简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เมื่อพูดถึงการกำกับดูแล “สินทรัพย์ดิจิทัล” ซึ่งประกอบด้วยคริปโทเคอร์เรนซี่ และ โทเคนดิจิทัล ทุกสายตา
เมื่อพูดถึงการกำกับดูแล “สินทรัพย์ดิจิทัล” ซึ่งประกอบด้วยคริปโทเคอร์เรนซี่ และ โทเคนดิจิทัล ทุกสายตาน่าจะพุ่งตรงมาที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล 2018 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผ่านมาที่ราคาซื้อขาย Bitcoin นั้นเริ่มมีความร้อนแรงและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงมีคำถามว่า แล้วก.ล.ต. มีหน้าที่กำกับดูแลเรื่องอะไร ในระบบนิเวศของสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Ecosystem) หรืออยู่ตรงไหนในจักรวาลของ “สินทรัพย์ดิจิทัล” และพวกเขามีส่วนช่วยทำอะไรสำหรับการคุ้มครองนักลงทุน ดังนั้นในบทความนี้ทางสยามบล็อกเชนจึงได้นำเอาบทความเรื่อง “ก.ล.ต. กำกับดูแลอะไร ในจักรวาล ”สินทรัพย์ดิจิทัล“ เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน” ที่เขียนโดย นางสาวนภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มาอธิบายให้เพื่อน ๆ ได้ทำความเข้าใจกันมากขึ้น มีอะไรใน “ระบบนิเวศของสินทรัพย์ดิจิทัล” ? หากมองไปในระบบนิเวศของสินทรัพย์ดิจิทัลเราจะพบว่า นอกจากคริปโทเคอร์เรนซี่ และ โทเคนดิจิทัลแล้ว ยังมีกิจการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอีกหลากหลาย ทีต้องมาทำความรู้จักกันสักหน่อย สินทรัพย์ดิจิทัล จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วย ได้แก่ คริปโทเคอร์เรนซี่และโทเคนดิจิทัล ซึ่งมีลักษณะและการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน (1) คริปโทเคอร์เรนซี่ (cryptocurrency) เป็นเหรียญสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน (means of payment) เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยกัน เช่น Bitcoin หรือ Ethereum เป็นต้น รวมทั้งคริปโทเคอร์เรนซีที่มีการตรึงมูลค่า (peg) ไว้กับสินทรัพย์ที่มีความเสถียร เช่น ทองคำ สกุลเงินต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “ stable coin” (2) โทเคนดิจิทัล (digital token) เป็นเหรียญดิจิทัลที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือเหรียญ โดยแยกย่อยเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 2.1 investment token ให้สิทธิในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ 2.2 utility token ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการได้มาซึ่งสินค้า บริการ
กดอ่านข่าว ก.ล.ต. เผยบทความเกี่ยวกับการกำกับดูแลใน “สินทรัพย์ดิจิทัล” เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ต่อที่ Siam Blockchain
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ