简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ดอลลาร์ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีเทียบสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนพากันเข้าซื้อสกุลเงินที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยง และเทขายดอลลาร์ ซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ร่วงลงแตะระดับ 89.767 ในวันพฤหัสบดี(17ธ.ค.) ซึ่งเป็นการดิ่งลงทะลุระดับ 90 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2561
เมื่อเวลา 22.26 น.ตามเวลาไทย ดอลลาร์ร่วงลง 0.52% สู่ระดับ 102.94 เยน ขณะที่ยูโรปรับตัวลง 0.1% สู่ระดับ 126.08 เยน และดีดตัวขึ้น 0.43% สู่ระดับ 1.225 ดอลลาร์
ดอลลาร์ถูกกดดันจากหลายปัจจัยในวันนี้ ซึ่งได้แก่ ความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ, การที่อังกฤษและสหภาพยุโรป (อียู) มีแนวโน้มบรรลุข้อตกลงการค้า รวมทั้งการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้คำมั่นที่จะใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน และการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านทางการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ
นายมิตช์ แมคคอนเนลล์ ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐ กล่าวว่า การเจรจาระหว่างแกนนำในสภาคองเกรสประสบความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการออกกฎหมายงบประมาณชั่วคราวเพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานของรัฐบาลอันเนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณ (ชัตดาวน์)
“เรามีความคืบหน้าครั้งสำคัญ และผมเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถบรรลุข้อตกลงในไม่ช้า” นายแมคคอนเนลล์กล่าว
สมาชิกพรรครีพับลิกันและเดโมแครตได้เห็นพ้องที่จะแยกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9.08 แสนล้านดอลลาร์ออกเป็นร่างกฎหมาย 2 ฉบับเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรส โดยฉบับแรกจะมีวงเงิน 7.48 แสนล้านดอลลาร์เพื่อเยียวยาผู้ที่ตกงานและธุรกิจขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ขณะที่อีกฉบับหนึ่งจะมีวงเงิน 1.60 แสนล้านดอลลาร์เพื่อให้ความช่วยเหลือมลรัฐต่างๆ
ด้านนายมิเชล บาร์นิเยร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้แทนการเจรจาฝ่ายอียูว่าด้วยการแยกตัวของอังกฤษออกจากอียู (เบร็กซิท) เปิดเผยว่า การบรรลุข้อตกลงการค้าระหว่างอังกฤษ และอียูยังคงมีความเป็นไปได้ พร้อมระบุว่า การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายยังคงดำเนินไปในขณะนี้ เพื่อประสานความคิดเห็นที่แตกต่างกันในประเด็นการประมง และกฎระเบียบที่จะนำมาใช้ต่อบริษัทต่างๆ อย่างเป็นธรรม
ขณะเดียวกัน เฟดมีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 0.00-0.25% ในการประชุมวานนี้ โดยเฟดระบุว่าจะยังคงใช้เครื่องมือทุกอย่างในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
เฟดระบุว่าจะยังคงซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) วงเงินรวม 1.2 แสนล้านดอลลาร์/เดือน โดยเฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐวงเงิน 8 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน และซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (เอ็มบีเอส) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายของเฟดในการจ้างงานเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพของราคา
นอกจากนี้ เฟดมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานในสหรัฐ
ทั้งนี้ เฟดคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะหดตัวลงเพียง 2.4% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัว 3.7% ก่อนที่จะมีการขยายตัว 4.2% ในปี 2564 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4% และจะขยายตัว 3.2% ในปี 2565 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 3%
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในเช้าวันนี้ แต่ย่อตัวลงมา เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงนโยบายของเฟด
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นทันทีหลังจากที่ได้ทราบตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 ก่อนหน้านี้นายเจอโรม พาวเวลล์เคยออกมาเตือนเกี่ยวกับการเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อชั่วคราวแล้ว แต่ไม่มีใครคิดว่าตัดชี้วัดเงินเฟ้ออย่าง CPI จะเพิ่มขึ้นมาได้เร็วขนาดนี้
ค่าเงินดอลลาร์ขยับขึ้นสูงขึ้นในช่วงบ่ายวันอังคาร แต่การเพิ่มขึ้นนั้นได้รับผลกระทบจากความแข็งแกร่งของสกุลเงินสินค้าโภคภัณฑ์เนื่องจากราคาน้ำมันและโลหะพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น
ค่าเงินดอลลาร์ อ่อนค่าลงในเช้าวันพฤหัสบดีในเอเชีย โดยยังคงอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบหลายสัปดาห์ เนื่องจากผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐที่ลดลงช่วยลดความได้เปรียบด้านอัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินสหรัฐที่ถือว่าเป็นทรัพย์สินปลอดภัย
FXTM
ATFX
Octa
FP Markets
EC Markets
HFM
FXTM
ATFX
Octa
FP Markets
EC Markets
HFM
FXTM
ATFX
Octa
FP Markets
EC Markets
HFM
FXTM
ATFX
Octa
FP Markets
EC Markets
HFM