简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โดย Barani Krishnan “เราเป็นเจ้าแห่งสินค้าของเราเอง” ชีค ซาคี ยามานี แห่งซาอุดีอาระเ
โดย Barani Krishnan
“เราเป็นเจ้าแห่งสินค้าของเราเอง” ชีค ซาคี ยามานี แห่งซาอุดีอาระเบียเคยประกาศหลังจากความขัดแย้งระหว่างอาหรับ-อิสราเอลในปี 1973 ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการคว่ำบาตรการส่งออก น้ำมัน
ในตอนนั้น ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นสี่เท่า ทำให้เศรษฐกิจตะวันตกเข้าสู่ภาวะถดถอยและเกิดภาวะเงินเฟ้อตามมา “ถึงเวลาของเราแล้ว” รัฐมนตรีน้ำมันซาอุดิอาระเบียกล่าวอย่างมีชัย โดยอ้างถึงจุดสูงสุดของอำนาจของ OPEC
หลังจากนั้น ยามานีก็เริ่มจับมือกับสหรัฐอเมริกา
เขากลายเป็นตัวกลางกำหนดราคา โดยมองว่าราคาที่สูงจะทำลายอุปสงค์ในท้ายที่สุด และสนับสนุนการผลิตจากการสำรวจใหม่ ๆ ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น แถบทะเลเหนือของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นแหล่งอ้างอิงของน้ำมันเบรนท์ในปัจจุบัน เมื่อเกิดการปฏิวัติของอิหร่าน ยามานีได้ออก “กฤษฎีกา” โดยยึดราคาน้ำมันของซาอุดิอาระเบียไว้อย่างเป็นทางการ
ตอนนี้นักลงทุนกำลังสงสัยว่า ซาอุดิอาระเบียจะกลับคืนสู่สภาวะดังกล่าวหรือไม่ เพราะในการประชุม OPEC+ เดือนนี้ ดูเหมือนว่าซาอุดิอาระเบียจะแสดงจุดยืนดังกล่าว
เจ้าชายอับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบีย กล่าวก่อนการประชุมในวันที่ 2 กรกฎาคมว่า เรามีบทบาทในการทำให้เชื่องและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ โดยทำให้แน่ใจว่าราคาน้ำมันจะต้องไม่สูงเกินไป
เขาหมายความว่า หลังจากราคาน้ำมันพุ่งขึ้นมากกว่า 50% ในปีนี้ มันถึงเวลาแล้วที่จะต้องเพิ่มการผลิต แทนที่จะลดการผลิตลงสองเท่า แม้จะมีการปรับขึ้น 400,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงเริ่มต้นของเดือนสิงหาคม แต่ก็ยังคงลดการผลิตประมาณ 5.5 ล้านบาร์เรลต่อวันออกจากตลาด
ทว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รู้สึกผิดหวังกับการที่ซาอุดิอาระเบียปฏิเสธที่จะยกระดับการผลิตของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ข้อตกลงจึงดูเหมือนถึงวาระสิ้นสุดลง
แหล่งข่าววงในเปิดเผยว่า โควต้าการส่งออกน้ำมันของเดือนกรกฎาคมจะมีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคมด้วย
ดังนั้น หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบสหรัฐแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ 77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลด้วยเหตุผลที่ว่าตลาดกำลังตึงตัว ราคาก็ร่วงลงเกือบ 6% ภายในสองวัน เนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อาจไม่เคารพข้อจำกัดอีกต่อไปและอาจทำให้ประเทศสมาชิกอื่น ๆ เพิ่มการผลิตตามใจชอบเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในอีกสองวันถัดมา ราคาก็ฟื้นตัวสู่ระดับเดิม ทำให้เมื่อสิ้นสุดรายสัปดาห์ ราคาน้ำมันดิบสหรัฐจึงลดลงเพียง 0.6% และน้ำมันเบรนท์ลดลงเพียง 0.8% ซึ่งเป็นการลดลงเล็กน้อยเมื่อพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
ตามที่ เอ็ด โมยา หัวหน้าฝ่ายวิจัยออนไลน์ของ OANDA กล่าวว่า ราคาน้ำมันที่ลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเพียงสัญญาณเล็กน้อยที่เกิดขึ้นหลังจากเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 6 สัปดาห์ และไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเลย แต่ปัญหาภายในกลุ่ม OPEC+ ยังเป็นสิ่งคาใจนักลงทุนอยู่
สหรัฐจึงออกมาแสดงท่าทีว่า ต้องการเห็นปริมาณน้ำมันในตลาดเพิ่มขึ้นผ่านข้อตกลงของ OPEC+ โดยแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นต่อผู้บริโภคชาวอเมริกันและส่งสัญญาณว่ากำลังเกิดภาวะเงินเฟ้อจากน้ำมัน เนื่องจากราคา น้ำมันเบนซิน ในปั๊มพุ่งแตะระดับใหม่ในรอบเจ็ดปี สูงกว่า 3 ดอลลาร์ต่อแกลลอน
เหตุผลหนึ่งที่ทำให้น้ำมันดิบขึ้นในปีนี้ นอกเหนือจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คือการที่ฝ่ายบริหารของไบเดนให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียน ส่งผลให้มีการจำกัดการขุดเจาะน้ำมัน
นักลงทุนบางส่วนเชื่อว่า ทั้งซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะไม่ปล่อยให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นนานเกินไป โดยกล่าวว่า ในทางการเมืองยังมีอีกหลายประเทศที่ร่วมเป็นสมาชิก ซึ่งต่างก็มีสายสัมพันธ์ทางครอบครัว ชนเผ่า และธุรกิจ
บทสรุปราคาน้ำมัน
น้ำมันดิบ WTI ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับน้ำมันของสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายในวันศุกร์เพิ่มขึ้น 2.2% ที่ 74.56 ดอลลาร์ โดยแตะระดับสูงสุดในปี 2014 ที่ 76.98 ดอลลาร์ในช่วงต้นสัปดาห์ และลดลง 0.6% สำหรับสัปดาห์ดังกล่าว
น้ำมันเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานน้ำมันทั่วโลก อยู่ที่ 75.55 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1.43 ดอลลาร์ หรือ 1.9% ในวันศุกร์ โดยซื้อขายช่วงก่อนสุดสัปดาห์ที่ 75.59 ดอลลาร์ และลดลง 0.8% สำหรับสัปดาห์ดังกล่าว
ปฏิทินตลาดพลังงานสัปดาห์นี้
วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม
ข้อมูลน้ำมันคงคลังจาก Genscape
วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม
รายงานประจำสัปดาห์เกี่ยวกับสต็อกน้ำมันจาก สถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน
วันพุธที่ 14 กรกฎาคม
รายงาน EIA ประจำสัปดาห์เกี่ยวกับ น้ำมันดิบคงคลัง
รายงาน EIA ประจำสัปดาห์เกี่ยวกับ น้ำมันเบนซินคงคลัง
รายงาน EIA ประจำสัปดาห์เกี่ยวกับ น้ำมันกลั่นคงคลัง
Baker Hughes weekly survey on U.S. oil rigs
วันพฤหัสบดี , 15 กรกฎาคม
รายงาน EIA ประจำสัปดาห์เกี่ยวกับ {{ecl-386||การจัดเก็บก๊าซธรรมชาติ}
วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม
การสำรวจรายสัปดาห์ของ Baker Hughes เกี่ยวกับ จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐ
บทสรุปราคาทองคำ
ราคาทองคำเพิ่มขึ้นติดต่อกันสามสัปดาห์ กลับสู่แนวรับสำคัญที่ 1,800 ดอลลาร์ แต่มุมองของนักลงทุนยังไม่แน่นอนว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าใดกว่าที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะกระตุ้นให้ราคาเพิ่มขึ้นอีก
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำ ในตลาด Comex ปิดที่ 1,810.60 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 10.40 ดอลลาร์ หรือ 1.5% ในวันศุกร์ โดยเพิ่มขึ้น 40 ดอลลาร์หรือ 2.3% นับตั้งแต่ปิดตลาดรายสัปดาห์ติดลบครั้งล่าสุดเมื่อ 4 สัปดาห์ก่อน ซึ่งร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดที่ 1,761.20 ดอลลาร์
ราคาทองคำพุ่งขึ้นในวันศุกร์โดยได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลงและการฟื้นตัวของตลาดพันธบัตรที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนลดลง
“ทองคำกำลังมีเสถียรภาพทางจิตวิทยาเหนือระดับ 1,800 ดอลลาร์ และอาจฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งมากขึ้นในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความแน่นอนว่าผลกระทบที่แนวโน้มเงินเฟ้อในปัจจุบันมีต่อทองคำจะเป็นอย่างไร นักลงทุนจะรอรายงานเงินเฟ้อในวันอังคารอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูประกาศผลประกอบการ” เอ็ด โมยา กล่าวโดยอ้างถึงการอัปเดตในเดือนมิถุนายนสำหรับ ดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีที่ 5% ในเดือนมิถุนายน
ทองคำอยู่ในสภาวะที่ยากลำบากในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว หลังจากพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เหนือ 2,000 ดอลลาร์ และผันผวนเป็นเวลาสองสามเดือนก่อนที่จะสะดุดล้มลงอย่างตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพัฒนาวัคซีนโควิดครั้งแรก และแตะจุดต่ำสุดในรอบ 11 เดือนที่ต่ำกว่า 1,674 ดอลลาร์ ก่อนที่จะกลับมาที่ราคา 1,905 ดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคมปีนี้
ทางด้านเฟดได้ระบุว่า คาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสองครั้งภายในปี 2023 โดยอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วง 0.5% ถึง 0.75% จากระดับต่ำสุดในปัจจุบันที่ 0 ถึง 0.25% แต่ยังไม่ได้กำหนดตารางเวลาสำหรับการลดการซื้อพันธบัตรมูลค่า 120,000 ล้านดอลลาร์และสินทรัพย์อื่น ๆ ที่ซื้อตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
สิ่งที่ขาดหายไปในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ คือ สถานะของทองคำอันเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันความเสี่ยงด้านภาวะเงินเฟ้อ แม้รัฐบาลจะใช้เงินไปหลายล้านล้านดอลลาร์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด
ขณะที่มาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดชอบใช้เป็นประจำ ซึ่งก็คือ ดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบหลายปีที่ 3.4% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาถึงเดือนพฤษภาคม
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: Barani Krishnan ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในสินค้าโภคภัณฑ์และหลักทรัพย์ที่เขาเขียนถึง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FP Markets
EC Markets
FOREX.com
XM
HFM
Vantage
FP Markets
EC Markets
FOREX.com
XM
HFM
Vantage
FP Markets
EC Markets
FOREX.com
XM
HFM
Vantage
FP Markets
EC Markets
FOREX.com
XM
HFM
Vantage