简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ตัวแทนผู้เสียหายที่เคยลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกับบริษัทคอยน์ แอสเซท จำกัด ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พร้อมผู้ก่อตั้งบริษัท Coinasset ชี้แจงถึงกรณีของเหรียญ Jfin ของกลางที่หายจำนวนกว่า 700,000 เหรียญ
ตัวแทนผู้เสียหายที่เคยลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกับบริษัทคอยน์ แอสเซท จำกัด ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พร้อมผู้ก่อตั้งบริษัท Coinasset ได้โร่แจ้งรายการ ‘สถานีประชาชนไทยพีบีเอส’ ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมเพื่อชี้แจงถึงกรณีของเหรียญ Jfin ของกลางที่หายจำนวนกว่า 700,000 เหรียญ ตัวแทนผู้เสียหายตั้งข้อสังเกตว่า หลังจากแต่ละคนได้รับอีเมล์ จากบริษัทกฎหมายแห่งหนึ่งที่เข้ามาเป็นคนกลางเพื่อคืนสินทรัพย์ดิจิทัล นับตั้งแต่บริษัทคอยน์ แอสเซท จำกัด ปิดตัวลงไปไปเมื่อปี 2562 ก็ได้ให้แต่ละคนต้องแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเหรียญ
ผู้เสียหายรายนี้กล่าวว่า เขาได้ส่งหลักฐานต่างๆและยืนยันตัวตน ส่งไปตามที่บริษัทกฎหมายแจ้งหลังจากดำเนินการเสร็จแล้วกลับไม่ได้รับเงินสินทรัพย์คืน จนกระทั่งต่อมาทราบว่าเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมาบริษัทกฎหมายดังกล่าวประกาศยุติบทบาทการเข้ามาดูแลสินทรัพย์ดังกล่าว ทำให้ตัวแทนผู้เสียหายรู้สึกถึงความไม่ชอบมาพากล ข้อความบางส่วนที่ตัดตอนมาจากคำพูดของผู้เสียหายเล่าว่า : บริษัทกฎหมายได้มีการปฏิเสธการขอรับสินทรัพย์ของผมคืน และได้มีการบอกว่าเหรียญทั้งหมดบริษัทได้ขอคิดเป็นค่าบริการที่เขาดูแล ผมก็เลยบอกว่าคุณจะคิดค่าบริการจากสินทรัพย์ในส่วนตรงนี้ไม่ได้ เพราะสินทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้อยู่ในคู่สัญญาของคุณ
คุณไปสัญญากับทางคอยน์ แอสเซทเองว่าคุณจะดูแลเหรียญไว้เพื่อคืนให้กับเจ้าของตัวจริง แต่สุดท้ายคุณไม่ได้คืนมาที่เรา และกลับนำไปหักเป็นค่าบริการ ทางด้านนาย ศิวนัส ยามดี อดีตผู้ก่อตั้งบริษัทคอยน์ แอสเซท จำกัด ได้ออกมายอมรับในความผิดพลาดในอดีตและเล่าถึงสาเหตุที่ปิดตัวไปเมื่อปี 2562 เนื่องจากมีปัญหาภายในบริษัทและส่งผลให้ไม่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือก.ล.ต ด้วยเหตุนี้ทาง ก.ล.ต จึงได้สั่งให้บริษัทคอยน์ แอสเซทคืนสินทรัพย์ให้กับลูกค้าหรือนักลงทุน ต่อมามีลูกค้ากล่าวว่ายังไม่ได้สินทรัพย์คืนเป็นจำนวนมาก ซึ่งสินทรัพย์ที่ลูกค้าไม่ได้รับคืนเยอะที่สุดนั่นก็คือเหรียญ Jfin Token
ซึ่งทำให้ผู้เสียหายเดินเรื่องฟ้องร้องบริษัท จนกระทั่งเมื่อปี 2563 บริษัทสามารถติดตามเหรียญดิจิทัลคืนมาได้ประมาณ 2 ล้านกว่าเหรียญโทเค็นและได้คืนกันในชั้นศาลโดยส่งมอบให้ทางบริษัทกฎหมายซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 รับหน้าที่ดูแลและดำเนินการส่งคืนให้แก่ผู้เสียหาย แต่ทว่าล่าสุดกลับทราบว่า ผู้เสียหายบางส่วนยังไม่ได้รับสินทรัพย์ดังกล่าวคืนจึงขอคำชี้แจงจากบริษัทกฎหมายดังกล่าว และทราบภายหลังว่าได้มีการหักค่าดำเนินการหรือค่าบำเหน็จจากของกลางร้อยละ 10 ทุกเดือน ทั้งนี้นาย ศิวนัส ยามดีได้ออกมากล่าวชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวในระหว่างให้สัมภาษณ์กับรายการสถานีประชาชนไทยพีบีเอสว่า : ในสัญญาที่ผมไปคุยกับฝ่ายกฎหมายทุกคนมันไม่ชัดเจนเลย ทนายบางคนยังบอกว่ามันเป็นโมฆะด้วยซ้ำเพราะมันคือสัญญาประนีประนอมไม่ใช่สัญญาจ้างเรื่องแรก
เรื่องที่สองคือต่อให้มันเป็นสัญญาจ้างก็จริง คู่สัญญาก็คือผมกับบริษัทกฎหมาย ดังนั้นเขาจึงต้องมาวางบิลมาเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับผม และไม่มีสิทธิ์ไปหักเงินของกลาง เบื้องต้นทีมข่าวสถานีประชาชนไทยพีบีเอสได้ประสานไปยังตัวแทนบริษัทกฎหมายที่เข้ามาเป็นคนกลางในการคืนสินทรัพย์ดังกล่าวให้กับผู้เสียหายเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทเล่าว่าได้มีการคืนสินทรัพย์ดิจิทัลให้กับผู้เสียหายที่มีหลักฐานชัดเจนไปแล้วกว่า 20 คนและอ้างว่าเหรียญที่ได้รับมานั้นไม่เพียงพอที่จะคืนให้กับผู้เสียหายทั้งหมด ส่วนการเรียกเก็บค่าดำเนินการบริษัทกฎหมายอ้างว่าเขามีสิทธิ์หักค่าบำเหน็จสินจ้างร้อยละ 10 ทุกเดือน เพราะติดต่อไปยังทางนายศิวนัสไม่ได้ สุดท้ายนี้เราจะคงต้องติดตามดูกันต่อไปว่าเรื่องราวนี้จะจบลงอย่างไร และผู้เสียหายจะได้รับเงินคืนหรือไม่ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งคดีตัวอย่างที่น่าสนใจสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกิดขึ้นในบ้านเรา
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Octa
Vantage
TMGM
HFM
FxPro
Pepperstone
Octa
Vantage
TMGM
HFM
FxPro
Pepperstone
Octa
Vantage
TMGM
HFM
FxPro
Pepperstone
Octa
Vantage
TMGM
HFM
FxPro
Pepperstone