简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งทองคำและคริปโทเคอร์เรนซี โดยเฉพาะบิตคอยน์ ที่ใครหลายคนนิยามว่าเป็นทองคำดิจิทัล ได้กลายมาเป็นหนึ่งในตัวเลือกการลงทุนของใครหลายคน ต้นทุนในการผลิตทองคำและบิตคอยน์ ประกอบไปด้วยอะไรบ้างและต่างกันอย่างไร ?
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งทองคำและคริปโทเคอร์เรนซี โดยเฉพาะบิตคอยน์ ที่ใครหลายคนนิยามว่าเป็นทองคำดิจิทัล ได้กลายมาเป็นหนึ่งในตัวเลือกการลงทุนของใครหลายคน หากเรามาดูมูลค่าทองคำ แร่ต่าง ๆ และคริปโทเคอร์เรนซี ทองคำ 374 ล้านล้านบาท เงิน 44 ล้านล้านบาท บิตคอยน์ 29 ล้านล้านบาทแพลเลเดียม 14 ล้านล้านบาท อีเทอเรียม 12 ล้านล้านบาท จะเห็นได้ว่าคริปโทเคอร์เรนซี มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าที่เราเห็นนั้น นอกจากจะเป็นผลมาจากความต้องการซื้อและความต้องการขายของตลาดแล้ว ส่วนหนึ่งยังมาจาก “ต้นทุน” ในการผลิต ซึ่งสำหรับทองคำและบิตคอยน์ ถูกเรียกเหมือนกันว่าการขุด ต่างกันตรงที่เราจะขุดทองคำในโลกจริง แต่ขุดบิตคอยน์ในโลกเสมือนแล้วเราเคยสงสัยไหมว่า ต้นทุนในการผลิตทองคำและบิตคอยน์ ประกอบไปด้วยอะไรบ้างและต่างกันอย่างไร ?
เริ่มกันที่ต้นทุนในการผลิตทองคำ สำหรับทองคำ เราจะมีศัพท์เฉพาะในอุตสาหกรรมนี้ เรียกว่า “All-In Sustaining Cost” All-In Sustaining Cost หมายถึง ต้นทุนในการผลิตทองคำเพื่อความยั่งยืน ซึ่งจะเป็นการประเมินต้นทุนสำหรับผู้ผลิตทองคำแต่ละรายว่าจะยังคงมีกำไรและมีความสามารถในการผลิตทองคำต่อไปได้หรือไม่ในอนาคต โดย All-In Sustaining Cost จะประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายทุกอย่างของบริษัทที่ใช้ไปในกิจการเหมืองขุด รวมถึงกระบวนการแปรรูปทองคำ เช่น ค่าแรงงานและพลังงาน ค่าขนส่ง ค่าสัมปทาน ค่าสำรวจ ค่าอุปกรณ์ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับอาคารสำนักงาน
หากอ้างอิงจากต้นทุนของเหมืองทอง Polyus ในประเทศรัสเซีย ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตทองคำ ถูกที่สุดในโลก จะมี All-In Sustaining Cost ต่อหน่วยประมาณ 604 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ ในขณะที่ราคาทองคำ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 1,800 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ เท่ากับว่าต้นทุนในการผลิตทองคำที่ถูกที่สุดในโลก จะคิดเป็นสัดส่วนราว 34% ของมูลค่าทองคำที่ซื้อขายกันในตลาด ณ ตอนนี้ ในขณะที่ต้นทุนในการขุดของบิตคอยน์นั้น จะไม่ได้มีมาตรฐานการหาต้นทุนแบบทองคำ แต่หลัก ๆ ต้นทุนของการขุดบิตคอยน์ ก็จะมาจาก
1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดซึ่งที่นิยมใช้มีทั้งการใช้การ์ดจอหรือการใช้เครื่องขุดโดยเฉพาะ
ที่เรียกว่า Application-Specific Integrated Circuit หรือ ASIC
2. พลังงานที่ใช้ในการขุด หรือก็คือพลังงานไฟฟ้า
สำหรับคำศัพท์เฉพาะของวงการขุดบิตคอยน์ ก็จะมีคำว่า “Hash Rate” หรือกำลังการคำนวณที่ผู้ขุดใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการทำธุรกิจบนบล็อกเชน ซึ่งก็ใช้วัดตั้งแต่ระดับอุปกรณ์ในการขุดและของทั้งระบบ ทุกอุปกรณ์จะต้องการพลังงานไฟฟ้าที่มีหน่วยเป็น Watt ถ้าหากอุปกรณ์มี Hash Rate ที่ต่ำภายใต้การใช้ Watt เท่ากัน ก็แปลว่าอุปกรณ์นั้นจะมีประสิทธิภาพที่ไม่ดี ก็จะทำให้เราต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นในการขุดบิตคอยน์จำนวนเท่ากัน นั่นหมายถึงต้นทุนของเราก็จะเพิ่มขึ้น ตามไปด้วย
ซึ่งเราก็ต้องมาดูต่อว่ากำลังในการผลิต ค่าไฟฟ้าที่เราใช้ เมื่อเทียบกับอายุการใช้งานของเครื่องขุดเรา จะคุ้มกับมูลค่าของบิตคอยน์ ณ เวลานั้น ๆ หรือไม่ นั่นเอง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศจีนนับเป็นประเทศแห่งการขุดบิตคอยน์ สะท้อนให้เห็นจากในปี 2019 ประเทศแห่งนี้ มีส่วนแบ่งการขุดบิตคอยน์มากถึง 75% ของการขุดทั่วโลก แต่หลังจากที่รัฐบาลจีนมีนโยบายปราบปรามเหมืองขุดคริปโทเคอร์เรนซีทั่วประเทศ ก็ได้ทำให้บรรดาเหมืองขุด ต่างพากันเทขายอุปกรณ์ขุด ในขณะที่บางส่วนได้ย้ายฐานไปยังประเทศอื่น ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกา นับเป็นฐานการขุดบิตคอยน์แห่งใหม่ที่กำลังเติบโต ที่บอกแบบนี้ก็เพราะว่าส่วนแบ่งการขุดบิตคอยน์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงต้นปี 2020 ที่มีเพียง 5% ได้ขยับขึ้นมาเป็น 17% ในปี 2021 แต่จากการย้ายฐานการผลิตดังกล่าวก็ทำให้ต้นทุนรวมของการขุดบิตคอยน์สูงขึ้น จากต้นทุนค่าพลังงานที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งสหรัฐอเมริกามีค่าไฟฟ้าประมาณ 0.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ในขณะที่จีนมีค่าไฟฟ้าเพียง 0.09 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง
ทีนี้ เราลองมาดูกันว่าต้นทุนในการขุดบิตคอยน์หนึ่งเหรียญ จะมีมูลค่าเท่าไร ? จริง ๆ แล้ว การหาต้นทุนในการขุดบิตคอยน์นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เพราะผู้ขุดแต่ละคน ก็จะมีวิธีการจัดอุปกรณ์ขุดที่ต่างกันออกไป และส่วนใหญ่จะใช้เครื่องขุดเป็นจำนวนมาก ในที่นี้ เราจึงนำสมมติฐานของ Miner Daily ที่ได้ระบุว่าโดยทั่วไป เครื่องขุดบิตคอยน์ ASIC จะมีอายุการใช้งานราว 4 ปี และหากเราใช้เครื่อง ASIC เครื่องเดียว ก็จะใช้เวลาขุด 4 ปี ถึงจะได้มา 1 บิตคอยน์
นั่นเท่ากับว่าเราสามารถนำมูลค่าเฉลี่ยของ ASIC มาบวกกับค่าไฟเพื่อเป็นต้นทุนได้ ซึ่งวิธีนี้ก็ถือเป็นเพียงตัวอย่างการคำนวณต้นทุน เพราะในทางปฏิบัติคงมีน้อยคนที่ใช้เครื่อง ASIC 1 เครื่องขุดบิตคอยน์เป็นเวลา 4 ปี สำหรับค่าเฉลี่ยของเครื่องขุดที่ Miner Daily เฉลี่ยเอาไว้อยู่ที่ 7,946 ดอลลาร์สหรัฐต่อเครื่อง
ในขณะที่ค่าไฟตลอดระยะเวลาการขุดเพื่อให้ได้ 1 บิตคอยน์ ที่ 0.09 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ตามค่าไฟในประเทศจีน ต้นทุนทั้งหมดจะอยู่ที่ 26,693 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 56% ของมูลค่าบิตคอยน์ (ให้ปัจจุบัน บิตคอยน์ 47,369 ดอลลาร์สหรัฐต่อเหรียญ) ที่ 0.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ตามค่าไฟในประเทศสหรัฐอเมริกา ต้นทุนทั้งหมดจะอยู่ที่ 39,191 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นราว 83% ของมูลค่าบิตคอยน์ (ให้ปัจจุบัน บิตคอยน์ 47,369 ดอลลาร์สหรัฐต่อเหรียญ)
จากสมมติฐานดังกล่าว ก็จะเห็นได้ว่า ทั้งต้นทุนในการขุดทองคำจะถูกกว่าราคาตลาดอยู่พอสมควร แต่สำหรับการขุดบิตคอยน์นั้น ต้นทุนจะมีความแตกต่างกันมาก ตามค่าไฟในแต่ละประเทศ ถึงตรงนี้ เราก็คงจะพอเห็นภาพว่าทั้งการขุดทองคำและขุดบิตคอยน์ก็จะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และแต่ละประเภท ก็มีความผันผวนและความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ทั้ง 2 สินทรัพย์ ยังมีจุดร่วมเดียวกันก็คือ “การมีอยู่อย่างจำกัด” ซึ่งก็ถือเป็นคุณสมบัติ ที่ทั้งนักลงทุนและใครหลายคน เชื่อมั่นว่าจะช่วยให้เรากักเก็บความมั่งคั่งเอาไว้ได้ ซึ่งบางที ความเชื่อของเราที่สร้างขึ้นมาเองนั้น อาจจะเป็นส่วนที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับทั้งทองคำและบิตคอยน์ มากกว่าต้นทุนในการผลิต ก็เป็นได้..
อย่าตกเป็นเหยื่อโบรกเกอร์ Forex เถื่อน! เพราะโบรกเกอร์ Forex เถื่อนชอบโกงเงินนักลงทุน คุณต้องดาวน์โหลด WikiFX เพื่อตรวจสอบว่าโบรกเกอร์ Forex ใดควรเทรดด้วย ไม่งั้นจะเสียใจทีหลัง ดาวน์โหลดฟรี!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
IC Markets Global
HFM
Vantage
ATFX
FXTM
Pepperstone
IC Markets Global
HFM
Vantage
ATFX
FXTM
Pepperstone
IC Markets Global
HFM
Vantage
ATFX
FXTM
Pepperstone
IC Markets Global
HFM
Vantage
ATFX
FXTM
Pepperstone