简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โดย Peter Nurse Investing.com – ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในวันจันทร์ โดยผู้กำหน
โดย Peter Nurse
Investing.com – ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในวันจันทร์ โดยผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงมีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อนโยบายการเงินก่อนการประชุมสัมมนาในเมืองแจ็คฮัน โฮล ที่สำคัญของธนาคารกลางในสัปดาห์นี้
ในเวลา 2:55 น. ET (06:55 GMT) ดัชนีดอลลาร์ซึ่งติดตามดอลลาร์เทียบกับกลุ่มของสกุลเงินอื่น ๆ อีก 6 สกุล ซื้อขายเพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 108.160 หลังจากพุ่งขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่สูงถึง 108.26 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม
ดัชนีปรับตัวขึ้นมากกว่า 2% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นการปรับขึ้นรายสัปดาห์ที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 โดยได้รับแรงหนุนจากของเจ้าหน้าที่เฟดจำนวนหนึ่งที่เน้นย้ำว่าจำเป็นต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างหนักเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งทะยานที่ระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 225 จุดพื้นฐานตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่ทุกสายตาจะจับจ้องไปที่คำกล่าวปราศัยของ เจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดในเมืองแจ็คสัน โฮล รัฐไวโอมิงในวันศุกร์นี้ เพื่อหาคำตอบว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะสูงขึ้นแค่ไหนและจะต้องใช้เวลานานแค่ไหนเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาอยู่ที่เป้าหมาย
โดยก่อนจะถึงการประชุมที่สำคัญของธนาคารกลาง EUR/USD ร่วงลง 0.1% เป็น 1.0027 ซึ่งร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์หลังจากบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซีย Gazprom ประกาศหยุดส่งก๊าซที่ผ่านท่อส่ง Nord Stream 1 ไปยังยุโรปเป็นเวลา 3 วันในปลายเดือนนี้ ทำให้วิกฤตพลังงานของภูมิภาครุนแรงขึ้น
ธนาคารกลางยุโรปคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกันยายน หลังจากที่สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการปรับเพิ่มขึ้น 50 จุดเมื่อเดือนที่แล้ว
อิซาเบล ชนาเบล สมาชิกคณะกรรมการ ECB กล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่าเธอสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่อีกครั้งในเดือนหน้า เนื่องจากแนวโน้มเงินเฟ้อในภูมิภาคยังไม่ดีขึ้น
“ดูเหมือนว่าธนาคารกลางยุโรปจะมีปัญหากับค่าเงินยูโรที่อ่อนค่า โดยพิจารณาจากการสัมภาษณ์ของ อิซาเบล ชนาเบล” นักวิเคราะห์จาก ING กล่าวในหมายเหตุ “แต่การจะผลักดัน EUR/USD ให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นคู่เงินยูโรที่มีความเกี่ยวข้องมากที่สุดในช่วงวิกฤตพลังงาน ECB จะต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินอย่างมาก ซึ่งนั่นเป็นงานที่ยากลำบากเพราะมีภาวะถดถอยคอยอยู่”
USD/CNY เพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 6.8271 โดยทั้งคู่ไต่ขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบสองปีหลังจากที่ธนาคารกลางของจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สำคัญอีกครั้ง โดยพยายามสนับสนุนเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด-19 และวิกฤตอสังหาริมทรัพย์
GBP/USD ปรับลดลงมาที่ 1.1824 ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ของวันศุกร์ที่ 1.1792 โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะถดถอยที่เพิ่มขึ้นและเงินเฟ้อกดดันการเงินภาคครัวเรือน
ตลาดคาดว่าธนาคารกลางอังกฤษจะกระชับนโยบายการเงินต่อไปโดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 50 จุดพื้นฐานในเดือนกันยายน แต่ไม่น่าจะหนุนค่าเงินปอนด์ได้มากนักหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษเตือนว่าเศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นเวลานานในไตรมาสที่สี่
USD/JPY เพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 137.03 โดยที่เงินเยนแข็งค่าจากผลตอบแทนของพันธบัตรที่พุ่งสูงขึ้นก่อนการประชุมสัมมนาณ เมืองแจ็คสัน โฮล ทำให้ระดับ 140 กลับมาอยู่ในการจับตามองอีกครั้ง ในขณะที่ AUD/USD ที่อ่อนไหวต่อความเสี่ยงปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% เป็น 0.6898 แรงหนุนจากการลดอัตราดอกเบี้ยของจีน
ค่าเงินบาท USD/THB อ่อนค่า ปรับตัวขึ้น 1.08% ยืนเหนือ 36.110 บาทอีกครั้งในช่วงบ่าย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Octa
Vantage
FBS
ATFX
FP Markets
TMGM
Octa
Vantage
FBS
ATFX
FP Markets
TMGM
Octa
Vantage
FBS
ATFX
FP Markets
TMGM
Octa
Vantage
FBS
ATFX
FP Markets
TMGM