简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้เฟดจะส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อและอาจคงดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25% แต่ผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยลง ท่ามกลางความกังวลปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคาร
• ควรจับตาปัจจัยความกังวลปัญหาเสถียรภาพระบบธนาคารฝั่งสหรัฐฯ และยุโรป รวมถึง รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ เนื่องจากความกังวลดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินไม่เหมือนกัน
• เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ หากอัตราเงินเฟ้อ PCE ออกมาสูงกว่าคาด และผู้เล่นในตลาดคลายกังวลปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคาร แต่หากตลาดยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นได้ ในกรณีที่ ความกังวลอยู่ที่ฝั่งธนาคารยุโรปมากกว่าฝั่งสหรัฐฯ (กดดันสกุลเงินฝั่งยุโรปอ่อนค่าลง) ทั้งนี้ ทองคำและเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) อาจยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่ผู้เล่นในตลาดต้องการถือ หากตลาดปิดรับความเสี่ยง ส่วนค่าเงินบาท มีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways โดยมีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ หากนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะหุ้น หรือ ในจังหวะที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทอาจถูกชะลอด้วยโฟลว์ซื้อสกุลเงินต่างประเทศของบรรดาผู้นำเข้าและบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่น (Japanese MNCs)
• มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ คือ 33.90-34.50 บาท/ดอลลาร์
ไฮไลต์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้มีดังนี้
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญ คือ รายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ PCE ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า โมเมนตัมของอัตราเงินเฟ้อ PCE ในเดือนกุมภาพันธ์ อาจชะลอลงสู่ระดับ +0.4%m/m ตามการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าพลังงานและราคาสินค้าโดยรวม ส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อ PCE ชะลอลงสู่ระดับ 5.1% อย่างไรก็ดี หากตัดผลของราคาพลังงานและราคาอาหาร โมเมนตัมของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE จะอยู่ที่ +0.4%m/m ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ยังคงอยู่ที่ระดับ 4.7% สอดคล้องกับภาพตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งและตึงตัว ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ในส่วนภาคการบริการที่ไม่รวมผลของที่อยู่อาศัย (Core Services Ex. Housing) ชะลอตัวลงช้า
อย่างไรก็ดี หากอัตราเงินเฟ้อ PCE และ Core PCE ไม่ได้เร่งตัวสูงขึ้น ประกอบกับ ภาวะตึงตัวด้านสินเชื่อจากผลกระทบของปัญหาสภาพคล่องในระบบธนาคาร ก็จะช่วยลดความจำเป็นที่เฟดจะต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องจนทะลุระดับ 5.25% แต่ทว่า เฟดอาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25% จนกว่าเฟดจะมั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มกลับสู่เป้าหมาย 2% อย่างชัดเจน ซึ่งเรามองว่า ภาพดังกล่าวอาจเกิดขึ้นพร้อมกับการชะลอตัวลงมากขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะการจ้างงาน ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของเฟด หลังผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า เฟดจะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยและเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
2. ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนี ผ่านรายงานดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Ifo Business Climate) เดือนมีนาคม ซึ่งตลาดคาดว่า ดัชนีอาจปรับตัวลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 91 จุด กดดันโดยแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของธนาคารกลางยุโรป (ECB) รวมถึงภาวะเงินเฟ้อสูง และล่าสุด ความกังวลต่อเสถียรภาพของระบบธนาคาร นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของทั้งสองธนาคารกลาง ว่าจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยจนแตะจุดสูงสุด (Terminal Rate) ณ ระดับใด
3. ฝั่งเอเชีย – ตลาดจะรอจับตา การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือน อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ว่าจะสามารถคงโมเมนตัมขยายตัวราว +13%y/y ได้หรือไม่ เช่นเดียวกันกับฝั่งญี่ปุ่น ตลาดมองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยหนุนให้ยอดค้าปลีกในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น +5.8%y/y ส่วนในฝั่งจีน ตลาดประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจจีนก็มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง หลังการผ่อนคลายมาตรการ Zero COVID สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคบริการเดือนมีนาคม ที่ระดับ 50.5 จุด และ 54.3 จุด ตามลำดับ (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว)
4. ฝั่งไทย – เราคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติเป็นเอกฉันท์ “ขึ้น” ดอกเบี้ยนโยบาย +0.25% สู่ระดับ 1.75% พร้อมกันนั้น กนง. อาจปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวของการบริโภคในประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติดีขึ้นจากการประชุมเดือนธันวาคม ส่วนคาดการณ์ยอดการส่งออกอาจถูกปรับลง ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะสอดคล้องกับรายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศในช่วงนี้ ที่ตลาดประเมินว่า ยอดการส่งออก (Exports) เดือนกุมภาพันธ์ จะยังคงหดตัว -7%y/y สอดคล้องกับภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ยอดการนำเข้า (Imports) จะขยายตัว +2%y/y ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความต้องการบริโภคในประเทศที่ขยายตัวได้ดี ทำให้ดุลการค้าอาจขาดดุลเกือบ -2 พันล้านดอลลาร์ได้
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
การใช้ Sentiment Analysis เป็นการเทรดที่มีความทันสมัยและเต็มไปด้วยศักยภาพในการทำกำไรจากข้อมูลที่อาจมองข้ามได้ในตลาดดั้งเดิม ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ความคิดเห็นและความรู้สึกของนักลงทุนในช่วงเวลาต่างๆ Sentiment Analysis ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถจับจังหวะการเคลื่อนไหวของตลาดและทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความโลภอาจเป็นสิ่งที่ผลักดันให้คุณไปสู่การทำกำไรที่สูงขึ้น แต่ในทางกลับกันมันก็สามารถทำให้คุณหลุดออกจากเส้นทางการเทรดที่มีระเบียบได้อย่างง่ายดาย การยอมรับความเสี่ยง การตั้งขีดจำกัดในการเทรด และการรักษาวินัยในตัวเองจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากความโลภ และสามารถเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
ความมั่นใจเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักเทรด แต่ความมั่นใจเกินไปอาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำกำไร และอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ดังนั้น การรักษาความมั่นใจในตัวเองในระดับที่พอเหมาะ พร้อมกับการยอมรับความเสี่ยงและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยั่งยืน
EC Markets
STARTRADER
HFM
GO MARKETS
VT Markets
FxPro
EC Markets
STARTRADER
HFM
GO MARKETS
VT Markets
FxPro
EC Markets
STARTRADER
HFM
GO MARKETS
VT Markets
FxPro
EC Markets
STARTRADER
HFM
GO MARKETS
VT Markets
FxPro