简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้เราจะมาพูดถึงสินทรัพย์ ที่ได้รับความนิยมในหมู่นักลงทุน ซึ่งได้แก่ ทองคำ และดอลลาร์ (ที่ได้ชื่อว่าสกุลเงินหลักของโลก) คุณเคยสงสัยกันไหม ว่าสินทรัพย์เหล่านี้ มีความสัมพันธ์ต่อกันหรือไม่ และถ้าสัมพันธ์ จะสัมพันธ์กันอย่างไร มาหาคำตอบได้ในบทความนี้
วันนี้เราจะมาพูดถึงสินทรัพย์ ที่ได้รับความนิยมในหมู่นักลงทุน ซึ่งได้แก่ ทองคำ และดอลลาร์ (ที่ได้ชื่อว่าสกุลเงินหลักของโลก) คุณเคยสงสัยกันไหม ว่าสินทรัพย์เหล่านี้ มีความสัมพันธ์ต่อกันหรือไม่ และถ้าสัมพันธ์ จะสัมพันธ์กันอย่างไร มาหาคำตอบได้ในบทความนี้
ย้อนกลับไปในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ทองคำ จากนั้นจึงเริ่มพัฒนามาเป็นกระดาษ คือ เงิน อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เงินกระดาษสามารถพิมพ์ออกมาได้อย่างไม่จำกัดจึงไม่มีมูลค่าในตัวเอง ธนาคารกลางจึงหารือเพื่อให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพมากขึ้นและสามารถทำการค้ากันได้อย่างสะดวกสบาย จนได้ระบบเรียกว่า Gold Standard ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของทองคำเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินสกุลดอลลาร์
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่าง ๆ ที่มีสกุลเงินเป็นของตัวเองต่างประสบปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน เนื่องจากต่างคนต่างกำหนดค่าเงินเพื่อประโยชน์ทางการค้า เช่น กำหนดค่าเงินให้อ่อนก็เพื่อประโยชน์การส่งออก บางประเทศก็อาศัยทองคำสนับสนุนในอัตราส่วนที่กำหนดเอง ทำให้การค้าขายค้า การลงทุนระหว่างประเทศเป็นไปด้วยความหวาดระแวง ประกอบกับหลายประเทศดำเนินนโยบายการค้าแบบปิด กีดกันการค้าและการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การตั้งกำแพงภาษีในระดับสูง การอุดหนุนการส่งออก ทำให้ทั่วโลกเกิดความขัดแย้งระหว่างกันและเป็นส่วนหนึ่งของชนวนนำไปสู่สงครามโลก
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แฟรงค์ลิน ดี รูสเวสท์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ร่วมกับวินสตัน เซอร์ซิลล์ นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ริเริ่มให้มีการหารือระหว่างประเทศเพื่อเจรจาหาแนวทางจัดระเบียบการเงินระหว่างประเทศ และหาทางหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ
โดยผลที่ออกมา คือ การลงนามใน Bretton Woods Agreements ประกอบด้วยการที่สมาชิกยินยอมที่จะยกเลิกการกำหนดค่าเงินเองหรือการใช้ทองคำหนุนหลัง แล้วหันไปผูกติดอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินตัวเองกับสกุลเงินดอลล่าร์ โดยให้ดอลล่าร์เป็นสกุลเดียวที่มีทองคำหนุนหลัง และก่อตั้งองค์กรทางการเงินระหว่างประเทศขึ้นมาใหม่ 2 แห่ง คือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และ ธนาคารเพื่อการก่อสร้างและการพัฒนา (IBRD) เพื่อเป็นกลไกจัดการกับประเด็นดังกล่าว โดยเงื่อนไขที่สำคัญ คือ ทุกชาติจำเป็นจะต้องผูกค้าเงินไว้กับทองคำหรือเงินสกุลดอลล่าร์และกำหนดให้สามารถนำเงินดอลลาร์ที่ตัวเองมีนั้นมาแลกเป็นทองคำได้ที่ 35 ดอลลาร์ต่อ 1 ออนส์ จะเห็นว่าสหรัฐอเมริกาเข้ามาเกี่ยวข้องกับทั่วโลก ทำให้เงินดอลลาร์เป็นสื่อกลางในการทำการค้าระหว่างประเทศ แม้ว่าระบบ Bretton Woods จะล่มสลายไปแล้ว แต่ยังส่งผลให้ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกยังคงใช้ทองคำเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจนถึงปัจจุบัน และในช่วง Covid-19 หลายประเทศก็ซื้อทองคำเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทองคำจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อสถานะความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น จึงมีความสัมพันธ์ระหว่างราคาทองคำและสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อราคาทองคำเมื่อมูลค่าของเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นหรือลดลง
ทองคำ กับ ดอลลาร์ (ราคาสวนทางกัน) : เนื่องจากเงินดอลลาร์ เป็นสกุลเงินที่มีการใช้กันมาก และเป็นสื่อกลางในการซื้อขายทองคำถูก ทำให้ค่าเงินดอลลาร์มีความผกผันกับราคาทอง การที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า ส่งผลดีกับราคาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่สามารถเก็บมูลค่า ทำให้กระแสเงินของแต่ละประเทศต่างไหลเข้าสู่ทองคำ ส่งผลให้ทองคำมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากเงินดอลลาร์แข็งค่า ส่งผลต่อราคาทองโดยนักลงทุนจะหันมาใช้จ่ายหรือลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์แทน ส่งผลให้ราคาทองคำลดลง
แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐและทองคำมีความสำคัญ แต่เงินดอลลาร์ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อราคาของโลหะมีค่า ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อมูลค่าของทองคำและเงินดอลลาร์ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ นโยบายการเงิน และอุปสงค์และอุปทาน
ที่มา : www.scb.co.th
ที่สำคัญก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! อย่าลืมมาตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
บทความนี้นำเสนอแนวคิดที่เชื่อมโยงความรักกับการเทรด Forex ผ่านมุมมองที่โรแมนติก โดยเปรียบเทียบหลักการสำคัญของความรัก เช่น ความเข้าใจ ความอดทน การบริหารความเสี่ยง และการปรับตัว กับกลยุทธ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพ ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า ความสำเร็จในการเทรดไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่การคาดเดาทิศทางตลาด แต่ต้องอาศัยการสังเกต การให้เวลา และการปรับตัวเช่นเดียวกับการดูแลความสัมพันธ์ ในท้ายที่สุด บทความนี้กระตุ้นให้เทรดเดอร์มองตลาดด้วยมุมมองที่ลึกซึ้งขึ้น และค้นพบความสุขระหว่างทางในการเทรด
“ทรัมป์” ประกาศมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ คาดมีผลบังคับใช้เดือนเม.ย.
บทวิเคราะห์ทองคำ
WikiFX Elites Club เปิดตัวอย่างเป็นทางการ: รวบรวมชนชั้นสูงในอุตสาหกรรมเพื่อสร้างระบบนิเวศการลงทุนที่ดี
Exness
Neex
STARTRADER
FP Markets
FBS
FXTM
Exness
Neex
STARTRADER
FP Markets
FBS
FXTM
Exness
Neex
STARTRADER
FP Markets
FBS
FXTM
Exness
Neex
STARTRADER
FP Markets
FBS
FXTM