简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สรรพากร คอนเฟิร์มแล้วว่า ‘มีนาคม’ ปีนี้ นักเทรดคริปโตที่มีกำไรต้องจ่ายภาษี 15% หลายคนยังงง ๆ ว่าจะคำนวณยังไง ยื่นภาษียังไง วันนี้ WikiBit ของมานำเสนอข้อมูลคร่าว ๆ จะได้เตรียมพร้อมกันให้ทัน!
สรรพากร คอนเฟิร์มแล้วว่า ‘มีนาคม’ ปีนี้ นักเทรดคริปโตที่มีกำไรต้องจ่ายภาษี 15% หลายคนยังงง ๆ ว่าจะคำนวณยังไง ยื่นภาษียังไง วันนี้ WikiBit ของมานำเสนอข้อมูลคร่าว ๆ จะได้เตรียมพร้อมกันให้ทัน!
นักลงทุนที่มีกำไรจากการซื้อขายเหรียญคริปโต หรือสินทรัพย์ดิจิทัล ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร จะถือเป็น “เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ฌ)” คือ เงินได้จากผลประโยชน์/กำไร ที่ได้รับจากการโอนคริปโทฯ หรือโทเคนดิจิทัล ซึ่งนักลงทุนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ซึ่งแม้ว่าจะถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว 15% แต่ยังคงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณรวมกับเงินได้อื่น ๆ เพื่อยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาประจำปีตามปีที่ได้กำไรด้วย
ขั้นตอนยื่นแบบเสียภาษีทางออนไลน์
เข้าไปที่เว็บไซต์ E-FILING :efiling.rd.go.th แล้วกดยื่นแบบออนไลน์
ในหน้ากรอกเงินได้ จะมีหัวข้อ รายได้จากการลงทุน ดอกเบี้ย เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ ประโยชน์ใด ๆ จาก คริปโตเคอร์เรนซี หรือ โทเคนดิจิทัล เงินเพิ่มทุน เงินลดทุน (มาตรา 40(4)) คลิก ระบุข้อมูล
กรอกเป็นรายการ ประเภทธุรกิจ (ประเภทของเงินได้) เงินได้ทั้งหมด ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เลขผู้จ่ายเงินได้
วิธีคำนวณภาษีคริปโตเบื้องต้น
ทาง TNN ONLINE ได้เสนอวิธีคำนวณภาษีคริปโตเบื้องต้นว่า
หากนักลงทุนขาย Bitcoin ได้กำไร 150,000 บาท หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% = 22,500 บาท จะเหลือกำไรที่ได้รับ 127,000 บาท
จากนั้นเมื่อต้องยื่นภาษีปลายปี หากมีเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว อยู่ที่ 600,000 ให้นำกำไรจากการขาย Bitcoin มารวมกับเงินได้สุทธิ จะได้เท่ากับ 600,000+150,000 = 750,000 บาท
จากนั้นนำยอดมาเทียบตารางอัตราภาษีก้าวหน้า ภาษีที่ต้องเสียคือ 72,500 (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) – 22,500 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย) = 50,000 บาท
อย่างไรก็ตาม การคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ที่ชัดเจนสำหรับคริปโต หลายฝ่ายยังถูกมองว่าเป็นไปได้ยาก โดย iTAX ได้อธิบายไว้ว่า การคำนวณภาษีจากกำไรทำได้ยากมาก ๆ ในปฏิบัติ และยังมีโอกาสเกิดช่องว่างได้ ขณะที่ Inflow Accounting ระบุว่า การหักภาษี ณ ที่จ่ายคริปโต จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าต้นทุนตอนซื้อที่แท้จริงเท่าไรบ้าง เช่น หากมาจากการ “ขุด” ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะนำกำไรมาคำนวณภาษี ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องอาศัยการคำนวณภาพรวมการซื้อขายด้วยตัวเองเมื่อได้กำไรก็ต้อง ยื่นภาษีและเสียภาษีอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการถูกเรียกตรวจสอบย้อนหลังด้วย
ถ้าได้ข้อมูลเพิ่มเติมยัง WikiBit จะรีบมารายงานทุกความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเลย คุณสามารถติดตามข่าวสารที่สดใหม่ รวดเร็ว ถึงใจ พร้อมบทความเกร็ดความรู้ในโลกคริปโตแบบนี้ ได้ที่ “WikiBit” แอปนำเสนอข่าวสารวงการคริปโต พร้อมให้บริการตรวจสอบ Exchange ทั่วโลก รวบรวมข้อมูล Shitcoin และโครงการเถื่อน เพียงแค่กดค้นหา ข้อมูลที่คุณควรรู้ก็จะขึ้นมาแบบจัดเต็ม ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี!
(ของคุณข้อมูลจาก:TNN ONLINE, กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ และ E-Filing กรมสรรพากร)
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ