简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เปิดบทวิเคราะห์จะลงทุนอย่างไร เมื่อธนาคารกลางสหรัฐ เริ่มส่งสัญญาณถอนสภาพคล่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป จากที่ก่อนหน้านี้ Fed พยายามสื่อสารว่าจะยังคงนโยบายผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง
โดย ศิริพร สุวรรณการ | คอลัมน์ ส่องโลกสู่ขุมทรัพย์การลงทุน | bangkokbiznews
ถึงแม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะออกมาสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ ว่าจะยังคงนโยบายผ่อนคลายต่อเนื่อง ทั้งการเข้าซื้อสินทรัพย์ และคงดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบัน (0.00-0.25%) จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายทั้งด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ทั่วถึง การจ้างงานที่กลับมาเท่าช่วงก่อนวิกฤติและเงินเฟ้อกลับมาที่ระดับ 2% ได้อย่างยั่งยืน แม้กระนั้น..ณ เวลานี้เริ่มเห็นนักเศรษฐศาสตร์บางสำนักได้ออกมาคาดการณ์ว่า Fed จะเริ่มถอนสภาพคล่องในปีนี้!
ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว วัดจากดัชนีชี้นำอย่างตัวเลข Composite PMI เดือน พ.ค.ปรับเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดในประวัติการณ์ที่ 68.1 จุด สะท้อนการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ นอกจากนั้นการจ้างงานก็เริ่มทยอยฟื้นตัวดีขึ้น โดยล่าสุดจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานปรับลดลงทำจุดต่ำสุดตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบเงินเฟ้อที่เริ่มทยอยปรับเพิ่มขึ้นจากผลของทั้งฐานต่ำ การขาดแคลนวัตถุดิบ และกำลังซื้อที่เริ่มกลับมา ทำให้นักเศรษฐศาสตร์พร้อมใจกันปรับเพิ่มประมาณการ GDP ของปี 2021 จากที่คาดว่าเติบโต 4% เป็นราว 6.5% เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ดีพร้อมกับเงินเฟ้อที่เร่งขึ้นเช่นนี้ ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณที่ Fed จะเริ่มถอนสภาพคล่อง เช่น
1. บันทึกการประชุม Fed ในเดือน เม.ย. ระบุว่าคณะกรรมการจะเริ่มหารือเรื่องการปรับลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ในการประชุมครั้งถัดๆ ไป
2. Fed เริ่มถอนสภาพคล่องออกจากตลาดการเงินผ่านการทำ Reverse Repo หรือการขายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อดึงเงินออกจากระบบ รวมมูลค่า 4.85 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงสุดในประวัติการณ์
3. Fed ปรับเพิ่มเพดานของวงเงินที่สถาบันการเงินสามารถฝากไว้ที่ธนาคารกลาง จาก 3 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็น 8 หมื่นล้านดอลลาร์
หากมาดูในประเทศอื่นที่มีการเร่งฉีดวัคซีนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีไม่แพ้กัน ทำให้ธนาคารกลางบางแห่งเริ่มส่งสัญญาณถอนสภาพคล่องเพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป เช่น ธนาคารกลางแคนาดา ถือเป็นประเทศแรกที่ได้ประกาศลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ลง 1 ใน 4 ในช่วงปลายเดือน เม.ย. พร้อมส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ ตามมาติดๆ ด้วยธนาคารกลางอังกฤษที่ประกาศในการประชุมเดือน พ.ค. ว่าจะลดปริมาณการเข้าซื้อสินทรัพย์ลงจาก 4.4 พันล้านปอนด์ต่อสัปดาห์เป็น 3.4 พันล้านปอนด์
ย้อนกลับไปในปี 2013 ที่ Fed เริ่มส่งสัญญาณลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ หรือที่เรียกว่า QE Tapering นั้นส่งผลให้ตลาดหุ้นผันผวนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ ดัชนี MSCI Emerging Markets ปรับลดลง -14.6% และจะเห็นได้ว่าประเทศที่ฐานะการเงินอ่อนแอจะปรับลดลงมากที่สุดอย่างกลุ่มละตินอเมริกา -18.9% ส่วนประเทศที่พื้นฐานแข็งแกร่งจะปรับลดลงน้อยกว่า เช่น หุ้นไทย (SET Index) -12.9% หุ้นจีน (CSI 300) -11.6% และหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) -9.0% แต่ตลาดหุ้นสหรัฐนั้นแทบไม่ปรับลดลงเลย (S&P500) -0.6% (ข้อมูลวันที่ 2 พฤษภาคม ถึง 25 มิถุนายน 2013) เนื่องจากยังมีหุ้นกลุ่ม Financials ที่ปรับเพิ่มขึ้นหนุนตลาด ได้อานิสงส์จากบอนด์ยิลด์สหรัฐอายุ 10 ปี ที่ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 100 bps หรือ 1% ในช่วงนั้น
หากพิจารณาถึงการเคลื่อนไหวของตลาดในรอบนี้พบว่าตลาดได้รับรู้ถึงการปรับลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ไปแล้วพอสมควร โดยตั้งแต่ต้นปีบอนด์ยิลด์สหรัฐอายุ 10 ปี ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาแล้วราว 70 bps และด้านตลาดหุ้น Emerging markets นั้นพบว่าค่อนข้าง Underperform ตลาดหุ้นสหรัฐโดย MSCI Emerging markets +6% ส่วนดัชนี S&P500 ปรับเพิ่มขึ้นถึง +12% ตั้งแต่ต้นปี (ข้อมูล ณ 31 พฤษภาคม) ดังนั้นถ้าหากว่า Fed ส่งสัญญาณการลดวงเงินซื้อสินทรัพย์จริงๆ ในการประชุมครั้งถัดๆ ไป เราประเมินว่าตลาดการเงินจะไม่เคลื่อนไหวผันผวนดังเช่นในปี 2013 เนื่องจากตลาดรับรู้ข่าวมาพอควรแล้ว
ในแง่ของกลยุทธ์การลงทุนที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ คือ
1.ลดสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากบอนด์ยิลด์มีทิศทางเป็นขาขึ้นส่งผลลบต่อราคา และผลตอบแทนค่อนข้างน้อยไม่สามารถชดเชยราคาที่ปรับลดลงได้
2.เพิ่มเงินลงทุนในหุ้นกลุ่มการเงิน ที่ได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจฟื้นตัว และบอนด์ยิลด์เป็นขาขึ้น
3.กระจายการลงทุนใน Hedge Fund ที่มีกลยุทธ์การขายชอร์ตดัชนีเพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตโดยรวม และหัวใจสำคัญที่สุดก็คือ การกระจายความเสี่ยงทั้งในแง่ของสินทรัพย์ลงทุนและช่วงเวลาที่เข้าลงทุน
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
โกลด์แมนแซคส์เพิ่มคาดการณ์เฟดเริ่มลดคิวอีเดือนพ.ย. และคาดว่าเฟดจะปรับลดวงเงินลงครั้งละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในการประชุมแต่ละครั้ง
ในวันพุธนี้เราจะได้รับข้อมูลเชิงลึกจากเฟดและดุลการค้าที่เพิ่มขึ้น และนี่คือ 3 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดที่นักลงทุนควรรู้:
เมื่อวานนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด (FED) ได้ประกาศขยายเวลาโครงการกู้เงินฉุกเฉินมูลค่า $2,000,000 ล้านเหรียญออกไปอีก 3 เดือน
ข้อมูลที่เผยแพร่โดยกระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่าในเดือนมกราคมมีการสร้างงานใหม่ 225,000 ตำแหน่งในภาคเกษตรของสหรัฐอเมริกาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 165,000 และการปรับปรุง 147,000 เดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น
XM
Pepperstone
VT Markets
FxPro
Tickmill
TMGM
XM
Pepperstone
VT Markets
FxPro
Tickmill
TMGM
XM
Pepperstone
VT Markets
FxPro
Tickmill
TMGM
XM
Pepperstone
VT Markets
FxPro
Tickmill
TMGM