简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ดัชนีดาวโจนส์ ปิดวันจันทร์ (29 พ.ย.)ปรับตัวขึ้น 236 จุด หลังประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ กล่าวว่า สหรัฐไม่มีแผนล็อกดาวน์เศรษฐกิจเพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทยังได้หลากหลายปัจจัยบวกที่เข้าหนุนตลาด ขณะที่นักลงทุนพากันส่งแรงซื้อเก็งกำไร หลังจากตลาดทรุดตัวลงอย่างหนักในสัปดาห์ที่แล้ว
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 236.60 จุด หรือ 0.68% ปิดที่ 35,135.94 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 60.65 จุด หรือ 1.32% ปิดที่ 4,655.27 จุด และดัชนีแนสแด็ก เพิ่มขึ้น 291.18 จุด หรือ 1.88% ปิดที่ 15,782.83 จุด
ประธานาธิบดีโจ ไบเดนกล่าวในวันนี้ว่า รัฐบาลสหรัฐไม่มีนโยบายที่จะประกาศล็อกดาวน์เศรษฐกิจ อันเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน
“ถ้าประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน และสวมหน้ากากอนามัย ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องล็อกดาวน์ และจะไม่มีการประกาศห้ามการเดินทางครั้งใหม่ ไม่ช้าก็เร็ว เราจะเห็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนในสหรัฐ ดังนั้นกรุณาสวมหน้ากากเมื่ออยู่ในอาคาร หรืออยู่ในที่สาธารณะ ซึ่งมีผู้คนจำนวนมาก” ปธน.ไบเดนกล่าว
หุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มสายการบิน และกลุ่มธุรกิจเรือสำราญ ต่างพุ่งขึ้นในการซื้อขายวันนี้ ขานรับแถลงการณ์ของปธน.ไบเดน
หุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นในวันนี้ สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นกว่า 5%
ราคาหุ้นทวิตเตอร์ อิงค์พุ่งขึ้น หลังจากที่นายแจ็ค ดอร์ซีย์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท
ขณะเดียวกัน นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า หลังมีการระบาดของไวรัสโอไมครอน
FedWatch Tool ของ CME Group ซึ่งวิเคราะห์การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดว่าเฟดมีแนวโน้มเพียง 58.5% ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินในเดือนมิ.ย.2565 จากเดิมที่คาดว่ามีแนวโน้มสูงถึง 82.1%
นอกจากนี้ นักลงทุนยังได้ปรับลดแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในเดือนก.ค.2565 เหลือเพียง 69% จากเดิมที่ระดับ 88% และลดแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย.2565 เหลือ 79.7% จากเดิม 94.5% รวมทั้งลดแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.2565 เหลือ 92% จากเดิม 99%
นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ว่า ไวรัสโอไมครอนจะส่งผลกระทบเพียงชั่วคราวต่อตลาด ขณะที่บริษัทผลิตวัคซีนต่างเร่งพัฒนาวัคซีนสูตรใหม่ที่จะสามารถรับมือกับไวรัสโอไมครอน โดยคาดว่าจะได้รับการอนุมัติในต้นปีหน้า
ส่วนการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในวันนี้ สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (เอ็นเออาร์) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) พุ่งขึ้น 7.5% ในเดือนต.ค. เมื่อเทียบรายเดือน
ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีจะทรงตัวในเดือนต.ค.
การทำสัญญาขายบ้านดีดตัวขึ้นในทุกภูมิภาค แม้ราคาบ้านอยู่ในระดับสูง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองปรับตัวขึ้นแต่เมื่อเทียบรายปี ดัชนีปรับตัวลง 1.4% ในเดือนต.ค.
ทั้งนี้ ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย เป็นมาตรวัดจำนวนสัญญาซื้อบ้านมือสองที่มีการเซ็นสัญญาแล้วแต่ยังไม่ได้ปิดการขาย และโดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนสำหรับการเซ็นสัญญาจนกระทั่งปิดการขาย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 15.73 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 35,756.88 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 8.31 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 4,574.79 จุด และดัชนีแนสแด็ก เพิ่มขึ้น 9.01 จุด หรือ 0.06% ปิดที่ 15,235.72 จุด
ดัชนีดาวโจนส์ ปิดวันศุกร์ (27ส.ค.)พุ่งขึ้น 242 จุดหลังประธานเฟดส่งสัญญาณชัดเจนว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะเริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ก่อนสิ้นปีนี้
ดัชนีดาวโจนส์ ปิดวันพฤหัสบดี(26ส.ค.)ปรับตัวร่วงลง 53 จุด หลังเปิดตลาดในแดนบวก ขณะที่นักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมประจำปีของเฟดในวันนี้
ดัชนีดาวโจนส์ ปิดวันพฤหัสบดี(19ส.ค.)ร่วงลง 66 จุด ขณะที่นักลงทุนกังวลว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) เร็วกว่าที่คาดไว้
EC Markets
XM
HFM
FXTM
GO MARKETS
Vantage
EC Markets
XM
HFM
FXTM
GO MARKETS
Vantage
EC Markets
XM
HFM
FXTM
GO MARKETS
Vantage
EC Markets
XM
HFM
FXTM
GO MARKETS
Vantage