简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:จับตาภาคต่อ "สงครามการค้า" ระหว่างสหรัฐและจีน เมื่อโจ ไบเดน เข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงสู่รูปแบบการเจรจาการค้าแบบพหุภาคีโดยตรง ผลที่เกิดขึ้นหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป?
สิ่งที่หลายคนอยากจะทราบในตอนนี้คือ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร และรุนแรงมากแค่ไหนหลังจากที่โจ ไบเดนขึ้นมาเป็นผู้นำสหรัฐ บทความนี้จะขอตอบคำถามดังกล่าว
ขอเริ่มจากสมรภูมิสงครามการค้าของโจ ไบเดนก่อน ว่าจะเปลี่ยนจากรูปแบบสงครามการค้ามาเป็นรูปแบบการเจรจาการค้าแบบพหุภาคี (Multilateralism) กันโดยตรง โดยรูปแบบการเจรจาจะแบ่งออกเป็นอย่างน้อย 2 ขั้ว คือ ขั้วฝั่งชาติตะวันตก อันประกอบด้วยสหรัฐและยุโรปเป็นแกนหลัก และขั้วฝั่งจีนและชาติที่จีนไปลงทุนอยู่เยอะๆ อย่างชาติในแอฟริกาและยุโรปตะวันออก โดยที่บทบาทขององค์กรการค้าโลกที่จะทำหน้าที่เป็นหัวหอกในการเจรจาระหว่างชาติต่างๆ เกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าจะมีอยู่น้อยมาก เนื่องด้วยเหตุผล 3 ประการ ได้แก่
1.Shocks หรือการถูกแรงกระแทกอย่างรุนแรงในแนวคิดให้เปลี่ยนจากรูปแบบการค้าเสรีมาสู่การคิดถึงตนเองก่อนในผลประโยชน์ทางการค้า สาเหตุหลักที่ทำให้เกิด Shocks คือ สงครามการค้าของโดนัลด์ ทรัมป์ แม้จะไม่ประสบความสำเร็จในเชิงรูปธรรม ทว่าในแง่ของความคิดแล้ว ได้ทำให้ชาวอเมริกันรวมถึงพรรคเดโมแครตคล้อยตามตรรกะที่ว่าจีนได้อาศัยการทำให้ค่าแรงและต้นทุนทางการเงินถูกลง ช่วยให้จีนได้เปรียบดุลการค้าต่อสหรัฐมาเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งตรงนี้ส่งผลให้การปกป้องทางการค้าจะกลายมาเป็นธีมหลักของรัฐบาลโจ ไบเดน
นอกจากนี้ ประสบการณ์ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลของนานาประเทศมีแนวคิดที่จะหันมานำระบบห่วงโซ่อุปทานในส่วนภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและเป็นยุทธศาสตร์หลักของชาติ อาทิ การแพทย์ ด้านอาหาร และการทหาร จากที่ปฏิบัติการในต่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำกลับเข้ามาสู่ประเทศของตนเอง
2.Shifts หรือการเปลี่ยนแปลงของโฟกัสสำคัญด้านการค้า ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยในสองมิติ คือ การเปลี่ยนของผู้ที่จะเป็นตัวกำหนดบทบาทในระบบการค้าโลกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมาสู่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ อาทิ จีน อินเดียและอาเซียน และการเปลี่ยนจากรูปแบบการค้าที่เน้นการส่งออกและบริการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศต่างๆ ในโลก มาสู่การค้าในรูปแบบที่เน้นช่องทางดิจิทัล หรือ Digital eCommerce ซึ่งจะส่งผลให้บทบาทขององค์กรการค้าโลกลดลงอีกเป็นอย่างมาก
ท้ายสุด Shackles หรือการขาดผู้นำด้านการค้าของโลก ณ ก้าวข้ามสู่ปี 2564 เราแทบจะไม่เห็นรัฐบาลของประเทศใดที่มีความต้องการ หรือพันธกิจที่จะมีบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการค้าระหว่างประเทศในเวทีระดับโลก แม้แต่ โจ ไบเดน เองก็ตามที
ทั้งนี้ รูปแบบของสงครามการค้าระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออกในยุคของไบเดน จะเปลี่ยนจากการเน้นตั้งกำแพงภาษีต่อการส่งออกของประเทศคู่ค้าในยุคของโดนัลด์ มาสู่การเน้นใช้นโยบายที่ไม่ใช่กำแพงภาษี (non-tariff barriers หรือ NTBs) ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการนำเข้า การช่วยเหลือของรัฐต่อผู้ส่งออกของประเทศตนเอง รวมถึงนโยบายการจำกัดสัดส่วนของวัตถุดิบในสินค้าที่จะส่งออกหรือนำเข้า ให้มาใช้วัตถุดิบในการผลิตของประเทศตนเองในสัดส่วนที่ไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ จะเห็นได้ว่ากำแพงภาษีเป็นเครื่องมือทางการค้าที่ชัดเจนต่อการสังเกต ในขณะที่ NTBs ค่อนข้างยากต่อการสังเกตและประเมินมูลค่ารวม
จากการศึกษาการใช้นโยบายด้านการค้าในรูปแบบต่างๆ ระหว่างปี 2552-2559 พบว่าสัดส่วนการใช้ NTBs มีมากกว่าการใช้กำแพงภาษีค่อนข้างมาก โดยในปี 2559 มีสัดส่วนการใช้กำแพงภาษีมีร้อยละ 20 ในขณะที่การใช้นโยบายแบบไม่ใช่กำแพงภาษีมีอยู่ถึงร้อยละ 55 โดยการใช้แบบหลังค่อนข้างจะมีระยะเวลาต่อหนึ่งครั้งยาวนานกว่าการใช้เครื่องมือแบบกำแพงภาษี
สำหรับในยุคของไบเดน คาดว่าการใช้ NTBs จะมีมากขึ้นกว่าในอดีตค่อนข้างมาก โดยจากสงครามการค้าแบบช้างชนช้างที่มีข่าวกันแบบวันต่อวันในยุคของทรัมป์ จะก้าวมาสู่สงครามรูปแบบใหม่ที่เน้นแบบกองโจร ซึ่งยากต่อการสังเกตมากขึ้นในยุคของไบเดน
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
IQ Option
TMGM
Pepperstone
Tickmill
ATFX
STARTRADER
IQ Option
TMGM
Pepperstone
Tickmill
ATFX
STARTRADER
IQ Option
TMGM
Pepperstone
Tickmill
ATFX
STARTRADER
IQ Option
TMGM
Pepperstone
Tickmill
ATFX
STARTRADER