简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ขณะนี้รัฐบาลมาเลเซียกำลังเจอศึกหลายด้านทั้งการพยายามสกัดกั้นการระบาดของโรคโควิด-19 ,การเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนในประเทศให้ได้มากที่สุดเพื่อประเมินสถานการณ์และตัดสินใจผ่อนคลายมาตรการควบคุม และการควบคุมหนี้สาธารณะของประเทศไม่ให้เพิ่มมากไปกว่านี้
วานนี้ (23 มิ.ย.) ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ในปีนี้ลงสู่ระดับ 4.5% จากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ซึ่งอยู่ที่ระดับ 6% โดยคาดการณ์ว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลาย และมาตรการควบคุมการเดินทางเพื่อสกัดการแพร่ระบาด จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะเวลาอันใกล้นี้
ธนาคารโลกระบุ ในรายงานว่า การปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจในครั้งนี้ เป็นผลมาจากการควบคุมโควิด-19 และการฉีดวัคซีนทั่วประเทศที่ล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้
“การขยายตัวของเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความรุนแรงของข้อกำจัดในการเดินทาง การควบคุมโรคระบาด และอัตราการฉีดวัคซีน” รายงานระบุ
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมาเลเซีย เป็นผลมาจากมาตรการควบคุมการเดินทาง ประกอบกับพฤติกรรมของประชาชนที่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ขณะที่ค่าจ้างมีแนวโน้มปรับตัวลง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ล้วนส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการใช้จ่ายภาคครัวเรือน แต่ เศรษฐกิจยังคงได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ทั่วโลกที่ฟื้นตัวขึ้น ส่วนภาคการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว
อย่างไรก็ตาม รายงานระบุว่า มีแนวโน้มที่อุปสงค์โลกจะฟื้นตัวขึ้นในอนาคต เนื่องจากประเทศต่างๆ มีความคืบหน้าในโครงการฉีดวัคซีน และมีการเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง
“การส่งออกสินค้าและบริการของมาเลเซียมีแนวโน้มขยายตัว 13.1% ในปี 2564 เทียบกับปี 2563 ที่หดตัวลง 8.9% โดยคาดว่าการส่งออกในปี 2564 จะได้แรงหนุนจากอุปสงค์ทั่วโลกที่ปรับตัวขึ้น”รายงานของธนาคารโลก ระบุ
ด้านสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของมาเลเซียในระยะยาวไว้ที่ระดับ A- และระยะสั้นที่ระดับ A-2 พร้อมทั้งคงอันดับความน่าเชื่อถือสกุลเงินริงกิตในระยาวไว้ที่ระดับ A และระยะสั้นไว้ที่ระดับ A-1 ด้วย
ขณะที่แนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือในระยะยาวยังคงอยู่ในเชิงลบ พร้อมระบุว่า แนวโน้มเชิงลบที่ว่านี้สะท้อนให้เห็นการคาดการณ์ว่า แนวโน้มการฟื้นตัวทางการคลังและเศรษฐกิจของมาเลเซียยังคงมีความเสี่ยงอยู่มากในช่วง 12-14 เดือนข้างหน้า ผลพวงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ
“การคงอันดับเครดิตมาเลเซียสะท้อนให้เห็นว่ามาเลเซียยังคงมีสถานะภายนอกที่แข็งแกร่ง, นโยบายการเงินมีความยืดหยุ่น ทั้งยังยังมีประวัติสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน แต่การที่รัฐบาลมีหนี้สินเพิ่มขึ้นและนโยบายการคลังที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นปัจจัยบั่นทอนความแข็งแกร่งเหล่านี้”เอสแอนด์พี ระบุ
เอสแอนด์พี ยังระบุด้วยว่า แนวโน้มเชิงลบดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยกดดันภาวะทางการคลังและหนี้สินของมาเลเซีย ซึ่งย่ำแย่ลงไปอีกจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในมาเลเซียที่เลวร้ายลงในปีนี้
นอกจากนี้ เอสแอนด์พี ยังปรับลดตัวเลขคาดการณ์จีดีพีที่แท้จริงของมาเลเซียในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 6.2% เหลือเพียง 4.1% เมื่อพิจารณาจากผลกระทบที่เกิดจากการคุมเข้มมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาล
ในส่วนของการฉีดวัคซีนให้ประชาชนนั้น “ไครี จามาลุดดิน” รัฐมนตรีวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมาเลเซีย เปิดเผยว่า มาเลเซียตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชากรในประเทศราว 60% ภายในสิ้นเดือนก.ย.นี้
“มาเลเซียเร่งอัตราการฉีดวัคซีนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และได้ฉีดวัคซีนโดสแรกให้กับประชาชนทั่วประเทศแล้ว 4.08 ล้านราย หรือ 12.5% ของประชากร”จามาลุดดิน กล่าว
เมื่อวันอังคาร (22 มิ.ย.) มาเลเซียได้ฉีดวัคซีนให้ประชาชนจำนวน 250,529 โดส ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่วันละ 150,000 โดสในเดือนมิ.ย.
จามาลุดดิน เสริมว่า รัฐบาลมาเลเซียมั่นใจว่าจะสามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 11 ล้านโดสได้ภายในสิ้นเดือนก.ค., 13 ล้านโดสภายในสิ้นเดือนส.ค. และอีก 8 ล้านโดสภายในสิ้นเดือนก.ย.
ทั้งนี้ ตัวเลขการฉีดวัคซีนเป็น 1 ใน 3 ตัวชี้วัดที่รัฐบาลกำลังเฝ้าติดตาม เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 28 มิ.ย.นี้
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ผอ.องค์การอนามัยโลก ยอมรับ ตอนนี้โลกกำลังจะล้มเหลว ในการรับมือโรคโควิด-19 กำลังระบาดหนัก พร้อมตำหนิกลุ่มประเทศร่ำรวย กักตุนไม่ยอมแบ่งปันวัคซีนให้กลุ่มประเทศยากจน
เกือบหนึ่งปีครึ่งที่โควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก หากตั้งคำถามว่าที่ไหนดีที่สุดและแย่ที่สุดในยุคโควิด ปัจจัยเดียวที่จะนิยามคำตอบได้คือ “การใช้ชีวิตเป็นปกติ”
รอยเตอร์สเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิดอย่างต่อเนื่องในโรงงาน ๆ ของไทย ทำให้เกิดความกังวลว่าภาคการส่งออกอาจได้รับผลกระทบอย่างหนัก และอาจบ่อนทำลายเศรษฐกิจในขณะที่กำลังพยายามดิ้นรนเพื่อฟื้นตัวจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
กลายเป็นข่าวฮือฮาเรื่อง "โควิดสายพันธุ์ไทย" โควิดสายพันธุ์ใหม่ เพราะเป็นสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในไทย แต่ทำไมถึงไปโผล่ในอังกฤษ