简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้ นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยและมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คาดว่า เฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ จับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ข้อมูลตลาดแรงงาน และ รอลุ้น ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ( กนง.)
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้ นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยและมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คาดว่า เฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ จับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ข้อมูลตลาดแรงงาน และ รอลุ้น ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ( กนง.)
• เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้บ้าง หลังล่าสุดการเจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ อาจประสบความสำเร็จได้ก่อนกำหนด นอกจากนี้ ทิศทางของเงินดอลลาร์จะขึ้นกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อย่าง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมและการเติบโตของค่าจ้าง แต่ Upside เงินดอลลาร์อาจมีไม่มาก หลังผู้เล่นในตลาดได้คาดหวังการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟดไปพอสมควร ในส่วนของค่าเงินบาท ปัจจัยหลักยังคงเป็นทิศทางเงินดอลลาร์และราคาทองคำ ทั้งนี้ ควรจับตาฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ โดยเรามองว่ามีโอกาสเห็นนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อบอนด์ไทยหลังรับรู้ผลการประชุม กนง. ขณะที่แรงซื้อหุ้นไทยอาจยังไม่ชัดเจน จนกว่าความเสี่ยงการเมืองในประเทศจะลดลง อนึ่ง หากเงินบาทอ่อนค่าทะลุแนวต้านโซน 34.80 บาทต่อดอลลาร์ ก็อาจอ่อนค่าเร็วไปสู่โซน 35.00 บาทต่อดอลลาร์ได้
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะอยู่ที่รายงานข้อมูลตลาดแรงงาน โดยตลาดมองว่า ยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (JOLTs Job Openings) อาจยังคงสะท้อนว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงตึงตัวอยู่ (ยอดตำแหน่งงานเปิดรับ สูงกว่า ยอดผู้ว่างงานพอสมควร) ส่วนยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ในเดือนพฤษภาคม อาจลดลงสู่ระดับ 1.8 แสนราย จากระดับกว่า 2.5 แสนราย ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงการปรับแผนการจ้างงานของภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากทั้งอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ต้นทุนการผลิตสูงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่โดยรวมการจ้างงานในภาคการบริการอาจยังคงดีอยู่ สอดคล้องกับการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการบริการ (แม้ว่าจะเป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลงก็ตาม)
นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะให้ความสนใจต่ออัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings) ซึ่งหากค่าจ้างยังคงขยายตัวราว +0.4%m/m หรือ ไม่น้อยกว่า 4.4%y/y ก็อาจยังเป็นปัจจัยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อชะลอลงช้า และหนุนให้เฟดอาจจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวต่อ ซึ่งผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟด ผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด อนึ่ง ปัจจัยการเมืองสหรัฐฯ จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้ หลังล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯ และประธานสภาผู้แทนฯ จากพรรครีพับลิกัน อาจบรรลุข้อตกลงใน การเจรจาขยายเพดานหนี้ (Debt Ceiling) ซึ่งต้องรอติดตามว่า สภาคองเกรสจะอนุมัติร่างข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่
2. ฝั่งยุโรป – ตลาดมองว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจจำเป็นต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง หากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI ของยูโรโซน เดือนพฤษภาคม ยังคงทรงตัวที่ระดับ 7.00% (อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI อาจอยู่ที่ระดับ 5.6%) โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดต่างมองว่า ECB มีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย (Deposit Facility Rate) ต่อเนื่องจนแตะระดับ 3.75% ได้ในปีนี้ (ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 3.25%)
3. ฝั่งเอเชีย – ตลาดคาดว่า เศรษฐกิจเวียดนามยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง หนุนโดยการบริโภคในประเทศที่ได้แรงส่งจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจะสะท้อนผ่าน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤษภาคมที่อาจขยายตัว +11%y/y เช่นเดียวกันกับในฝั่งญี่ปุ่น ยอดค้าปลีกเดือนเมษายนอาจขยายตัวราว +5.8%y/y สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของดัชนีความเชื่อมั่นครัวเรือนญี่ปุ่น (Household Confidence) ส่วนในฝั่งจีน ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการในเดือนพฤษภาคม โดยตลาดมองว่า เศรษฐกิจจีนยังคงได้แรงหนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการบริการ โดยดัชนี PMI ภาคการบริการอาจอยู่ที่ระดับ 55 จุด (แม้ว่าจะเป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า) ขณะที่ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของจีนอาจยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตอาจอยู่ที่ระดับ 49.4 จุด ทั้งนี้ หากรายงานดัชนี PMI ของจีนออกมาแย่กว่าคาด ก็อาจกดดันให้ผู้เล่นในตลาดต่างลดการถือครองหุ้นจีนและหุ้นฮ่องกง ซึ่งอาจทำให้ค่าเงินหยวนของจีนมีโอกาสอ่อนค่าต่อได้
4. ฝั่งไทย – ตลาดประเมินว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าอาจส่งผลให้ยอดการส่งออก (Exports) เดือนเมษายน หดตัวต่อเนื่อง -2.2%y/y อย่างไรก็ดี ยอดการส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นได้ในช่วงครึ่งปีหลัง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจฝั่งเอเชีย ทว่าแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจหลัก อย่าง สหรัฐฯ และยุโรปก็อาจเป็นปัจจัยกดดันการส่งออกของไทยได้ ในส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เราคาดว่า แนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ภายใต้อัตราเงินเฟ้อที่แม้จะชะลอลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่ากลางของกรอบเป้าหมาย จะส่งผลให้ กนง. ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 2.00% ทั้งนี้ เราเตรียมปรับคาดการณ์จุดสูงสุดดอกเบี้ยนโยบาย (Terminal Rate) ใหม่ หาก กนง. ส่งสัญญาณชัดเจนพร้อมขึ้นดอกเบี้ยต่อ หรือกังวลแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อมากขึ้น
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
รีวิวโบรกเกอร์ easyMarkets
บทเรียนจากประสบการณ์เทรด Forex เกือบ 10 ปีของนักเทรดเน้นว่า เครื่องมือเยอะไม่ได้ช่วยเทรดรอด แต่ควรมีระบบที่ถนัด, การแก้พอร์ตมักเสี่ยงเสียหายหนัก แนะนำตั้ง SL, มือใหม่ควรเริ่มด้วยทุนน้อยเพื่อเรียนรู้ตลาดที่ต้องใช้เวลานิ่ง, และระวังกลุ่มมิจฉาชีพหรือโค้ชปลอมที่หลอกลวงผ่านโบรกเถื่อนและการสร้างภาพ ความระมัดระวังและการเรียนรู้ด้วยตัวเองคือสิ่งสำคัญ
บทวิเคราะห์ทองคำ
การเทรด Forex ต้องเสียภาษีไหม? หรือรายได้จากการเทรดถูกจัดอยู่ในประเภทไหน? วันนี้แอดเหยี่ยวรวบรวมคำตอบมาให้ครบถ้วน
FXTM
FP Markets
IC Markets Global
FOREX.com
Octa
FBS
FXTM
FP Markets
IC Markets Global
FOREX.com
Octa
FBS
FXTM
FP Markets
IC Markets Global
FOREX.com
Octa
FBS
FXTM
FP Markets
IC Markets Global
FOREX.com
Octa
FBS