简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้เราจะพาทุกคนย้อนไปสัมผัสกับฝันร้ายของโบรกเกอร์ Forex ที่เกิดขึ้นในปี 2015 วิกฤตทางการเงินที่หนักมากครั้งนึง มากจนสามารถฆ่าโบรกเกอร์ Forex ให้ล้มละลายพร้อมกันหลาย ๆ ราย แล้วโบรกเกอร์ไหนบ้างที่ล้มละลายจากเหตุการณ์นี้ไปดูกัน
วันนี้เราจะพาทุกคนย้อนไปสัมผัสกับฝันร้ายของโบรกเกอร์ Forex ที่เกิดขึ้นในปี 2015 วิกฤตทางการเงินที่หนักมากครั้งนึง มากจนสามารถฆ่าโบรกเกอร์ Forex ให้ล้มละลายพร้อมกันหลาย ๆ ราย ภายในคืนเดียว อะไรคือสาเหตุของเรื่องนี้ แล้วโบรกเกอร์ไหนบ้างที่ล้มละลายจากเหตุการณ์นี้ไปดูกัน
สวิตเซอร์แลนด์ในตอนนั้น รู้จักกันดีในฐานะประเทศที่มีระบบสถาบันการเงินที่เข้มแข็ง เศรษฐีและนักลงทุนมักจะเอาเงินไปเก็บไว้กับสวิสแบงก์ และสวิตเซอร์แลนด์เป็นหนึ่งในประเทศในยุโรปตะวันตกที่ไม่ได้ใช้เงินยูโร และยังคงมีเงินสกุลของตัวเอง คือเงินฟรังก์สวิส (CHF)
สวิสประกาศตรึงค่าเงินขั้นต่ำไว้ไม่ให้แข็งไปกว่า 1.20 ฟรังก์ต่อยูโรตั้งแต่ปี 2011 สมัยที่มีวิกฤติค่าเงินยูโรรอบที่แล้วที่ ทำเอาค่าเงินฟรังก์สวิสแข็งมาก เพราะใคร ๆ ก็อยากเอาเงินออกจากยูโร จนทำให้สวิตเซอร์แลนด์กังวลเรื่องความสามารถในการแข่งขัน สวิตเซอร์แลนด์ป้องกันค่าเงินอย่างเข้มแข็งมาหลายปี จนทำให้เงินสำรองของสวิสเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าในสี่ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งประกาศยกเลิกการตรึงค่าเงิน ทั้ง ๆ ที่ไม่มีสัญญาณก่อนหน้านี้ โดยให้เหตุผลว่าค่าเงินยูโรอ่อนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์แล้ว การตรึงค่าเงินไว้จึงไม่จำเป็นต่อการรักษาความสามารถในการแข่งขันอีกต่อไป
ทันทีหลังประกาศเงินฟรังก์สวิสแข็งค่าขึ้นกว่า 40% ซึ่งต้องถือว่าเป็นการขยับที่ใหญ่มากในตลาด Forex หลังประกาศคงมีคนอยากซื้อเงินฟรังก์สวิสเพื่อเอาไปคืนเยอะมากจนหาเงินฟรังก์สวิสไม่ได้และค่าเงินเลยแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ความผันผวนหนักนี่แหละนำมาสู่หายนะของโบรกเกอร์ Forex หากเทรดเดอร์ทำการเทรดเงินฝากเริ่มต้นเพียงอย่างเดียวโบรกเกอร์ก็จะไม่เดือดร้อน แต่เลเวอเรจที่พวกเขาใช้คือสิ่งที่มาฆ่าโบรกเกอร์ เลเวอเรจที่พวกเขาใช้สูงถึง 1: 1000 ซึ่งหมายความว่าเทรดเดอร์สามารถทำการเทรดด้วยมูลค่า 1,000 เท่าของเงินฝากเริ่มต้นของพวกเขา ในกรณีเช่นนี้ลูกค้าจะสูญเสียเพียงแค่สิ่งที่พวกเขาฝากไว้ แต่โบรกเกอร์จะสูญเสียเงินจำนวนนั้น 1,000 เท่า
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับโบรกเกอร์ Alpari UK, FXCM และโบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกอีกมากมาย พวกเขาถูกฟ้องล้มละลายเนื่องจากความสูญเสียที่เกิดขึ้น โดยมีรายงานว่า FXCM ขาดทุนกว่า 225 ล้านดอลลาร์ (ราว ๆ 7 พันล้านบาท) หลังเหตุการณ์นั้นมีโบรกเกอร์หลายรายที่ตายจากไป ขณะเดียวกันก็มีหลายรายที่กลับมาได้อย่างสง่างาม WikiFX ขอพาไปดูข้อมูลปัจจุบันของ 2 โบรกเกอร์ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากครั้งนั้น
จากข้อมูลบนแอป WikiFX พบว่า FXCM ยังคงเป็นโบรกเกอร์ที่มีประสิทธิภาพ มีสถานะโดยรวมที่ระดับ B ถือครองใบอนุญาตจาก FCA และ ASIC แต่พบรายงานการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการถอนเงินถึง 9 ครั้ง ทำให้ได้คะแนนจาก WikiFX ไปที่ 8.11/10
ในขณะเดียวกันเรายังพบข้อมูลของ Alpari ที่มีการจดทะเบียนในรัสเซีย และถือครองใบอนุญาตจากการหน่วยงานกำกับดูแลในเบลารุส โดยมีสถานะโดยรวมอยู่ที่ระดับ B เช่นกัน พบรายงานการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการถอนเงิน 4 ครั้ง และได้คะแนนจาก WikiFX ไปที่ 6.66/10
เหตุการณ์นี้ทำให้เห็นแล้วว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ในตลาดการเงิน ดังนั้นในฐานะเทรดเดอร์ก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน ทางที่ดีควรเลือกลงทุนกับโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาต เพราะเมื่อมีอุบัติเหตุทางการเงินก็จะมีหน่วยงานกำกับดูแลมารับผิดชอบ ปกป้องดูแลคุณ รวมถึงเมื่อไหร่ที่คุณโดนโบรกเกอร์โกงก็สามารถฟ้องร้องไปที่หน่วยงานกำกับดูแลได้ ต่างจากโบรกเกอร์เถื่อนที่โดนโกงทำได้แค่ร้องไห้อย่างเดียว ก่อนลงทุนต้องดูโบรกเกอร์ดี ๆ ตอนนี้คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex พร้อมรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ เพียงแค่เอาชื่อไปค้นหาในแอป WikiFX ง่ายและฟรีที่นี่ที่เดียว
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
IC Markets Global
Octa
Tickmill
Pepperstone
ATFX
FXTM
IC Markets Global
Octa
Tickmill
Pepperstone
ATFX
FXTM
IC Markets Global
Octa
Tickmill
Pepperstone
ATFX
FXTM
IC Markets Global
Octa
Tickmill
Pepperstone
ATFX
FXTM