简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เวิลด์แบงก์เตือนรัฐประหารเมียนมาส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศและแนวทางประชาธิปไตย
ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา หลังจากกองทัพได้ก่อรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจรัฐบาล โดยเวิลด์แบงก์เตือนว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในเมียนมามีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะถดถอย และจะสร้างความเสียหายต่อแนวโน้มการพัฒนาประเทศ
“เรามีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาชนในเมียนมา ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ของเวิลด์แบงก์และบรรดาพันธมิตร เราได้รับผลกระทบจากการถูกปิดช่องทางการสื่อสารทั้งภายในเมียนมาและกับต่างประเทศ” เวิลด์แบงก์ระบุในแถลงการณ์
กองทัพเมียนมาเข้ายึดอำนาจรัฐบาลเมื่อวานนี้ พร้อมกับควบคุมตัวนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและผู้นำคนอื่นๆ และได้ประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศเป็นเวลา 1 ปี โดยกองทัพได้มอบอำนาจการปกครองให้กับนายพลมิน อ่อง หล่าย ขณะที่สัญญาว่าจะจัดการจัดการเลือกตั้งทั่วไปหลังจากนั้น
การก่อรัฐประหารในเมียนมาได้จุดชนวนให้บรรดาผู้นำของโลกตะวันตกออกมาประณาม โดยรัฐบาลสหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ขู่ว่าจะกลับมาใช้มาตรการคว่ำบาตกับเมียนมาอีกครั้ง
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เวิลด์แบงก์ให้คำมั่นสัญญาว่าจะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในเมียนมา พร้อมทั้งสนับสนุนเมียนมาให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นวงกว้าง และการหลอมรวมสังคมเมียนมาให้มีความเป็นปึกแผ่นมากขึ้น
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ประชาชนเมียนมาหลายหมื่นคนหลั่งไหลลงถนนต้านการรัฐประหาร แม้รัฐบาลสั่งตัดอินเทอร์เน็ตก็มิอาจหยุดยั้งความคั่งแค้นที่กองทัพโค่น “อองซาน ซูจี” ผู้นำจากการเลือกตั้งได้
คณะรัฐประหารเมียนมา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปี นับจากวันที่ 1 ก.พ. 2564 เวลา 8.00 น. เป็นต้นไป พร้อมแต่งตั้งรองปธน.สายทหาร เป็นรักษาการประธานาธิบดี
นักวิเคราะห์เผยกับซีเอ็นบีซี หากเกิดความรุนแรงระหว่างนักศึกษากับฝ่ายต่อต้านที่ภักดีกับอำนาจเก่าไทยอาจตกอยู่ภายใต้รัฐบาลทหารอีกครั้ง