简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:อีกหนึ่งประเทศจากอีกฟากโลกอย่าง ‘เลบานอน’ ก็กำลังเผชิญกับวิกฤตเช่นกัน แต่ร้ายแรงกว่าเราหลายเท่า ธนาคารโลกกล่าวว่า วิกฤตการณ์ทางการเงินนี้อาจจัดอยู่ใน Top 3 ของโลก
ในขณะที่ประเทศเรา กำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย อีกหนึ่งประเทศจากอีกฟากโลกอย่าง ‘เลบานอน’ ก็กำลังเผชิญกับวิกฤตเช่นกัน แต่ร้ายแรงกว่าเราหลายเท่า ธนาคารโลกกล่าวว่า วิกฤตการณ์ทางการเงินนี้อาจจัดอยู่ใน Top 3 ของโลกที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1800 ค่าเงินหายไปมากกว่า 90% ของมูลค่าและการว่างงานพุ่งสูงขึ้น
การล่มสลายทางการเงินของเลบานอนเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2019 โดยเศรษฐกิจเลบานอนย่ำแย่อยู่แล้วตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Debt-to-GDP) สูงที่สุดเป็นอันดับสามของโลก อัตราการว่างงานอยู่ที่ 25% และเกือบหนึ่งในสามของประชากรมีรายได้ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน (Poverty Line)ขณะที่ธนาคารกลางเลบานอนออกนโยบาย ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าไม่ต่างจากระบบธุรกิจแบบ ‘แชร์ลูกโซ่ที่’
ธนาคารกลางใช้วิธีกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์โดยให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ เพื่อนำไปชำระหนี้และช่วยทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินปอนด์เลบานอนและดอลลาร์สหรัฐฯ คงที่ ขณะเดียวกัน ผู้คนก็ไม่พอใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลบริการสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ ได้ เช่น เกิดไฟฟ้าดับรายวัน ไม่มีน้ำสะอาดดื่ม เข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างจำกัด และสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการอยู่ถือว่าแย่ที่สุดประเทศหนึ่ง
เวิลด์แบงก์ระบุว่า ตัวเลขเศรษฐกิจที่หดตัวมากขนาดนี้ ปกติจะเกิดเมื่อมีสถานการณ์ความขัดแย้ง หรือสงคราม แต่สำหรับประเทศเลบานอน เป็น “ความผิดพลาดในการบริหารจัดการ” ของรัฐบาล ส่งผลงบประมาณขาดดุลสูงมาก ทำให้ประเทศมีหนี้สาธารณะมหาศาล รวมกับนโยบายทางการเงินที่ไม่ยั่งยืนทำให้ธนาคารล้มละลาย และค่าเงินร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
“ฮัสซัน เดียบ” อดีตนายกฯรักษาการเลบานอน ระบุว่า สาเหตุที่เลบานอนเกิดปัญหามากขนาดนี้ มาจาก “ระบบคอร์รัปชั่น” ที่ฝังลึกในทุกภาคส่วนของรัฐบาล ซึ่งปัญหาเหล่านี้ยิ่งใหญ่มากเกินกว่าที่รัฐบาลจะสามารถเผชิญหน้า หรือกำจัดออกไปได้ -ขณะที่หลายฝ่ายโทษชนชั้นปกครองที่เอาแต่ตักตวงขณะอยู่ในอำนาจมาหลายปี ไม่สามารถทำการปฏิรูปครั้งใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาในประเทศได้
ในช่วงต้นเดือน ต.ค. 2019 ปัญหาการขาดแคลนสกุลเงินตราต่างประเทศทำให้เงินปอนด์เลบานอนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อผู้นำเข้าข้าวสาลีและเชื้อเพลิงบังคับให้ผู้ซื้อต้องชำระหนี้ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ สหภาพแรงงานต่าง ๆ ก็พากันออกมาประท้วง พอมาถึงช่วงกลางเดือนเดือน ต.ค. รัฐบาลก็เสนอเก็บภาษีรูปแบบใหม่กับผลิตภัณฑ์ยาสูบ น้ำมัน และการโทรศัพท์ผ่านแอปพลิเคชันอย่างว็อตส์แอพพ์ (WhatsApp) แต่ก็โดนต่อต้านจนต้องล้มเลิกไป ชาวเลบานอนหลายหมื่นคนออกประท้วงตามท้องถนน ซึ่งเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตน์ ทำให้นายกรัฐมนตรีซาอัด อัล ฮาริรี ที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตก และรัฐบาลของเขาต้องลาออก
26 กรกฎาคม 2021 เลบานอนเพิ่งได้ “นายกรัฐมนตรีคนใหม่” หลังความขัดแย้งทางการเมืองทำให้ประเทศไม่มีนายกฯ มาเกือบปี รัฐสภาเลบานอนได้ลงมติ แต่งตั้งเศรษฐีพันล้านที่รวยที่สุดในประเทศ “นาจิบ มิคาติ” เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่ “มิคาติ” ซึ่งเข้ามาเป็นผู้นำเพื่อแก้วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของประเทศ กลับเป็นคนที่ผู้ประท้วงไม่ต้องการ เนื่องจากมองว่าคุณสมบัตินายกฯ ไม่ควรเป็นคนที่ “ร่ำรวยจากการเมือง” เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการคอร์รัปชัน ดังนั้นการเลือกคนรวยที่สุดภายในประเทศ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับการเป็นผู้นำช่วงวิกฤตนี้
ขณะที่ทางการสหรัฐระบุว่า จะไม่มีการช่วยเหลือจากนานาชาติ หากเลบานอนไม่มีการปฏิรูประบอบการเมืองของประเทศ โดยกุญแจสำคัญอยู่ที่ผู้นำเลบานอน ว่าจะสามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปฏิรูปประเทศได้หรือไม่ เพื่อให้การช่วยเหลือจากต่างประเทศนั้นไม่สูญเปล่าเหมือนแต่ก่อน
แม้ว่าประเทศจะใหญ่แค่ไหน มีทรัพยากรล้นเหลือเพียงใด ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ผู้นำประเทศ และระบบการบริหาร มีผลต่อทิศทางของประเทศจริง ๆ การทุจริต ใช้อำนาจในทางที่ผิด อาจส่งผลร้ายแรงจนทำให้ดินแดนนั้น ๆ ล่มสลายได้เลย
ตอนนี้คุณสามารถติดตามข่าวสารเศรษฐกิจโลก เช็คปฎิทินข่าวเศรษฐกิจ อ่านบทความแนวโน้มตลาด Forex พร้อมรับเทคนิค กลยุทธ์ การเทรด Forex ที่เราคัดสรรค์มาให้ทุกวันได้ฟรี ที่แอป WikiFX โหลดเลย!
ขอบคุณข้อมูลจาก: prachachat.net, mgronline.com, bbc.com, mei.edu และ reuters.com
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
เชื่อว่าหลายคนคงต้องรู้จักวิฤตการเงินที่ร้ายแรงที่สุดครั้งนึงของโลก วิฤตของประเทศ ‘เวเนซูเอลา’ จากประเทศที่ร่ำรวยมหาศาลจากปริมาณสำรองน้ำมันดิบใหญ่ที่สุดในโลก กลายเป็นประเทศเศรษฐกิจตกต่ำจมดิน
ย้อนไปเมื่อปี 2018 ธนาคารกลางอาร์เจนตินา ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 60% จนทำให้อาร์เจนตินาติดกลุ่มประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงที่สุดในโลก
FxPro
HFM
FP Markets
OANDA
ATFX
FBS
FxPro
HFM
FP Markets
OANDA
ATFX
FBS
FxPro
HFM
FP Markets
OANDA
ATFX
FBS
FxPro
HFM
FP Markets
OANDA
ATFX
FBS