简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้น หนุนโดยความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงตลาดผันผวน และแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้น หนุนโดยความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงตลาดผันผวน และแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
• รอติดตาม รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญจากบรรดาเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ และดัชนี PMI ของจีน พร้อมจับตาสถานการณ์การเมืองรัสเซียและสงครามรัสเซีย-ยูเครน อย่างใกล้ชิด
• เงินดอลลาร์อาจยังพอได้แรงหนุน หากตลาดการเงินเผชิญความผันผวนจากความไม่แน่นอนของการเมืองในรัสเซียหรือสถานการณ์สงครามที่อาจร้อนแรงขึ้น อนึ่ง เงินดอลลาร์ก็อาจกลับมาอ่อนค่าลงได้ หากตลาดเริ่มไม่เชื่อมั่นต่อการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ในกรณีที่ อัตราเงินเฟ้อ PCE และตลาดแรงงานชะลอลงชัดเจน
• ในส่วนของค่าเงินบาท แรงกดดันฝั่งอ่อนค่ายังพอมีอยู่และเงินบาทอาจแกว่งตัวในกรอบใหม่ หลังอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้าน 35 บาทต่อดอลลาร์ ในสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ ควรรอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อค่าเงินหยวนจีนและค่าเงินบาทได้ (Correlation 62%) นอกจากนี้ หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นได้บ้างในจังหวะตลาดไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยง ก็อาจช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้เช่นกัน
• มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 35.00-35.50 บาท/ดอลลาร์
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ในสัปดาห์นี้ ควรรอจับตาการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด หลังจากที่ Dot Plot ใหม่ ได้สะท้อนว่า เฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ออีก 2 ครั้ง และบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะประธานเฟด ต่างก็ย้ำจุดยืนเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ โดยผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ผ่านรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE เดือนพฤษภาคม ซึ่งนักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อ PCE อาจชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 3.8% จากระดับ 4.4% ในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ก็อาจชะลอลงสู่ระดับ 4.6% และที่สำคัญอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานภาคบริการที่ไม่รวมค่าที่พักอาศัย (Core Services ex. Housing) ก็มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง ซึ่งหากสิ่งที่นักวิเคราะห์ประเมินนั้นถูกต้อง เรามองว่า โอกาสที่เฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อตาม Dot Plot ก็อาจลดลง ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินสถานการณ์ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ผ่านรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกและการว่างงานต่อเนื่อง (Initial and Continuing Jobless Claims) ซึ่งตลาดมองว่า อาจมีแนวโน้มทยอยปรับตัวสูงขึ้น ตามภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะถ้อยแถลงของประธานเฟด
2. ฝั่งยุโรป – หลังจากที่ตลาดได้รับรู้อัตราเงินเฟ้อ CPI อังกฤษที่เร่งตัวขึ้น สูงกว่าคาดในสัปดาห์ก่อน ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจรอจับตา อัตราเงินเฟ้อ CPI ของยูโรโซน อย่างใกล้ชิด โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI เดือนมิถุนายน อาจชะลอลงสู่ระดับ 5.6% จาก 6.1% ในเดือนก่อนหน้า ตามการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของราคาพลังงาน อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI อาจเร่งขึ้นสู่ระดับ 5.6% จาก 5.3% ตามการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการบริการ โดยเฉพาะในช่วงที่เป็นไฮซีซั่นของการท่องเที่ยว ซึ่งภาพอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อาจส่งผลให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) สามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องได้อีก 2 ครั้ง ในปีนี้ และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามสถานการณ์การเมืองรัสเซียอย่างใกล้ชิด หลังในช่วงวันหยุดได้เกิดความวุ่นวายจากการยกกำลังพลของทหารรับจ้าง (PMC) กลุ่ม Wagner เข้าประชิดกรุงมอสโก เมืองหลวงของรัสเซีย ก่อนที่ทางการรัสเซียจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับทางกลุ่ม Wagner ซึ่งล่าสุดได้ทยอยถอนกำลังไปยังประเทศเบลารุส อย่างไรก็ดี สถานการณ์ยังคงมีความไม่แน่นอนและเต็มไปด้วยข่าวลือที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน ซึ่งอาจสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงิน เนื่องจากความวุ่นวายของการเมืองรัสเซียอาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มสงครามรัสเซีย-ยูเครนได้
3. ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจจีนอาจยังคงฟื้นตัวได้ไม่ดีนัก สะท้อนผ่านการขยายตัวในอัตราชะลอลงของภาคการบริการ โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (Services PMI) เดือนมิถุนายน อาจลดลงสู่ระดับ 53.3 จุด (ดัชนีสูงกว่า 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว) ขณะที่ภาคการผลิตอาจยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตอาจอยู่ที่ระดับ 49 จุด (ดัชนีต่ำกว่า 50 จุด หมายถึง ภาวะหดตัว) อย่างไรก็ดี ภาพเศรษฐกิจจีนที่ดูไม่สดใส จะยิ่งหนุนโอกาสให้ทางการจีนและธนาคารกลางจีน (PBOC) ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมและเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายได้
ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น ตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่น ผ่านรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤษภาคม ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวราว +0.8%m/m (+5.2%y/y) หนุนโดยการฟื้นตัวต่อเนื่องของการบริโภคในประเทศที่ได้แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวและตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวได้ดีและตึงตัวมากขึ้น
4. ฝั่งไทย – ตลาดประเมินว่า ยอดการส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคมอาจหดตัวต่อเนื่อง -8%y/y ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ (สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตของประเทศคู่ค้าที่ปรับตัวลดลง)
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ความมั่นใจเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักเทรด แต่ความมั่นใจเกินไปอาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำกำไร และอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ดังนั้น การรักษาความมั่นใจในตัวเองในระดับที่พอเหมาะ พร้อมกับการยอมรับความเสี่ยงและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยั่งยืน
Zero-Day Options คือเครื่องมือที่เหมาะกับเทรดเดอร์ที่รักความท้าทาย ชอบการเทรดแบบจบภายในวัน และพร้อมรับมือกับความผันผวนที่สูง เทรดเดอร์ที่เก่งกาจสามารถเปลี่ยนความเสี่ยงนี้ให้กลายเป็นโอกาสทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับมือใหม่ก็ต้องศึกษาและฝึกฝนให้มากก่อนที่จะกระโจนเข้าสู่สนามนี้
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
การทำงานของความกลัวในตลาดไม่ต่างจากการทำงานของสัญชาตญาณในตัวเรา เมื่อเรามองเห็นความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยง ความกลัวจะกระตุ้นให้เราหลีกเลี่ยงหรือป้องกันตัวเองจากการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อตลาดมีความผันผวนมากขึ้นหรือเมื่อมีข่าวที่ไม่ดีออกมา นักลงทุนมักจะตกอยู่ในสภาวะตกใจและเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ง่าย
FBS
VT Markets
Tickmill
TMGM
Octa
ATFX
FBS
VT Markets
Tickmill
TMGM
Octa
ATFX
FBS
VT Markets
Tickmill
TMGM
Octa
ATFX
FBS
VT Markets
Tickmill
TMGM
Octa
ATFX