简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนเสมอ” นี่คงเป็นคำเตือนยอดฮิตเกี่ยวกับการลงทุน ถ้าอยากลงทุน ลองตอบคำถาม 5 ข้อนี้กับตัวเองให้ได้เสียก่อนค่อยตัดสินใจลงทุน เพื่อป้องกันไม่ให้เงินทุนในมือ มลายหายไปกับความไม่รู้ของเราเอง
การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนเสมอ นี่คงเป็นคำเตือนยอดฮิตเกี่ยวกับการลงทุน ถ้าอยากลงทุน ลองตอบคำถาม 5 ข้อนี้กับตัวเองให้ได้เสียก่อนค่อยตัดสินใจลงทุน เพื่อป้องกันไม่ให้เงินทุนในมือ มลายหายไปกับความไม่รู้ของเราเอง
รู้ว่าสถานะการเงินเป็นอย่างไร
หลายคนอยากลงทุน แต่หลงลืมสำรวจ สถานภาพทางการเงินของตัวเองว่าเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณภาระค่าใช้จ่าย ว่ามีสัดส่วนเป็นเท่าใดของรายได้ (รายรับ) การเปรียบเทียบว่าตัวเองมีทรัพย์สินหรือหนี้สินมากกว่ากัน มีสภาพคล่องทางการเงินมากน้อยแค่ไหน หากเราคิดแค่ว่า ต้องการลงทุนเพื่อคาดหวังผลตอบแทน โดยไม่หันกลับมามองสถานภาพทางการเงินที่เป็นอยู่ การลงทุนซึ่งมีความเสี่ยง อาจสร้างภาระหนี้สินให้คุณโดยไม่รู้ตัวก็ได้
รู้แบ่งแยกเงินลงทุนเอาไว้
นักลงทุนมือใหม่มักรีบร้อนอยากลงทุนเพื่อสร้างผลกำไร แต่ก่อนที่เราจะหยิบเงินทุนก้อนหนึ่ง ๆ ออกมาลงทุน ต้องไตร่ตรองให้ดีด้วยว่า เงินก้อนนี้ คือ เงินทั้งหมดที่เรามีอยู่หรือเปล่า หรือเป็นเงินก้อนที่เราแบ่งแยกออกมาสำหรับลงทุนโดยเฉพาะ ถ้าใครยังไม่ได้แบ่งแยกเงินลงทุนออกมา คุณก็ควรทำเสียก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อเงินทุนที่คุณมีอยู่จะไม่สูญสลายไปทั้งหมดเมื่อการลงทุนกำลังเผชิญความเสี่ยง เรียกง่าย ๆ ว่า เงินเก็บ (เงินสำรองยามฉุกเฉินสำหรับตัวเองและครอบครัว) กับเงินสำหรับลงทุนควรแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน
รู้ว่าเงินทุนพร้อมลงทุนจริงไหม
เงินทุน ซึ่งแบ่งออกมาแล้วว่า “ต้องการใช้ลงทุน” มีความพร้อมแค่ไหน เป็น “เงินเย็น” หรือไม่ นี่คือคำถามสำคัญ คำว่า เงินเย็น หมายถึง เงินที่ไม่มีต้นทุน (ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยจากการกู้ยืม) และเป็นเงินที่ไม่มีภาระ (ไม่มีความจำเป็นใดที่ต้องใช้เงินทุนก้อนนี้) เงินที่มีคุณสมบัติทั้งสองข้อนี้ ถือเป็นเงินที่เหมาะสมแก่การลงทุน ดังนั้น ก่อนนำเงินในมือไปลงทุน เราต้องเคลียร์กับตัวเองให้แน่ชัดว่า ภายในระยะเวลา 5 ปี เราไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนก้อนนี้เลยจริง ๆ
รู้ยอมรับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน
ความเสี่ยงจากการลงทุน (Investment Risk) คือ การเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจริง เบี่ยงเบนไปจากอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ ความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งที่ตีคู่มากับการลงทุนเสมอ เป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนต้องยอมรับและรับมือให้ได้พอ ๆ กับการคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุน เนื่องจากการลงทุนแต่ละประเภทมีความเสี่ยงมากน้อยแตกต่างกันออกไป ทุกครั้งที่ตัดสินใจลงทุน จึงเท่ากับว่าเราเตรียมใจยอมรับความเสี่ยงที่จะตามมาด้วย ดังนั้น นักลงทุนมือใหม่ ควรรู้ใจตัวเองเสียก่อนว่ายอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าการลงทุนกับอะไรสักอย่างมีความเสี่ยงมากเกินกว่าเราจะรับมือไหว เราอาจเปลี่ยนไปลงทุนประเภทอื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าแทนไหม หรือถ้าหากว่ายอมรับความเสี่ยงไม่ได้เลย คงต้องพิจารณาการลงทุนใหม่ตั้งแต่ต้น
รู้อะไรเกี่ยวกับการลงทุนบ้าง
การลงทุนอย่างชาญฉลาด คือการรู้จักศึกษาเรื่องการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน หากเปรียบการลงทุนเป็นขุมทรัพย์ นักลงทุนก็คือนักล่าสมบัติ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาแผนที่ เส้นทาง ด่านอันตราย เงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจออกไปตามหาสมบัติเสมอ เราจึงต้องตอบตัวเองก่อนว่า เรามีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนมากน้อยแค่ไหน หรือรู้จักการลงทุนประเภทใดมาแล้วบ้าง ถ้ายังไม่มีความรู้ใดใดเลย เราก็ควรศึกษาพิจารณาข้อดี-ข้อด้อยเกี่ยวกับการลงทุนแต่ละประเภทให้รอบคอบ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งดี รู้แล้ววิเคราะห์และตัดสินใจว่า เราจะนำเงินทุนในมือไปใช้ลงทุนอย่างชาญฉลาดกับอะไร ได้อย่างไร
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
อยากเป็นวัยรุ่นพันล้าน ทำไงดี ? ลงทุนอย่างไรไม่ให้เสี่ยง
นี่คือ 5 ปัจจัยที่คุณควรรู้เพื่อเริ่มต้นสัปดาห์ลงทุนของคุณ
ในยุคนี้ ไม่ว่าประชากร Gen X, Gen Y หรือ Gen Z ต่างก็มีความรู้ และสนใจในการวางแผนทางการเงินมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘การลงทุน’ บทความนี้จะพาไปดูว่า การลงทุนมีประโยชน์อย่างไร? และทำไมเราต้องลงทุน?
วันนี้เราของยกเรื่องราวที่เป็นบทเรียนครั้งใหญ่ของสาวออฟฟิศท่านหนึ่งที่ ‘เสียเงินเก็บทั้งชีวิต’ จากการลงทุนที่ไม่ได้ศึกษามากพอ
Vantage
Tickmill
XM
VT Markets
Neex
Octa
Vantage
Tickmill
XM
VT Markets
Neex
Octa
Vantage
Tickmill
XM
VT Markets
Neex
Octa
Vantage
Tickmill
XM
VT Markets
Neex
Octa