简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สำรวจทางเลือกสหรัฐ‘คว่ำบาตรเมียนมา’
การรัฐประหารของกองทัพเมียนมาได้ส่งผลสะเทือนไปไกลถึงครึ่งโลก กลายเป็นวิกฤติใหญ่ด้านการระหว่างประเทศที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐต้องเผชิญเป็นครั้งแรก เขาอาจออกมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ ตัดการช่วยเหลือ หรือเล่นงานเหล่านายพลเมียนมาและบริษัทของนายพลเพื่อกดดันให้กลับคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว แต่รัฐบาลใหม่ของสหรัฐจะตอบโต้ด้วยวิธีใดถือเป็นบททดสอบแรกๆ ของไบเดน ที่เคยให้คำมั่น 2 ประการว่า นโยบายต่างประเทศของเขาจะยึดสิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจสำคัญ และร่วมมือกับพันธมิตรให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันจันทร์ (1 ก.พ.) ไบเดนให้คำมั่นว่า “จะยืนหยัดเพื่อประชาธิปไตย” และขู่ว่าจะคว่ำบาตรเมียนมาอีกครั้ง หลังจากอดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามาค่อยๆ ยกเลิกเพราะการปฏิรูปสู่ประชาธิปไตยของเมียนมาคืบหน้า นักโทษการเมืองได้รับการปล่อยตัวหลายคนตลอดระยะเวลา 10 ปี
“การถอยหลังความคืบหน้านั้นทำให้เราจำเป็นต้องทบทวนกฎหมายและอำนาจการคว่ำบาตรเสียใหม่ แล้วจะมีการกระทำที่เหมาะสมตามมา” แถลงการณ์ไบเดนระบุ
รัฐบาลอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เคยเล่นงานผู้นำทหาร 4 นาย รวมถึงนายพลอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ที่กดขี่ชาวโรฮิงญากว่า 700,000 คน จนต้องหนีตายเข้าไปบังกลาเทศ
ปีเตอร์ คูซิค อดีตที่ปรึกษาอาวุโสเรื่องมาตรการคว่ำบาตรจากกระทรวงการคลังสหรัฐกล่าวว่า ไบเดนอาจออกคำสั่งฝ่ายบริหารประกาศว่าเป็นภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ โดยอ้างถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมา แล้วออกมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่
แต่ผู้สนับสนุนธุรกิจสหรัฐในเมียนมารายหนึ่งที่ไม่ต้องการเปิดเผยชื่อด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย แย้งว่า บางธุรกิจที่ต้องการคงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับเมียนมาอาจไม่เห็นด้วยกับการคว่ำบาตร เหล่านักลงทุนสนับสนุนให้เล่นงานผู้ก่อรัฐประหารและคนที่ทหารตั้งเป็นรัฐมนตรีมากกว่า เพื่อส่งสัญญาณว่ารัฐบาลใหม่ของเมียนมาไม่มีความชอบธรรม
ขณะที่อดีตเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า สหรัฐมีเครื่องมือจัดการเหล่านายพลเมียนมาอย่างจำกัด คนกลุ่มนี้มีสายสัมพันธ์กับบริษัทท้องถิ่นอันทรงอำนาจ แต่แทบไม่มีผลประโยชน์ในต่างประเทศให้ได้รับผลกระทบเลยหากถูกคว่ำบาตรทางการเงิน
ขณะนี้ยังมีการหารือกันเรื่องประสิทธิผลของการคว่ำบาตรนายพลเมียนมาที่สหรัฐเคยทำมาด้วย นายทหารระดับสูงส่วนใหญ่ถูกสหรัฐเล่นงานไปเรียบร้อยแล้วตามกฎหมายความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนระดับโลกของแมกนิตสกี
หลายคนโต้แย้งว่า พวกเขาแทบไม่สะเทือน ส่วนคนที่เดือดร้อนก็คือประชาชนเมียนมา
“การเพิ่มแรงกดดันกองทัพเมียนมาไม่ได้แก้ปัญหา การทูตที่มีทักษะและต่อเนื่องทั้งระดับทวิภาคีและร่วมมือกับพันธมิตรเท่านั้นที่จะถอดสลักวิกฤตินี้ และกำหนดเส้นทางกลับสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยและการปฏิรูปในเมียนมาได้” แดเนียล รัสเซลส์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศแผนกเอเชียตะวันออกสมัยรัฐบาลโอบามาให้ความเห็น
ขณะเดียวกันกลุ่มนักเคลื่อนไหว เช่น ฮิวแมนไรท์วอทช์ ประสานเสียงเรียกร้องให้ไบเดนเล่นงาน 2 บริษัทใหญ่ของกองทัพเมียนมา ได้แก่ เมียนมาอีโคโนมิกโฮลดิงส์ลิมิเต็ด (เอ็มอีเอชแอล) และเมียนมาอีโคโนมิกคอร์ป (เอ็มอีซี) ที่มีบริษัทโฮลดิงมากมายลงทุนหลากหลายสาขา เช่น ธนาคาร อัญมณี ทองแดง โทรคมนาคม และเสื้อผ้า
เคลลี คูรี ทูตสหรัฐว่าด้วยปัญหาผู้หญิงสมัยอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้มีบทบาทอย่างมากต่อนโยบายเมียนมาในสมัยนั้นกล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศเตรียมการคว่ำบาตรบริษัทของทหารเมียนมาตามกฎหมายแมกนิตสกีในปี 2561 ตอบโต้การกระทำรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาแล้วแต่ยังไม่ได้ใช้ กระทรวงการคลังควรจะหยิบมาสานต่อได้ทันทีสืบเนื่องจากการรัฐประหารในเมียนมา
ทางเลือกอื่นที่ไบเดนทำได้คือ คว่ำบาตรเพิ่มเติมตามกฎหมายแมกนิตสกี ยึดทรัพย์สินในสหรัฐของกลุ่มนายพลและบริษัทเมียนมา ห้ามคนอเมริกันทำธุรกิจด้วย หรือไบเดนอาจจะรื้อฟื้นอำนาจคว่ำบาตรตามกฎหมายหยก ปี 2551 ที่มุ่งเล่นงานคณะรัฐประหารเมียนมาแต่ถูกโอบามายกเลิกไปในปี 2559 นอกจากนี้รัฐบาลวอชิงตันอาจห้ามเจ้าหน้าที่เมียนมาและครอบครัวเดินทางมาสหรัฐด้วย
สำหรับสถานการณ์ล่าสุดในเมียนมา ทั้งไบเดนและแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่างประณามการยึดอำนาจของกองทัพเมียนมาแต่ไม่ได้เรียกว่ารัฐประหาร เพราะถ้าพูดแบบนั้นตามกฎหมายสหรัฐต้องหมายถึงการตัดเงินช่วยเหลือที่สหรัฐมีให้กับเมียนมารวม 606.5 ล้านดอลลาร์ในปี 2563 รวมถึงเงินช่วยเหลือด้านสาธารณสุขและบรรเทาภัยพิบัติ
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐรายหนึ่งกล่าวว่า เหตุการณ์ในเมียนมามีแนวโน้มเป็นการรัฐประหาร แต่กระทรวงกำลังวิเคราะห์ด้านกฎหมายและข้อเท็จจริงก่อนประเมิน
ด้านธนาคารโลกแถลงว่า การรัฐประหารทำลายโอกาสการพัฒนาและความคืบหน้าในการแก้ปัญหาความยากจน ทั้งยังมีความเสี่ยงทางการเมืองเมื่อคณะทหารควบคุมความมั่นคงภายในประเทศอย่างเข้มงวดการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยอาจถูกปราบปรามรุนแรง เศรษฐกิจที่เพิ่งตั้งไข่และการจ้างงานอาจเสียหาก หากนักลงทุนต่างชาติไม่แน่ใจเรื่องเสถียรภาพในประเทศแล้วไม่กล้ามาลงทุน โครงการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญถูกระงับหรืออาจยกเลิกไปเลย ถ้าทุนเอกชนหรือภาครัฐได้รับผลกระทบ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ระบบโลจิสติกส์ ของโลกที่สะดุดจากโควิด-19ระบาด ทำให้การขาดแคลนอาหารพุ่งสูงโดยเฉพาะสหรัฐฯ โดยสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส ระบุว่า ความต้องการสินค้าเกษตรกลุ่มอาหารมีสูงขึ้นมากอย่างไมเคยพบมาก่อน
ผอ.สถาบัน AFRIMS ออกโรงโต้รายงานชี้ "ห้องทดลองเชื้อโรค" ใหญ่ที่สุดในโลก ซ่อนอยู่ในกรุงเทพฯ ท่ามกลางความสงสัย สหรัฐ - ไทย กำลังร่วมมือวิจัยวัคซีนสู้โควิด
วุฒิสภาสหรัฐลงมติเห็นชอบต่อร่างกฎหมายการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ในวันนี้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ และสร้างงานครั้งใหญ่ให้แก่ชาวอเมริกัน
วุฒิสภาสหรัฐ มีมติด้วยคะแนนเสียง 67 ต่อ 27 เดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อนำไปสู่การผ่านความเห็นชอบในขั้นสุดท้าย
HFM
EC Markets
ATFX
FXTM
FP Markets
Octa
HFM
EC Markets
ATFX
FXTM
FP Markets
Octa
HFM
EC Markets
ATFX
FXTM
FP Markets
Octa
HFM
EC Markets
ATFX
FXTM
FP Markets
Octa