简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:'3 กูรู' วิพากษ์ SET INDEX ปี 2564 'ฟันโฟลด์ & วัคซีนโควิด-19' ปลดล็อกหุ้นไทยทะยาน 1,650 จุดได้ ! ถือเป็นตลาด 'ขาขึ้น' รอบใหม่ 2 ปัจจัยบวกเข้ามาเปลี่ยนทิศทางดัชนีขยับอีกครั้ง... แนะธีมลงทุนเลือกรายตัวเน้นกลุ่มคอมมูนิตี้ ขานรับเศรษฐกิจฟื้นตัว
โบรกฯ ฟันธงหุ้นไทยปี 2564 ...สดใสขึ้น !
'ทอม-ไพบูลย์ นลินทรางกูร' ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยว่าสำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยปี 2564 คาดว่ามีโอกาสกลับมายืนเหนือระดับก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ที่บริเวณ 1,580 จุดได้ เนื่องจากได้รับแรงหนุนสำคัญจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและกระแสฟันด์โฟลว์ต่างชาติที่คาดว่าจะไหลกลับเข้ามา
ภายหลังจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มมองหาการลงทุนที่ยังมีอัพไซด์และเชื่อว่าประเทศไทยน่าจะได้รับประโยชน์เต็มๆจากระบบเศรษฐกิจที่อิงวัฏจักรเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้นและฐานที่ต่ำในปีนี้ ประกอบกับคาดว่าอัตรากำไรต่อหุ้น (EPS) ปีหน้าจะเติบโตกว่า 40% เพราะหุ้นส่วนใหญ่อยู่ในตลาดที่ฟื้นตัวได้เร็วกว่าเศรษฐกิจ
'คมศร ประกอบผล' หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ บอกว่า แม้ปัจจุบันตลาดหุ้นทั่วโลกจะซื้อขายในระดับราคาที่ค่อนข้างแพงมากเมื่อเทียบกับในอดีต แต่ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) ยังคงมองว่าในปี 2564 ตลาดหุ้นทั่วโลกจะปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก '5 ปัจจัยบวก' ประกอบด้วย 1.การฟื้นตัวของตัวเลขเศรษฐกิจ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า ในปี 2564 ตัวเลข GDP โลกจะขยายตัวที่ 5.2% ฟื้นตัวขึ้นจากที่หดตัวถึง -4.4% ในปีนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากการค้นพบวัคซีนโควิด-19
2.การเลือกตั้งสหรัฐฯที่มีความชัดเจน ซึ่งเป็นผลจากการที่ 'โจ ไบเดน' สามารถคว้าตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการเมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา 3.การค้นพบวัคซีนโควิด-19 และน่าจะเริ่มแจกจ่ายได้ในปี 2564 พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในหลายประเทศได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ปี 2564 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับสู่ภาวะปกติได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 เป็นต้นไป
4.นโยบายการเงินยังคงอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายเมื่อเทียบกับในอดีต โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ปรับเป้าหมายนโยบายการเงินไปใช้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ซึ่งจะทำให้ Fed คงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายได้นานกว่าในอดีต แตกต่างกับในช่วงปี 2559-2560ที่ Fed กลับมาขึ้นดอกเบี้ยในทันทีที่เงินเฟ้อสูงเกินเป้าหมายที่ 2% และเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยพร้อมทั้งลดขนาดงบดุลอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับฐานลงแรงถึง 15% ในปี 2561
และ 5.กำไรของบริษัทจดทะเบียนฟื้นตัวขึ้นเร็ว ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่รวบรวมโดย Bloomberg ชี้ว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี S&P500 จะฟื้นตัวขึ้น 22% ในปี 2564 และขยายตัวต่อเนื่องอีก 15% ในปี 2565 ขณะที่ตลาดหุ้นไทย คาดว่ากำไรจะขยายตัว 46% และ 14% ตามลำดับ
ส่วนกลุ่มหุ้นที่น่าจะปรับตัวขึ้นแรงในปีหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์การลงทุนทิสโก้ ยังคงมองว่า 'หุ้นวัฎจักร' เช่น กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม , สินค้าฟุ่มเฟือย และสินค้าวัสดุ ยังคงเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จาก 5 ปัจจัยบวกขั้นต้น อีกทั้งราคาหุ้นกลุ่มนี้ยังถูกกว่าเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวมอีกด้วย
อย่างไรก็ดี นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นเวลานาน ประกอบกับนโยบายการคลังขนาดใหญ่เพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 รวมถึงสวัสดิการจากภาครัฐเพิ่มขึ้นแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาเพิ่มขึ้นแรงเหมือนเช่นในช่วงภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง (Great Inflation) ในปี 2508-2525 จึงแนะนำให้นักลงทุนกระจายการลงทุนไปยังทองคำ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อในระยะยาว โดยมองระดับราคาที่เหมาะสมในการเข้าทยอยสะสมที่ ระดับต่ำกว่า 1,900 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ATFX
IC Markets Global
EC Markets
Vantage
TMGM
OANDA
ATFX
IC Markets Global
EC Markets
Vantage
TMGM
OANDA
ATFX
IC Markets Global
EC Markets
Vantage
TMGM
OANDA
ATFX
IC Markets Global
EC Markets
Vantage
TMGM
OANDA