简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ปี 2022 กำลังใกล้เข้ามาแล้ว และการเปิดตัวครั้งนี้ได้รับความคาดหวังจากชุมชนเป็นอย่างมาก นี่จะเป็นหนึ่
ปี 2022 กำลังใกล้เข้ามาแล้ว และการเปิดตัวครั้งนี้ได้รับความคาดหวังจากชุมชนเป็นอย่างมาก นี่จะเป็นหนึ่งในการอัพเกรดที่สำคัญที่สุดสำหรับบล็อกเชน ซึ่ง Ethereum 2.0 จะเป็นยุคใหม่ของเครือข่าย Ethereum เลยทีเดียว
Table of Contents
Ethereum 2.0 คืออะไร?
คุณสมบัติที่สำคัญของ Ethereum 2.0
ปัญหาคอขวดของ Ethereum (ETH)
สถานะปัจจุบันของ Ethereum 2.0 เป็นอย่างไรบ้าง?
การอัปเกรด Berlin
การอัปเกรด London
การอัปเกรด Altair
เมื่อไหร่ Ethereum 2.0 จะมา?
Ethereum 2.0 คืออะไร?
Ethereum 2.0 เป็นการอัปเกรดของเครือข่าย ETH ซึ่งปรับปรุงในเรื่องความเร็ว ประสิทธิภาพ และความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่าย (scalability) การดำเนินการนี้จะนำ Ethereum ไปสู่ระดับใหม่ เนื่องจากสามารถทำธุรกรรมได้มากขึ้น บรรเทาความแออัดของธุรกรรม และต้นทุนก๊าซหรือต้นทุนการทำธุรกรรมที่สูงบนเครือข่าย
เมื่อถึงเฟสสุดท้ายของการอัพเกรด ซึ่งเรียกว่า “เฟสที่ 2” Ethereum จะบรรลุเป้าหมายในการเป็นเครือข่ายที่โปร่งใส และเปิดกว้างสำหรับแอพพลิเคชั่นการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi)
คุณสมบัติที่สำคัญของ Ethereum 2.0
Sharding – Ethereum จะถูกแบ่งออกเป็น 18 “Shards” ที่ทำงานพร้อมกัน สิ่งนี้จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานอย่างมาก
Staking – Ethereum จะเคลื่อนย้ายไปเป็นกลไกแบบ Proof-of-Stake (PoS) ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานมากขึ้นในการรักษาเครือข่าย
ETH 2.0 จะเปลี่ยนเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยพื้นฐาน โดยการอัปเดต Ethereum จะลบแนวคิดของการขุดอย่างสมบูรณ์ ซึ่ง Ethereum จะมีการเปลี่ยนจากกลไก Proof-of-Work (PoW) ไปเป็น Proof-of-Stake (PoS) นั่นเอง
Proof of Work (PoW) คือกลไกในการแก้โจทย์ที่ระบบกำหนดมา เพื่อหาค่าสมการที่ถูกต้อง หรือเป็นระบบที่ใช้การขุดนั่นเอง ขณะที่ Proof of Stake (PoS) คืออัลกอริธึมที่ใช้สร้าง Consensus บนบล็อกเชน ผู้มีส่วนร่วมจะต้อง Stake เหรียญไว้ในระบบ และได้รับรางวัลเป็นเหรียญและสิทธิในการตรวจสอบธุรกรรม
ปัญหาคอขวดของ Ethereum (ETH)
ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) และ Non-fungible token (NFTs) ทำให้ Ethereum เจอกับปัญหาเรื่อง scalability ซึ่งเกิดจากการที่แอปพลิเคชันและจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบเกิดความแออัดนั่นเอง การที่เครือข่าย Ethereum มีผู้ใช้และจำนวนธุรกรรมที่มากขึ้น สิ่งนี้ทำให้ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม หรือที่เราเรียกว่าค่าแก๊ส สูงขึ้นตามไปด้วย
การที่เครือข่าย Ethereum ใช้ระบบ Proof-of-Work (PoW) เพื่อตรวจสอบการทำธุรกรรม ทำให้ระบบที่ต้องใช้เวลาและพลังงานในการประมวลผลมากขึ้น นอกจากนี้แต่ละบล็อกของ ETH ที่สามารถบรรจุข้อมูลได้จำกัด ทำให้ธุรกรรมที่จ่ายค่าแก๊สสูงได้รับการยืนยันธุรกรรมก่อน ส่งผลให้เกิดปัญหาค่าแก๊สสูงขึ้นอย่างในปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้ Vitalik Buterin ผู้สร้าง ETH จึงต้องการแก้ไขปัญหาด้วย Ethereum 2.0 ที่เปลี่ยนจากระบบ Proof-of-Work (PoW) ไปเป็น Proof of Stake (PoS) นั่นเอง
สถานะปัจจุบันของ Ethereum 2.0 เป็นอย่างไรบ้าง?
นับตั้งแต่เปิดตัว Beacon Chain ไปเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2020 Ethereum ได้มีการเปิดตัวการอัปเกรด 3 รายการ ได้แก่ การอัปเกรด Berlin, การอัปเกรด London และการอัปเกรด Altair
การอัปเกรด Berlin
การอัปเกรดเบอร์ลิน (Berlin upgrade) เปิดตัวเมื่อวันที่ 15 เมษายนปี 2021 และได้มีปรับค่าก๊าซ หรือค่าธรรมเนียมในการทำธุรรม สำหรับการดำเนินการ EVM (Ethereum Virtual Machine) การอัปเกรดยังเพิ่มการสนับสนุนสำหรับประเภทธุรกรรมต่าง ๆ
การอัปเกรด London
การอัปเกรดลอนดอน (London upgrade) เปิดตัวเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมปี 2021 และได้ปฏิรูปตลาดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมสำหรับเครือข่าย ETH 1.0 ผ่าน EIP-1559 อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังลดค่าธรรมเนียมก๊าซสำหรับการทำงานเฉพาะ
การอัปเกรด Altair
การอัปเกรดล่าสุดที่รู้จักกันในชื่อ Altair เปิดตัวเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมปี 2021 การอัปเกรด Altair เป็นการอัปเกรดตามกำหนดการครั้งแรกสำหรับ Beacon Chain ของ Ethereum และเพิ่มการรองรับสำหรับ “sync committeees”
เมื่อไหร่ Ethereum 2.0 จะมา?
เหลืออีกสองขั้นตอนหลักสำหรับการเคลื่อนไหวย้ายอย่างสมบูรณ์ไปสู่ Ethereum 2.0 สองขั้นตอนนี้คือ “The Merge” และการนำ Shard Chains เข้าสู่เครือข่าย
The Merge เกิดขึ้นเมื่อ Ethereum Mainnet “ผสาน” กับ Beacon Chain ซึ่งได้เปิดใช้งานแล้ว นี่เป็นการส่งสัญญาณว่า Proof-of Work (PoW) บนเครือข่ายสิ้นสุดลงแล้ว
Shard chains ในเครือข่ายจะช่วยให้ Ethereum สามารถปรับขนาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการขยายขีดความสามารถในการประมวลผลธุรกรรมและจัดเก็บข้อมูล ส่วนสุดท้ายนี้จะเปิดตัวในหลายขั้นตอน พร้อมคุณสมบัติเพิ่มเติมต่อไป
ทั้งหมดนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2022 ซึ่งถูกจับตามองอย่างกว้างขวางถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
DISCLAIMER: การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงและความผันผวนสูง มุมมองและความคิดเห็นจากผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อในการให้ข้อมูลเท่านั้น และไม่ได้เป็นการให้ข้อมูลทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่น ๆ ใด นักลงทุนควรศึกษาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกันและมีการควบคุมความเสี่ยงอยู่เสมอ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ