简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:หากย้อนไปวันนี้เมื่อ 24 ปีที่แล้ว 2 ก.ค. 2540 มีข่าวใหญ่ที่สั่นสะเทือนประวัติศาสตร์ไทย วันที่ “ฟองสบู่แตก” หลังการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย “วันที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากจดจำ”
หากย้อนไปวันนี้เมื่อ 24 ปีที่แล้ว 2 ก.ค. 2540 มีข่าวใหญ่ที่สั่นสะเทือนประวัติศาสตร์ไทย วันที่ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจที่อยู่บนฐานที่สั่นคลอนได้นำประเทศไทยเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในปี วันที่ “ฟองสบู่แตก” หลังการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย “วันที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากจดจำ”
ไทยเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในช่วงปี 10 ปีก่อนเกิดต้มยำกุ้ง เหตุผลหลัก ๆ เป็นเพราะการย้ายฐานผลิตของบริษัทใหญ่ ๆ มาในประเทศไทย และการส่งออกสินค้าสร้างรายได้เข้าประเทศ เมื่อเศรษฐกิจเติบโต ประเทศร่ำรวยขึ้น รัฐบาลจึงมีแนวคิดที่อยากจะให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาค ในพ.ศ.2533 จึงเกิดแนวคิด “เสรีทางการเงิน” เพื่อให้การเคลื่อนย้ายเงินตราเป็นไปได้อย่างเสรี แทนที่จะจำกัดแบบเดิม เมื่อเศรษฐกิจไทยดี ใคร ๆ ก็อยากได้เงินบาท เงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้น ซึ่งถ้าหากแข็งไปมาก ๆ ถึงขั้น 15-20 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ สินค้าไทยก็จะแพง ส่งออกยาก รัฐจึงแก้ปัญหานี้ด้วยนโยบายตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไปไว้ที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์
ประเทศไทยพยายามต่อสู้กับกลไกเหล่านี้ด้วยการเอาเงินสำรองระหว่างประเทศมาซื้อเงินดอลลาร์หรือเงินบาทกลับในปริมาณเท่า ๆ กัน เพื่อให้ความผันผวนไม่มากจนเกินไปนัก ในทางกลับกัน หากมีคนมาแลกเงินบาทเป็นดอลลาร์สหรัฐมาก ๆ ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต้องเอาเงินดอลลาร์สหรัฐไปแลก แลกไปเรื่อย ๆ จนต้องเอาเงินสำรองระหว่างประเทศมาให้แลก
ต่างชาติกลุ่ม Hedge Fund เริ่มรู้แล้วว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตแบบเปราะบาง จึงเข้ามาโจมตีค่าเงิน เพื่อหวังทำกำไรมหาศาลจากเงินบาทลอยตัว เกิดเป็นตำนานของจอร์จ โซรอส นักทำลายค่าเงิน ที่เห็นช่องทางทำกำไรจากการที่เงินบาทไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง จึงได้โจมตีค่าเงินบาทด้วยการขายชอร์ตเงินบาท ในขณะนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยทำการป้องกันค่าเงินบาทด้วยการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปซื้อเงินบาทที่โซรอสขาย จนกระทั่งมูลค่า ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 1997 เพิ่มขึ้นเป็น 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 40% ของเงินทุนสำรอง สุดท้ายทุนสำรองระหว่างประเทศแทบไม่เหลือ และค่าเงินบาทอ่อนลงไปมาก
หลังจากที่พยายามยื้อมาเกือบครึ่งปี จากที่มีโจมตีค่าเงินบาทมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งสู้ไม่ไหวในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จากเดิมที่ตรึงไว้ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลได้ตัดเชือกที่ตรึงเอาไว้และปล่อยให้เงินบาทลอยตัว จนทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวสูงสุดถึงเกือบ 52 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คนที่กู้เงินดอลลาร์มา 1 ล้านเหรียญ จากที่เคยมีหนี้เป็นเงินไทยเพียง 25 ล้านบาท ตื่นมาอีกทีหนี้งอกเพิ่มขึ้นมากลายเป็น 52 ล้านบาท และตอนนั้นประเทศไทยไม่ได้กู้เงินมาเพียงแค่ 1 ล้านเหรียญ แต่ทั้งประเทศมีการกู้เงินเป็นสกุลต่างประเทศประมาณ 70,000 ล้านเหรียญ ธุรกิจน้อยใหญ่จึงล้มหายตายจากไปมาก หลายคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัวจนถึงขั้นสิ้นชีวิตเพราะไม่มีเงินใช้หนี้เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี
ต้มยำกุ้ง ทำให้สัดส่วนระหว่างหนี้ต่างประเทศกับ GDP เพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น ประเทศในอาเซียนเพิ่มจาก100% กลายเป็น 180% ในช่วงที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติการณ์ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เข้ามารักษาเสถียรภาพสกุลเงินของ ประเทศอินโดนีเซีย ไทย และเกาหลีใต้ โดยการลงทุน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะ 3 ประเทศดังกล่าวได้รับผลกระทบมากที่สุด
ทุกวันนี้ถือได้ว่าเราหลุดพ้นจากวิกฤตแล้ว แต่ก็ยังหลงเหลือซากตึกระฟ้าที่ยังสร้างไม่เสร็จไว้เป็นเครื่องเตือนใจให้รำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น ต้มยำกุ้งเป็นฝันร้ายของคนไทยหลายคน มันหนักหนาสาหัส มันทำลายความฝัน ความหวัง และชีวิต ทั้งนี้ แม้ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยปี 2541 ติดลบ 7.6% แต่ใช้เวลาไม่นานในการฟื้นตัว ขณะที่ปัจจุบันเราและเพื่อนร่วมโลกก็เจอวิกฤตใหญ่อีกครั้งคือ โควิด-19 ซึ่งครั้งนี้รุนแรงกว่าต้มยำกุ้งด้วยซ้ำ เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาภาคการส่งออกและท่องเที่ยวในสัดส่วนสูง ขณะที่อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศเวลานี้ฟุบลงพร้อม ๆ กันจากมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งอาจใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งซะอีก
โลกนี้ไม่มีความแน่นอนจริง ๆ วันดีคืนดีก็มีเหตุการณ์ที่มาพรากทรัพย์สิน เงินทอง บ้าน รถ และพรากความสุขไปจากเรา อนาคตไม่รู้ว่าต้องเจอวิกฤตใดอีกบ้าง จะร้ายแรงกว่าครั้งก่อนหรือไม่ ไม่มีทางรู้ ยิ่งในตลาด Forex ที่เราเดิมพันกันด้วยค่าเงิน เกิดวิกฤตครั้งไหน ๆ ก็ย่อมส่งผลไปถึงค่าเงินอยู่แล้ว แต่ข้อดีของวงการนี้คือเราสามารถทำกำไรได้สองทาง ไม่ว่าค่าเงินจะขึ้นจะลง หากเราติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด คาดการณ์ตลาดได้อย่างแม่นยำ ยังไงเราก็ทำกำไรในตลาดนี้ได้แน่นอน
ตอนนี้คุณสามารถติดตามข่าวสารเศรษฐกิจโลก เช็คปฎิทินข่าวเศรษฐกิจ อ่านบทความแนวโน้มตลาด Forex พร้อมรับเทคนิค กลยุทธ์ การเทรด Forex ที่เราคัดสรรค์มาให้ทุกวันได้ฟรี ที่แอป WikiFX โหลดเลย!
อย่าตกเป็นเหยื่อโบรกเกอร์ Forex เถื่อน! เพราะโบรกเกอร์ Forex เถื่อนชอบโกงเงินนักลงทุน คุณต้องดาวน์โหลด WikiFX เพื่อตรวจสอบว่าโบรกเกอร์ Forex ใดควรเทรดด้วย ไม่งั้นจะเสียใจทีหลัง ดาวน์โหลดฟรี!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FxPro
OANDA
XM
IC Markets Global
Vantage
Tickmill
FxPro
OANDA
XM
IC Markets Global
Vantage
Tickmill
FxPro
OANDA
XM
IC Markets Global
Vantage
Tickmill
FxPro
OANDA
XM
IC Markets Global
Vantage
Tickmill