简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เงินเฟ้อไทยเดือนตุลาคมชะลอลงต่อเนื่องสู่ 5.98% ติดต่อกันมา 2 เดือน !
กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนตุลาคม ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับ 5.98% จากการชะลอตัวลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงราคาเนื้อสัตว์ที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ราคาอาหารโดยรวมยังอยู่ในระดับสูงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกจากภาวะน้ำท่วมหนัก ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มองว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลงในเดือนพฤศจิกายน ตามราคาสินค้าหลายรายการที่ชะลอตัวลงหรือคงที่ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากมาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐ ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความเสี่ยงที่ราคาสินค้าพลังงานอาจปรับตัวสูงขึ้น ตามภาวะอุปทานตึงตัว ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ
แนวโน้มการชะลอตัวลงต่อเนื่องของเงินเฟ้อไทย และท่าทีการชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ทำให้เรายังคงมองเดิมว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ครั้งละ 0.25% จนแตะระดับ 1.25% ปลายปีนี้ และแตะระดับสูงสุดของรอบการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ที่ 2.00% ในกลางปีหน้า แม้ว่าตลาดจะรับรู้การทยอยขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. ไปมากแล้ว แต่ควรติดตามความเสี่ยงต่อทิศทางเงินเฟ้อ อาทิ การอ่อนค่าของเงินบาท รวมถึงทิศทางราคาสินค้าพลังงาน
กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 5.98% ลดลง จากระดับ 6.41% ในเดือนกันยายนเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 5.98% จาก 6.41% ในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยหนุนยังคงเป็นราคาสินค้าพลังงานและราคาหมวดอาหารที่อยู่ในระดับสูงจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การส่งผ่านต้นทุนที่สูงของผู้ประกอบการเริ่มมีการชะลอลง ดังจะเห็นได้จากการที่สินค้าหลายรายการมีการปรับเพิ่มขึ้นราคาไม่มากหรือคงราคาไว้ระดับเดิม ทั้งนี้ เมื่อหักราคาอาหารสดรวมถึงพลังงานออก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.17%
กระทรวงพาณิชย์ มองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มชะลอลงในเดือนพฤศจิกายน ตามการชะลอตัวลงของสินค้าหลายรายการ ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายลงจะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรกลับเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ทั้งนี้ ความเสี่ยงเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ ตามภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและความเสี่ยงที่ราคาสินค้าพลังงานอาจปรับตัวสูงขึ้น ในภาวะอุปทานตึงตัว อนึ่ง กระทรวงพาณิชย์คงประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปที่ระดับ 5.5%-6.5% ในปีนี้ (ค่ากลาง 6.0%)
ข้อมูลจาก : Investing.com
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex อ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูลหมดไส้หมดพุง แอปเดียวที่จบครบ เรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ศาลยกฟ้องคดีแชร์ Forex-3D ดีเจแมน – ใบเตย-แดริล
ปัจจัยใดบ้างที่น่าจะมีผลสำคัญที่สุดต่อนักลงทุนในปี 2025? 1. ผลกระทบระดับโลกจากการปรับสมดุลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ 2. การเปลี่ยนแปลงจากเซมิคอนดักเตอร์ไปสู่ SaaS 3. การนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ใหม่
การสรุปพอร์ตในปีเก่าไม่เพียงแค่เป็นการทบทวนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แต่ยังเป็นการเตรียมความพร้อมและวางแผนให้กับการลงทุนในปีใหม่ด้วย การตั้งเป้าหมายใหม่ การปรับกลยุทธ์ และการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม จะทำให้เรามีแนวทางที่มั่นคงและลดความเสี่ยงในการเทรดมากขึ้น ขอให้ทุกท่านพร้อมรับปีใหม่ด้วยความมั่นใจและกลยุทธ์ที่ดียิ่งขึ้นครับ!
ในปีนี้ อย่าลืมว่า การสร้างวินัยในการเทรด ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้เสร็จได้ในวันเดียว มันเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความอดทน ความสำเร็จในการเทรดจะไม่เกิดขึ้นจากการกระทำที่หุนหันพลันแล่น แต่จะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ การพัฒนาตัวเอง และการทำตามแผนอย่างเคร่งครัด
IC Markets Global
Tickmill
FXTM
FBS
Vantage
FOREX.com
IC Markets Global
Tickmill
FXTM
FBS
Vantage
FOREX.com
IC Markets Global
Tickmill
FXTM
FBS
Vantage
FOREX.com
IC Markets Global
Tickmill
FXTM
FBS
Vantage
FOREX.com