简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันหยุดแบบนี้ WikiFX ขอพาทุกคนไปรู้จักหนังที่เหมาะกับนักลงทุนอย่างพวกคุณอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นเป็น ภาพยนตร์กึ่งสารคดีที่สร้างขึ้นเพื่อเปิดโปงขบวนการฉ้อฉล ในแวดวงการเมือง การเงิน การธนาคาร ตลาดหุ้น และตลาดตราสารต่าง ๆ ของสหรัฐ อันเป็นที่มาของวิกฤติซับไพรม์ หรือวิกฤติทางการเงินของอเมริกาเมื่อปี 2008 ซึ่งเรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นได้ทุกทีในโลก และวันนึงมันอาจจะเกิดที่บ้านเราก็ได้
วันหยุดแบบนี้ WikiFX ขอพาทุกคนไปรู้จักหนังที่เหมาะกับนักลงทุนอย่างพวกคุณอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นเป็น ภาพยนตร์กึ่งสารคดีที่สร้างขึ้นเพื่อเปิดโปงขบวนการฉ้อฉล ในแวดวงการเมือง การเงิน การธนาคาร ตลาดหุ้น และตลาดตราสารต่าง ๆ ของสหรัฐ อันเป็นที่มาของวิกฤติซับไพรม์ หรือวิกฤติทางการเงินของอเมริกาเมื่อปี 2008 ซึ่งเรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นได้ทุกทีในโลก และวันนึงมันอาจจะเกิดที่บ้านเราก็ได้
Inside Job (2010) เป็นภาพยนตร์สารคดีที่ได้รับรางวัลออสการ์ในปี 2010 เป็นรางวัลสำหรับภาพยนตร์แนวสารคดีที่ดีที่สุดในโลก ณ ขณะนั้น Inside Job นำเสนอข้อมูลเชิงลึกของวิกฤติซับไพรม์ มีการไปสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง แน่นอนว่าคนที่เป็นต้นตอของสาเหตุ ก็เลี่ยงไม่ยอมให้สัมภาษณ์
สาเหตุของวิกฤตก็มาจากการดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผิดพลาดของใครหลาย ๆ คน และไม่เลือกที่จะแก้ปัญหา แต่กลับใช้วิธีกวาดปัญหาเหล่านั้นไปซุกไว้ แล้วเลือกแต่ส่วนที่เอื้อประโยชน์ให้กับตนเพียงอย่างเดียว จนเมื่อระบบภายในเกิดการเน่าเฟะ สุดท้ายก็จบลงด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจที่ล่มสลาย รวมถึงยังแสดงให้เห็นการปัดความรับผิดชอบของเหล่านักการเมืองที่เห็นแก่ตัวในขณะนั้นด้วยง
หนังชี้ให้เห็นว่าวิกฤตการเงินที่เกิดขื้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ มันหลีกเลี่ยงได้ถ้าผู้ควบคุมกฎกติกาทำงานอย่างจริงจัง โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ในช่วง ค.ศ. 1940-1980 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งโดยไม่มีวิกฤตการเงินแม้แต่ครั้งเดียว เพราะขณะนั้นภาคธุรกิจการเงินถูกควบคุมโดยกฎเกณฑ์อย่างเข้มงวด
ในทศวรรษ1980 ภาคธุรกิจการเงินขยายตัวอย่างรวดเร็วแต่ปรากฏว่าในช่วง 1981-2011 มานี้ กลับกลายเป็นยุคเสรีทีผ่อนปรนกฎเกณฑ์ควบคุม (de-regulation) ภาคธุรกิจการเงิน จนเกิดวิกฤตย่อยในปลายทศวรรษ 1980 ธุรกิจการเงินหลายแห่งรวมตัวกันกลายเป็นยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่แห่ง มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อผ่อนปรนกฎเกณฑ์ควบคุมทางการเงิน เพราะเชื่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทีว่า “การมีกฎเกณฑ์น้อยลงทําให้เกิดความคล่องตัวทางธุรกิจมากขึ้น ต้นทุนจะต่ำลง กลไกตลาดที่สาธารณชนเห็นการทํางานอย่างชัดเจน จะผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพ และผู้ได้รับประโยชน์คือประชาชน”
การเติบโตขึ้นของเศรษฐกิจภายใต้พื้นฐานของความหลอกลวง การสร้างภาพให้ดูดีเกินจริงเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์อย่างรวดเร็ว สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินไม่ได้สะท้อนภาพที่แท้จริงตามกลไกของตลาดทุน แต่มุ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสถาบันทางการเงินที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง หนังเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงแค่นักการเงิน นักเศรษฐศาสตร์ หรือธนาคารที่กระหายเงินเท่านั้น แต่ยังกินไปถึงผลประโยชน์ทับซ้อนของงานวิจัยทางการเงิน ผู้ให้การศึกษาในมหาวิทยาลัย และพลังอำนาจของ “ระบบการเงิน” นั้นยิ่งใหญ่เหลือเกิน ยิ่งใหญ่เสียยิ่งกว่าอำนาจใด ๆ
อำนาจเมื่อไปอยู่ในมือคนผิด ก็สร้างความเสียหายมากมายกับโลก และประเทศได้ ซึ่งพอเกิดขึ้นแล้วมันก็ยากที่จะรับผิดชอบ รวมถึงการสร้างเงินจากสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ไม่มีความยั่งยืนใด ๆ วันนึงได้มา วันนึงก็ต้องเสียไป และอาจะเสียไปจนตั้งหลักไม่ได้ หวังว่าคนที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ จะเข้าใจอีกด้านหนึ่งของโลกการเงินมากขึ้น มันมีดีมีเลว และถ้ามีโอกาสตรงนั้นคุณจะเลือกทำอย่างพวกเขาไหม? ยังมีหนังและบทความดี ๆ เกี่ยวกับการลงทุน และ Forex มากมายที่เราอยากจะแนะนำให้คุณ โดยคุณสามารถดาวน์โหลด App WikiFX เพื่อรับสิ่งเหล่านี้ได้ทุกวันแบบฟรี ๆ ที่ WikiFX
ถ้าโดนโบรกเกอร์ Forex โกงมาแนะนำให้คุณเข้าไปที่ การเปิดเผย ของแอพ WikiFX เพื่อแฉโบรกเกอร์ อย่าปล่อยให้คนโกงลอยนวล ยิ่งคุณแฉโบรกเกอร์จะยิ่งกลัว รีบบบบเลย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FOREX.com
Vantage
OANDA
FXTM
GO MARKETS
Tickmill
FOREX.com
Vantage
OANDA
FXTM
GO MARKETS
Tickmill
FOREX.com
Vantage
OANDA
FXTM
GO MARKETS
Tickmill
FOREX.com
Vantage
OANDA
FXTM
GO MARKETS
Tickmill