简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เลือกโบรกเกอร์ผิดคิดจนตัวตาย คำกล่าวนี้ไม่เกินจริงเลย เพราะหากเราพยายามที่จะทำกำไรที่ได้มาด้วยความยากลำบาก แต่พอได้กำไรกับถอนเงินกำไรไม่ได้นี่เศร้ามาเลยนะ ข่าวมีให้เห็นกันบ่อยมากตลอดระยะเวลาที่ผู้เขียนอยู่ในวงการมา 7-8 ปี ไม่มีปีไหนเลยที่จะไม่เจอปัญหาโบรกเกอร์ถอนเงินไม่ได้ เรียกว่าเจออยู่ตลอดๆ
เป็นที่ทราบแล้วว่าตลาดฟอเร็กซ์ในเมืองไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับ จะมีเพียงแต่กลุ่มสถาบันการเงินใหญ่ๆเท่านั้นที่รัฐบาลอนุญาตให้ทำการซื้อ-ขาย เทรดค่าเงินได้ อย่างเช่นธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นต้น สาเหตุคงสืบเนื่องมาจากประวัติในอดีตที่ไม่ค่อยจะดีนัก อีกทั้งการลุงทุนมีความเสี่ยงสูง ต้องใช้เงินในจำนวนมาก(ในอดีต)ด้วยเหตุต้องใช้เงินจำนวนมากนี่เองทำให้รัฐบาลหวั่นเกรงกลัวเหล่ามิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางนำเงินไปฟอกจึงไม่อนุญาตให้มีบริษัทโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ในประเทศ มีกฎหมายห้ามแชร์ลูกโซ่ และระดมทุนเพื่อการเทรดค่าเงิน
ตัวอย่างแชร์ลูกโซ่ที่ใช้ฟอเร็กซ์มากล่าวอ้าง เช่น Forex3D ที่มูลค่าความเสียหายมากกว่า 4 หมื่นล้านบาทเป็นต้น มีการโฆษณาเชิญชวนกันในโลกออนไลน์ ให้ไป “เทรดฟอร์เร็กซ์”ที่ให้ผลตอบแทนสูงเกินความเป็นจริง ผ่านโบรกเกอร์Forex3D ซึ่งไม่มีใบอนุญาต ไม่มีการกำกับดูแลอย่างถูกต้องตามกฎหมายใดๆ ซึ่งWIKIFX กล่าวเตือนอยู่เป็นประจำ จนบัดนี้ระยะเวลาปีกว่า คนที่ชวนระดมทุนอยู่ก็ยังลอยนวลอยู่ ผู้เสียหายยังติดตามเงินไม่ได้ค่ะ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ได้อธิบายเกี่ยวกับกฎหมายไทยและตลาดฟอเร็กซ์ ดังนี้
“นักลงทุนที่ดำเนินธุรกรรมในลักษณะดังกล่าว(ซื้อขาย ฟอเร็กซ์) ด้วยตนเองสามารถกระทำได้ แต่ผู้ลงทุน นั้นต้องรับผิดชอบในความเสี่ยงที่อาจเกิดความเสียหายจากการขาดทุนในการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศของท่านเอง ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีการออกใบอนุญาตให้ผู้ใดประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงิน ต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยน ในลักษณะการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ ดังนั้น หากมีบุคคลใดมาชักชวนให้ร่วมลงทุนในลักษณะดังกล่าวให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ท่านอาจโดนมิจฉาชีพหลอกลวงและอาจได้รับความเสียหายได้ กรณีที่มีการชักชวนประชาชนให้ลงทุนในการเก็งกำไรอัตราแลกปเลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยที่ผู้ชักชวนดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้น ไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ ปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน การกระทำดังกล่าวถือว่าเข้าข่าย เป็นการกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527”
อ้างอิง fpo.go.th สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)
เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าหากเกิดความเสียหาย โดนฉ้อโกง จากโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ ท่านต้องรับผิดชอบความเสียหายนั้นด้วยตัวเอง เพราะจะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในประเทศไทยได้ แต่สามารถฟ้องร้องไปที่หน่วยงานที่จดทะเบียนของโบรกเกอร์ที่อยู่ต่างประเทศได้
แล้วเราจะมีหลักการเลือกโบรกเกอร์อย่างไรล่ะ ที่จะลดความเสี่ยงตรงจุดนี้ไปได้
การพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ Forex ที่มีความมั่นคง มีใบอนุญาต มีความน่าเชื่อ ทั่วโลกให้การยอมรับ จึงมีความสำคัญเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว
ซึ่งในมุมมองของผู้เขียน ขออ้างอิงจากเกณฑ์การพิจารณาจาก แอพลิเคชั่น Wikifx เพราะเมื่อพิจารณาแล้ว เป็นเกณฑ์ที่มาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้ในทุกๆหัวข้อค่ะ
เกณฑ์การพิจารณาจะมีอยู่กัน 5 หัวข้อนะคะ
1.ใบอนุญาต โบรกเกอร์ Forex
โบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ ควรจดทะเบียนที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ โบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ต่างประเทศ ที่มีการจดทะเบียนโดยถูกต้องนั้น จะมีหลายหน่วยงานที่ให้ความคุ้มครองในต่างประเทศ และที่ผ่านมา เราแทบไม่เคยพบการทุจริตของ โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับหน่วยงานใหญ่ๆ เหล่านั้นเลย ตัวอย่าง ใบอนุญาตที่โบรกเกอร์หลายๆ โบรก ควรจะจดทะเบียน เพราะมีความน่าเชื่อสูงดังต่อไปนี้
ใบอนุญาต FCA
FCA UK (Financial Conduct Authority) สหราชอาณาจักร
-โบรกเกอร์ที่ควบคุมโดย FCA ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านปอนด์
-เงินชดเชย 50,000 ปอนด์ต่อบัญชี ในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย
ใบอนุญาต CySEC
CySEC (Cyprus Securities and Exchange Commission) ไซปรัส
-โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ CySEC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 750,000 ยูโร
-เงินชดเชยเงิน 20,000 ยูโรต่อบัญชี ในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย
ใบอนุญาต ASIC
ASIC (Australian Securities and Investments Commission) ออสเตรเลีย
-โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ ASIC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านปอนด์
ใบอนุญาต IFSC
IFSC (International Financial Services Commission) เบลีซ,อเมริกากลาง
-โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ IFSC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 500,000 เหรียญ
จริงๆแล้วมีหน่อยงานมากมายในประเทศต่างๆที่กำกับดูแลและมีออกใบอนุญาตของโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ค่ะ เราสามารถเข้าไปดูที่แอพลิเคชั่นของWIKIFXได้เลยค่ะ
หลายๆโบรกเกอร์ที่เป็นของคนไทยมักจะไม่มีการกำกับดูแลจากหน่วยงานต่างๆที่ยกมา ผู้เขียนจะไม่แนะนำให้ใช้โบรกเกอร์ที่ไม่มีใบอนุญาตนะคะ เพราะเสี่ยงมากๆ
2.เกณฑ์ของดัชนีธุรกิจ
ดูจากการประเมินผลในภาคธุรกิจอย่างเป็นระบบ ประเมินดูความยั่งยืนของบริษัท และสำรวจพื้นที่จริงของบริษัท
บริษัทมีการดำเนินธุรกิจอย่างไร เปิดมาในระยะเวลาเท่าไรแล้ว และมีอยู่จริงหรือไม่ ซึ่งเราๆก็คงไม่สะดวกที่จะเดินทางไปถึงทีทำการโบรกเกอร์นั้นๆ เราสามารถดูได้ที่แอพลิเคชั่นWIKIFX ได้เลยค่ะว่า โบรกเกอร์ที่เราสนใจ มีตัวตนจริงหรือไม่ มีบริษัท มีที่ตั้งจริงหรือไม่ เหมือนเราไปมาเองเลยค่ะ
3.เกณฑ์การจัดการความเสี่ยง
การพิจารณาที่เราจะต้องดูต่อมาก็คือ ความเสี่ยงของเงินลงทุนของเราเมื่อเราใช้โบรกเกรอ์นั้นๆไปแล้วจะสูญหายหรือไม่ โดยพิจารณาจากข่าวของผู้ลงทุนที่เคยใช้โบรกเกอร์ดังกล่าวที่เราสนใจว่ามีปัญหาหรือไม่ ระบบการทำงานหลังบ้าน เซิรฟเวอร์ที่ให้เทรดเดอร์ใช้เทรดมีความเสถียรหรือเคยพบเจอปัญหาบ่อยแค่ไหน มีปรากฎการณ์ของแท่งกราฟมหัศจรรย์หรือไม่ หากเราค้นหาข้อมูลแล้วพบความผิดปกติแบบนี้ก็ถือเป็นความเสี่ยง ที่เราควรพิจารณาหลีกเลี่ยงที่จะเลือกใช้ค่ะ
4.เกณฑ์การพิจารณาซอฟท์แวร์
เมื่อโบรกเกอร์ที่เราสนใจผ่านเกณฑ์ทั้ง3ข้อ ที่กล่าวมา เราควรพิจารณาทดลองใช้โปรแกรมการเทรด ทดลองเปิดบัญชี ทดลองเทรดดูว่ามีความเสถียร ตอบสนองได้ดีแค่ไหนค่ะ ซึ่งเราอาจจะพิจารณาด้วยตัวเองก็ได้หรือดูคพแนนการพิจารณาจากแอพลิเคชั่นWIKIFXได้ เพราะเค้ามีการตรวจสอบโดยวิศวะกร ผ่านหัวข้อการพิจารณามากกว่า 20 หัวข้อ เชื่อความสมบูรณ์ของซอฟแวร์ ความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลของผู้ลงทุน เป็นต้นค่ะ
5.เกณฑ์การตรวจสอบการกำกับดูแล
ถึงแม้ว่าเราจะให้ตรวจสอบในเรื่องของใบอนุญาตตั้งแต่แรก แต่เราก็ควรที่จะดูต่อว่า โบรกเกอร์ที่ได้ใบอนุญาตนั้นๆ ได้ใบอนุญาตในระดับใด มีการตรวจสอบจากกิจการภายในองค์กร และการตรวจสอบของผู้กำกับดูแลในอนุญาตต่อโบรกเกอร์นั้นๆ มากน้อยแค่ไหน เรื่องกฎหมายต่างๆที่กำกับดูแลโบรกเกอร์นั้นๆ คุ้มครองนักลงทุนมากน้อยแค่ไหนด้วยค่ะ ซึ่งเช่นเคยเราสามารถพิจารณาเกณฑืการให้คะแนนะจากแอพลิเคชั่นWIKIFXได้ค่ะ
จากที่กล่าวมาเรื่องเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้โบรกเกอร์ต่างๆ ผู้เขียนถือว่าเกณฑ์ที่กล่าวมาค่อนข้างเพียงพอต่อการใช้พิจารณาค่ะ ซึ่งเราอาจจะเจาะลึกไปในรายละเอียดแต่ละข้อๆไปเลย หรือเราอาจจะทำได้โดยพิจารณาจากคะแนนที่WIKIFX ประเมินไว้ ซึ่งแนะนำว่าคะแนนยิ่งสูงยิ่งดี มีความน่าเชื่อถือต่อการพิจารณาเลือกใช้ค่ะ
อีกทั้งตอนนี้แอปพลิเคชัน WikiFX นอกจากสามารถตรวจสอบโบรกเกอร์ได้แล้ว ยังจะมีเพิ่มการแจ้งเตือนที่จะส่งมาในแอปบนโทรศัพท์ทุกวันว่าวันพรุ่งนี้ค่าเงินใดจะผันผวนแรง เพื่อให้เทรดเดอร์รับมือและวางแผนให้ทัน ดีมากๆเลยค่ะ แบบนี้ต้องโหลดแล้วปแหละ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
IQ Option
FXTM
FBS
Neex
HFM
Tickmill
IQ Option
FXTM
FBS
Neex
HFM
Tickmill
IQ Option
FXTM
FBS
Neex
HFM
Tickmill
IQ Option
FXTM
FBS
Neex
HFM
Tickmill