简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ฟังเสียงมุมมองจากแบงก์ชาติอังกฤษ ถึงอัตรา "เงินเฟ้อ" อังกฤษ จะมีทิศทางเป็นอย่างไร หลังจากมีแรงกดดันว่าจะพุ่งขึ้นมา แต่ยังคงน้อยกว่าของสหรัฐเล็กน้อย ปรากฏกการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะอะไร?
สัปดาห์ที่แล้ว ผมได้นำเสนอมุมมองว่าด้วยเรื่องอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ ซึ่งเริ่มเป็นที่กังวลของกูรูหลายท่าน ยังมีอีกหนึ่งมุมมองจากทางแบงก์ชาติอังกฤษ ที่มองว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษ ซึ่งต้องบอกว่ามีแรงกดดันว่าจะพุ่งขึ้นมาน้อยกว่าของสหรัฐเล็กน้อย ทว่าก็มีทีท่าว่ากำลังจะทะยานขึ้นมาเช่นกัน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1.จากการเก็บข้อมูลเงินเฟ้อในหมวดสินค้าต่างๆ ของอังกฤษในปี 2563 พบว่ามีสินค้าอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งหมดที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาและปริมาณการบริโภคเป็นบวก นั่นคือมีพลังของอุปสงค์ที่เป็นบวกอยู่ในกลุ่มสินค้าเหล่านั้น ซึ่งหมายถึงว่า ภายใต้อัตราเงินเฟ้อในปี 2563 ที่ต่ำนั้น ก็ยังมีกลุ่มสินค้าที่มีระดับราคาสูงขึ้นซ่อนอยู่หลายประเภท
2.หากพิจารณาจากส่วนต่างระหว่างอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ กับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดซึ่งไม่ก่อให้เกิดเงินเฟ้อ หรือที่เรียกว่า Output Gap ของอังกฤษ จะพบว่าในวิกฤติโควิด ลดลงต่ำสุดที่ติดลบร้อยละ 3 ในขณะที่ในช่วงวิกฤติซับไพร์ม ลดลงต่ำสุดถึงติดลบเกือบร้อยละ 5 ทั้งนี้ ทางแบงก์ชาติอังกฤษคาดว่าในรอบนี้น่าจะใช้เวลาไม่ถึง 10 เดือนในการที่ Output Gap จะกลับไปเป็นบวก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษจะกลับตัวเร็วกว่าที่หลายคนคาดไว้
3.ปริมาณเงินไหลเข้าสู่เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยความแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างวิกฤติรอบนี้กับวิกฤติซับไพร์มสำหรับอังกฤษ คือระบบสถาบันการเงินในตอนนี้ ถือว่ามีความพร้อมในการเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างภาคธนาคารกลางกับเศรษฐกิจจริงได้สมบูรณ์แบบ ในขณะที่เมื่อกว่า 10 ปีก่อน สถาบันการเงินต่างๆ ในอังกฤษถือว่าได้รับความเสียหายจากวิกฤติซับไพร์มที่เริ่มปะทุขึ้นในสหรัฐ จนกระทั่งกลไกการทำงานของระบบการเงินในอังกฤษถูกทำลายลง โดยในช่วงตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จึงได้มีเวลาในการซ่อมแซมระบบการเงินจนกระทั่ง ณ ตอนนี้ สามารถกลับมาทำให้การพิมพ์เงินของแบงก์ชาติอังกฤษส่งผลให้ปริมาณเงิน M3 เพิ่มขึ้นมาเกือบถึงอัตราร้อยละ 20 ในช่วงปลายปีที่แล้ว
4.ปัจจัยอุปทาน ในบทความล่าสุดของชาร์ลส กู๊ดฮาร์ท และ มาโนช ปราธาน ได้กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อของโลกที่อยู่ในระดับที่ต่ำมาตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา เกิดจากปัจจัยที่จำนวนประชากรวัยทำงานของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจีนที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งทำให้นายจ้างสามารถมีอำนาจต่อรองที่สูงกว่าลูกจ้าง ทำให้สามารถกดค่าแรงให้ต่ำลงได้ นั่นจึงส่งผลให้ระดับราคาของสินค้าและบริการหรืออัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ทั้งคู่มองว่าแนวโน้มดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้าม จำนวนประชากรวัยทำงานของโลกเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม
หากพิจารณาจากโครงสร้างของประชากรของอังกฤษ ยิ่งถือว่าชัดเจน โดยจากในอดีตที่ผ่านมา ปริมาณแรงงานของอังกฤษมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นมาตลอด เพิ่งจะมีเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งจำนวนประชากรลดลง 1.3 ล้านคนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยสิ่งนี้จะไปจำกัดอุปทานด้านแรงงานและการผลิตให้จำกัดลง
นอกจากนี้ ปรากฏการณ์ “โลกาภิวัตน์” ก็ยังถือว่าถึงจุดกลับตัว โดยจากอดีตที่ผ่านมา ปริมาณการค้าของโลกจะเติบโตด้วยเฉลี่ยอัตราร้อยละ 5.5 ต่อปี ในขณะที่ปี 2563 ปริมาณการค้าโลกหดตัวลงร้อยละ 15 โดยที่ปริมาณกิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวลงเพียงร้อยละ 9 นั่นคือปริมาณการค้าโลกที่ลดลง จะส่งผลให้เป็นแรงกดดันเชิงบวกต่ออัตราเงินเฟ้อเนื่องจากไม่มีสินค้าต่างชาติเข้ามาแข่งขันด้านราคาภายใต้บรรยากาศที่มีปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจที่มากขึ้น
5.ปัจจัยด้านการคลัง บทความเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราได้ดูตัวเลขของฝั่งสหรัฐ ซึ่งพบว่าเม็ดเงินกระตุ้นด้านการคลังในช่วงโควิดสูงกว่าช่วงซับไพรม์หลายเท่า สำหรับในอังกฤษก็เช่นกัน เม็ดเงินกระตุ้นด้านการคลังในรอบนี้มากกว่าเมื่อกว่า 10 ปีก่อน ถึงกว่า 2 เท่า ในขณะที่ Output Gap ติดลบยังน้อยกว่าอีก
ท้ายสุด ปัจจัยด้านจิตวิทยา หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างรอบนี้กับวิกฤติซับไพรม์ในฐานะประชาชน จะพบว่าในรอบที่แล้ว เราทุกคนแทบจะไม่รู้ว่าแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์จะอยู่ตรงที่จุดไหน ในขณะที่รอบนี้จะพบว่าด้วยเม็ดเงินที่ภาครัฐให้มาประกอบกับวัคซีนที่กำลังรออยู่ แน่นอนว่าหากโควิดเริ่มควบคุมได้ อุปสงค์ของสินค้าและบริการที่หดตัวลงอย่างรุนแรงมากๆ ก็พร้อมจะกลับขึ้นมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งนั่นคือปัจจัยกดดันให้เกิดเงินเฟ้อในรอบนี้มีมากกว่าวิกฤติในรอบครั้งเมื่อกว่า 10 ปีก่อนค่อนข้างมาก
โดย บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ | คอลัมน์ มุมคิดมหภาค | BangkokBiznews
อย่าตกเป็นเหยื่อโบรกเกอร์ Forex เถื่อน! เพราะโบรกเกอร์ Forex เถื่อนชอบโกงเงินนักลงทุน คุณต้องดาวน์โหลด WikiFX เพื่อตรวจสอบว่าโบรกเกอร์ Forex ใดควรเทรดด้วย ไม่งั้นจะเสียใจทีหลัง ดาวน์โหลดฟรี!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
2 กูรูแห่งการเงินแห่งยุค “จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ผู้ก่อตั้ง Bitkub.com และ “พิริยะ สัมพันธารักษ์” Managing Director จาก Chaloke Dot Com โลกกำลังจะเจอภาวะเงินเฟ้อครั้งใหญ่
ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (บีโอเค) เปิดเผยในวันนี้ว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของเกาหลีใต้ขยายตัว 0.3% ในไตรมาส 3/2564 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส
คุณเคยสังเกตมั้ยว่าปีที่ผ่านมา เราต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อของชิ้นเดิม? ของชิ้นเดียวกันในเดือนนี้ก็แพงกว่าเดือนที่แล้ว และยังแพงกว่าปี 2020 ด้วย วันนี้ WikiFX จะพาไปสำรวจดูตลาดว่าอะไรแพงขึ้น และดูชัด ๆ ว่าเงินเฟ้อขึ้นเท่าไหร่!
"แจ็ค ดอร์ซีย์” ผู้ร่วมก่อตั้งทวิตเตอร์ เตือนว่าจะเกิดภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงทั้งในสหรัฐและทั่วโลก พร้อมระบุสถานการณ์เงินเฟ้อมีแนวโน้มแย่ลง
FP Markets
FBS
IC Markets Global
FXTM
Vantage
STARTRADER
FP Markets
FBS
IC Markets Global
FXTM
Vantage
STARTRADER
FP Markets
FBS
IC Markets Global
FXTM
Vantage
STARTRADER
FP Markets
FBS
IC Markets Global
FXTM
Vantage
STARTRADER