简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เมื่อคืนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงทันทีหลังจากที่นักลงทุนได้เห็นตัวเลขการจ้างงานจากภาคเอกชน (ADP) ถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนไปยังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร
เมื่อคืนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงทันทีหลังจากที่นักลงทุนได้เห็นตัวเลขการจ้างงานจากภาคเอกชน (ADP) ถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนไปยังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจริง (NFP) ที่จะประกาศในวันพรุ่งนี้ ความผิดหวังนี้ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงตามเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ สาเหตุที่ดอลลาร์ปรับตัวลดลงแทบจะทันทีเพราะก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์เอาไว้แล้วว่าตัวเลขการจ้างงานที่จะประกาศในวันศุกร์มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นแต่ไม่มาก ยิ่งตัวเลขการจ้างงานจากภาคเอกชนออกมาเช่นนี้ยิ่งทำให้นักลงทุนเป็นกังวลกับการรายงานตัวเลขการจ้างงานฯ มากขึ้น
การประกาศตัวเลขการจ้างงานจากภาคเอกชนหรือ ADP เมื่อวานนี้ได้ข้อสรุปว่ามีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 374,000 ตำแหน่ง ห่างไกลจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของเดือนกรกฎาคม 943,000 ตำแหน่งมากถึง 569,000 ตำแหน่ง จริงอยู่ว่าในปีนี้รายงานตัวเลขการจ้างงานจาก ADP แทบจะไม่ตรงกับ NFP เลย แต่ตัวเลขของ ADP ก็สามารถใช้อ้างอิงได้จริงในการพิจารณาภาพรวมของตลาดแรงงาน เพราะตัวเลขการจ้างงานในเดือนกรกฎาคมของ NFP และ ADP ห่างกันอย่างมหาศาล ดังนั้นเมื่อวานนี้นักเศรษฐศาสตร์จึงหวังให้ตัวเลข ADP ของเดือนสิงหาคมที่ออกมาควรจะเพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 613,000 ตำแหน่ง แต่ก็อย่างที่เห็นว่าภาพความหวังนั้นไม่เกิดขึ้น
ตอนนี้เราคงต้องยอมรับว่าตลาดการเงินสหรัฐฯ มีความเปราะบางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ชาวอเมริกันจะได้ฉีดวัคซีนที่ดีที่สุดในโลก แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ได้รับหรือไม่ต้องการฉีดวัคซีน และนั่นทำให้การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตามีอิทธิพลมากขึ้น และกำลังเป็นภัยคุกคามต่อการฟื้นตัวในอนาคต ถ้าหากตัวเลขการจ้างงานฯ ในวันพรุ่งนี้ออกมาลดลงจริง จะยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความเสี่ยงที่กำลังใกล้ตลาดลงทุนเข้ามาทุกขณะ หากว่าตัวเลข NFP ปรับตัวลดลงมากคล้ายกับที่เกิดขึ้นกับ ADP มีโอกาสที่ดอลลาร์จะอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว และนักลงทุนอาจจะต้องโบกมือลาความเป็นไปได้ในการปรับลด QE ของเฟดในเดือนนี้ และตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงการรายงานตัวเลขการจ้างงานฯ ดอลลาร์สหรัฐจะไม่แข็งค่าขึ้นเพราะต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันตามที่ได้วิเคราะห์มา
สกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดเมื่อคืนนี้คือดอลลาร์ออสเตรเลีย นอกจากจะได้อานิสงส์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ออสเตรเลียยังปรับตัวขึ้นขานรับตัวเลข GDP ในไตรมาสที่สองที่ออกมาดีเซอร์ไพรส์ตลาด การเติบโตทางเศรษฐกิจทำได้เร็วเกินคาด และตัวเลข GDP ในไตรมาสหนึ่งฉบับแก้ไขรายละเอียดใหม่ก็ออกมาเพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข่าวดีนี้อาจจะทำให้นักลงทุนมองข้ามความเป็นจริงที่ว่าออสเตรเลียยังอยู่ในโหมดล็อกดาวน์ได้เพียงชั่วคราว และกิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ไม่อาจเติบโตได้ภายใต้สภาวะเช่นนั้น ดัชนี PMI ภาคการผลิตหดตัวลดลงจาก 60.8 เป็น 51.6 จุด ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว ขาขึ้นของสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียยังส่งผลให้กราฟ NZD/USDปรับตัวขึ้นเป็นวันที่แปดจากเก้าวันล่าสุด
สกุลเงินดอลลาร์แคนาดาไม่ได้เข้าร่วมปาร์ตี้ขาขึ้นของดอลลาร์ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เชื่อว่าเป็นผลกระทบมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อยและรายงานตัวเลข GDP เมื่อวานนี้ที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในวันนี้สหรัฐฯ และแคนาดาจะมีการรายงานตัวเลขดุลบัญชีการค้าที่นักลงทุนสามารถใช้พิจารณาความแข็งแกร่งของตัวเลขการนำเข้าและส่งออก การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐยังสามารถทำให้สกุลเงินอย่างยูโรและปอนด์ปรับตัวขึ้น กลบข่าวร้ายที่ตัวเลขยอดค้าปลีกและ PMI หดตัว แม้ว่าสกุลเงินปอนด์จะแข็งค่าสู้ยูโรไม่ได้ แต่ตัวเลขราคาที่อยู่อาศัยและ PMI ภาคการผลิตกลับปรับตัวสูงขึ้นได้อย่างน่าสนใจ จากตอนนี้ไปจนกว่าจะถึงการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เราคาดว่าตลาดสกุลเงินจะไม่มีความเคลื่อนไหวมากนัก
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
TMGM
Octa
STARTRADER
IC Markets Global
Neex
OANDA
TMGM
Octa
STARTRADER
IC Markets Global
Neex
OANDA
TMGM
Octa
STARTRADER
IC Markets Global
Neex
OANDA
TMGM
Octa
STARTRADER
IC Markets Global
Neex
OANDA