm): ข่าวนี้เป็นข่าวที่สำคัญที่สุดและส่งผลกระทบต่อค่าเงินมากที่สุด เพราะนอกจากจะกระทบต่อตลาด Forex แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นและตลาดทองคำอีกด้วย
2. ข่าวอัตราการว่างงาน: ข่าวนี้ก็เป็นข่าวที่สำคัญไม่ต่างจากข่าวการจ้างงาน แต่ข่าวนี้ไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใด หากมีการประกาศตัวเลขที่สูงของอัตราการว่างงาน นั้นก็แสเงว่า “คนตกงานเยอะ” นั่นก็จะส่งผลต่อตลาด Forex และตลาดหุ้นแน่นอน
3. อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP): ตัวเลขนี้ถือว่าเป็นตัวเลขที่ทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด GDP คือการวัดมูลค่ารวมของสินค้าและบริการของประเทศ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ค่า GDP ที่มากขึ้น หมายถึง มีการลงทุนและมีการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งจะต้องสอดรับกับความต้องการของประชาชน ดังนั้น GDP ที่เป็นบวก จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
4. อัตราดอกเบี้ย: การประกาศถึงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง ถือเป็นดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เพื่อส่งสัญญาณให้แก่ธนาคารเอกชนต่าง ๆ การปรับเพิ่มหรือลดดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นไปเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น ส่วนการลดดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
5. อัตราเงินเฟ้อ (CPI) : การวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ใช้เป็นประจำ เช่น อาหาร, ค่าเช่า, ค่าเดินทาง, ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ เราเรียกมันว่า “อัตราเงินเฟ้อ” สำหรับตัวเลข CPI จะสะท้อนถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากประชาชนมีรายได้ที่ดีจะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการขยับตัวขึ้น ดังนั้นค่า CPI ก็เพิ่มขึ้นนั้นหมายถึง เศรษฐกิจกำลังขยายตัว แต่ถ้าหากการ CPI เพิ่มขึ้นสูงในตอนที่ตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอยประชาชนไม่ได้มีรายได้ไม่เพียงพอนั่นไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีนัก
ดังนั้นปฏิทินเศรษฐกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์ต้องหมั่นทำความเข้าใจ เพราะหากคุณรู้จักใช้ประโยชน์จากความผันผวนในจังหวะการประกาศข่าว คุณจะเป็นเทรดเดอร์ที่มีความได้เปรียบต่อผู้เล่นอื่น ๆ ในตลาด
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FOREX.com
EC Markets
Vantage
XM
Tickmill
FP Markets
FOREX.com
EC Markets
Vantage
XM
Tickmill
FP Markets
FOREX.com
EC Markets
Vantage
XM
Tickmill
FP Markets
FOREX.com
EC Markets
Vantage
XM
Tickmill
FP Markets