简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เคยได้ยินอาถรรพ์วิกฤตเศรษฐกิจโลกทุก ๆ 10 ปีกันไหม? ว่ากันว่า เศรษฐกิจโลกมักจะสูงขึ้นทุกปี แต่ทุก ๆ 10 ปี ก็มักจะมีเหตุการณ์ร้าย ๆ มาให้โลกต้องเผชิญจนเศรษฐกิจตกต่ำทุกที เหตุการณ์เหล่านี้เป็นอย่างไร เป็นแค่นี้บังเอิญหรืออาถรรพ์จริง ๆ ติดตามได้ในบทความนี้
เคยได้ยินอาถรรพ์วิกฤตเศรษฐกิจโลกทุก ๆ 10 ปีกันไหม? ว่ากันว่า เศรษฐกิจโลกมักจะสูงขึ้นทุกปี แต่ทุก ๆ 10 ปี ก็มักจะมีเหตุการณ์ร้าย ๆ มาให้โลกต้องเผชิญจนเศรษฐกิจตกต่ำทุกที เหตุการณ์เหล่านี้เป็นอย่างไร เป็นแค่นี้บังเอิญหรืออาถรรพ์จริง ๆ ติดตามได้ในบทความนี้ Covid-19 ไม่ใช่วิกฤตที่หนักหน่วงครั้งแรกของโลก เคยงานวิจัยออกมาว่าในทุก ๆ 10 ปี อย่างน้อยโลกเราจะมีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นเสมอ เพียงแค่บางครั้งเราก็รับรู้ได้ แต่บางครั้งเราก็ไม่ได้รู้ตัวถึงวิกฤตมากนัก ในระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมาโลกเราเกิดวิกฤตใหญ่ ๆ ไปแล้วหลายครั้งด้วยกัน
วิกฤตหนี้ยุค 1980 -1990
ในยุค 1970-1980 ไม่มีอุตสาหกรรมใดที่รุ่งเรืองเท่าน้ำมัน เนื่องจากราคาโภคภัณฑ์อยู่ในโซนสูง โดยกลุ่มประเทศที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ กลุ่มประเทศที่ส่งออกน้ำมันหรือโอเปก โดยรายได้จากการขายน้ำมันดิบของโอเปกในรูปของดอลลาร์ หรือ PetroDollar ภายใต้บรรยากาศอัตราดอกเบี้ยต่ำ ถูกนำไปลงทุนในโปรเจคต์โครงสร้างพื้นฐานที่มีผลตอบแทนสูง
เมื่อแบงก์ในละตินอเมริกาเริ่มปล่อยกู้ให้กับโปรเจคต์ที่เป็นฟองสบู่ ความเลวร้ายของเงินลงทุนในรูป PetroDollar ก็เริ่มมาเยือน มีการเบี้ยวหนี้กับกลุ่มประเทศส่งออกน้ำมัน มากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็น วิกฤตหนี้ ยุค 1980s ความเชื่อที่ผิด ๆ ในช่วงนั้น คือ เมื่อราคาโภคภัณฑ์อยู่ในโซนสูง อัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินจากการขายน้ำมันดิบถูกหมุนเวียนกลับมาสร้าง โปรเจคต์โครงสร้างพื้นฐานที่มีผลตอบแทนสูง และการปล่อยกู้ผ่านสินเชื่อธนาคารถือว่าปลอดภัยเนื่องจากมีแรงจูงใจในการตรวจสอบข้อมูล จึงไม่น่าเกิดวิกฤต
วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1990 – 2000
ยุครุ่งเรื่องของประเทศไทยอย่างแท้จริงเศรษฐกิจโตแบบก้าวกระโดด แบงค์อยากจะปล่อยเงินให้คนกู้เพื่อไปลงทุน แต่สุดท้ายความฝันก็จะกลายเป็นเสือตัวที่ 5 แห่งเอเชียก็ต้องดับลงไปเป็นเรื่องที่ชาวไทยแทบจะทุกคนรู้จักกันดีเพราะมันได้ทำลายเศรษฐกิจและผู้คนไปมากมายจนถึงปัจจุบันประเทศไทยก็ไม่เคยกลับไปยืนถึงจุดนั่นได้อีกเลย จอร์จ โซรอส ใช้ประโยชน์จากการที่คาดเดาว่าแบงค์ชาติมีเงินสำรองระหว่างประเทศจำกัดจึงทำการโจมตีค่าเงินบาททำให้ประเทศไทยต้องเปิดเสรีในการแลกเปลี่ยนเงินตรา จากที่เคยกำหนดค่าตายตัวที่ 1 ดอลลาร์แลกได้ 25 บาท ยิ่งไปกว่านั้นช่วงเวลานั้นแบงค์ยังเปิดให้กู้เงินในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกมาก สุดท้ายแล้วเมื่อเงินบาทถูกลอยตัว สถาบันการเงิน ธุรกิจต่าง ๆ ที่รับภาระหนี้สินไม่ไหวก็ต้องปิดตัวลงไป ล้มหายตายจากกันไป
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 2000 – 2010
ช่วงนี้เป็นช่วงที่เศรษฐกิจบูมมาก สถานบันการเงินต่าง ๆ มีการปล่อยกู้ที่ง่ายมาก แม้คนที่เครดิตน้อยก็ยังสามารถกู้ได้ คนเลยแห่กันไปกู้ โดยสินทรัพย์ที่คนนิยมกู้ไปซื้อกันมากที่สุดก็คือบ้าน แต่สิ่งที่เลวร้ายคือเมื่อกู้แล้วไม่มีเงินจ่าย คือในตลาดการเงินหนี้ถูกก่อขึ้นมาเยอะมาก มันเป็นภาวะฟองสบู่ สุดท้ายเมื่อคนเริ่มเบี้ยวหนี้ฟองสบู่ก็แตก เป็นสาเหตุในธนาคารล้ม ซึ่งพอธนาคารล้ม เศรษฐกิจในภาคอื่น ๆ ก็ล้มต่อ ๆ กันมาเป็นเหมือนโดมิโน
วิกฤตหนี้ ปี 2010 – 2020
หลังจาก 2010 เราก็ยังไม่ค่อยเห็นวิกฤตที่เป็นจริงเป็นจัง แต่พอปลายปี 2019 โลกกลับต้องพบวิกฤตครั้งใหญ่ ที่มาในรูปแบบโรคระบาดอย่าง Covid-19 มาแบบไม่ทันตั้งตัว จนไม่อาจรับมือได้ ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจไปทั่วโลก Covid-19 ทำให้ธุรกิจในภาคต่าง ๆ สูญเสียรายได้ ทั่วโลกก่อหนี้ขึ้นมามากมายมหาศาล รายได้น้อยลงแต่จำนวนหนี้เท่าเดิมจะเดินต่อไปข้างหน้ายังไง ก็คงต้องรอว่าเมื่อไหร่จะมีธุรกิจไหนล้ม ซึ่งพอมีล้มสักที่ก็เป็นสัญญาญวิกฤต คนจะกลัว และสุดท้ายตลาดก็จะพัง
ทุก ๆ 10 ปี เราต้องเผชิญกับวิกฤตอะไรสักอย่างจนกลายเป็นวัฏจักรที่หนีไม่พ้น จริง ๆ จะ 10 ปี หรือ 100 ปีครั้ง ก็ไม่อาจมีใครคาดการณ์ได้ 100% หรอก สิ่งที่เราต้องตระหนักคือ อะไร ๆ ก็ไม่แน่นอน อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ ยิ่งในตลาด Forex ที่เราเดิมพันกันด้วยค่าเงิน เกิดวิกฤตครั้งนึงก็ย่อมส่งผลไปถึงค่าเงินอยู่แล้ว ข้อดีของวงการนี้คือเราสามารถทำกำไรได้สองทาง ไม่ว่าค่าเงินจะขึ้นจะลง หากเราติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด คาดการณ์ตลาดได้อย่างแม่นยำ ยังไงเราก็ทำกำไรในตลาดนี้ได้แน่นอน
ตอนนี้คุณสามารถติดตามข่าวสารเศรษฐกิจโลก เช็คปฎิทินข่าวเศรษฐกิจ อ่านบทความแนวโน้มตลาด Forex พร้อมรับเทคนิค กลยุทธ์ การเทรด Forex ที่เราคัดสรรค์มาให้ทุกวันได้ฟรี ที่แอป WikiFX โหลดเลย!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
EC Markets
FP Markets
FOREX.com
FxPro
Neex
VT Markets
EC Markets
FP Markets
FOREX.com
FxPro
Neex
VT Markets
EC Markets
FP Markets
FOREX.com
FxPro
Neex
VT Markets
EC Markets
FP Markets
FOREX.com
FxPro
Neex
VT Markets