简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:จับตารายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ และไทย รวมถึง เตรียมพร้อมรับมือ ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในประเทศ
วันพฤหัสบดี 10 ส.ค. 2023
• 19.30 : ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ CPI m/m ตัวเลขคาดการณ์ 0.2%
• 19.30 : ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ CPI y/y ตัวเลขคาดการณ์ 3.3%
• 19.30 : ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานสหรัฐฯ Core CPI m/m ตัวเลขคาดการณ์ 0.2%
วันศุกร์ที่ 11 ส.ค. 2023
• 19.30 : ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐานสหรัฐฯ Core PPI m/m ตัวเลขคาดการณ์ 0.2%
• 19.30 : ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ PPI m/m ตัวเลขคาดการณ์ 0.2%
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) ในช่วงตลาดปิดรับความเสี่ยง ก่อนจะกลับมาย่อตัวลง หลังยอดการจ้างงานสหรัฐฯ ล่าสุดออกมาแย่กว่าคาด
หากตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) เงินดอลลาร์ก็มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้บ้าง
ทั้งนี้ เงินดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงต่อเนื่องได้พอสมควร หากรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในวันพฤหัสฯ นี้ ชะลอลงต่อเนื่อง ทำให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งมองว่า เฟดอาจจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนกรกฎาคม โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI จะอยู่ที่ระดับ 3.3% (คิดเป็นการเพิ่มขึ้น +0.2%m/m) ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามแรงหนุนของราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ยังคงประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI มีแนวโน้มชะลอลงและอาจทรงตัวใกล้ระดับ 3.0%-3.5% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ก็อาจทรงตัวที่ระดับ 4.8% และมีแนวโน้มชะลอลง ตามภาพการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งหากอัตราเงินเฟ้อและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานออกมาตามคาด ผู้เล่นในตลาดอาจยังคงมองว่า เฟดจะยังไม่สามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องได้ในการประชุมเดือนกันยายน (จาก CME FedWatch Tool ล่าสุด ผู้เล่นในตลาดยังให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยต่อในปีนี้ ไม่ถึง 30%) นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากบรรยากาศในตลาดการเงินก็อาจผันผวนไปตามการตอบรับของผู้เล่นในตลาดต่อรายงานผลประกอบการได้
2. ฝั่งยุโรป – นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินว่า แนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซนที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องและผลกระทบจากการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (Sentix Investor Confidence) เดือนสิงหาคม ปรับตัวลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ -24.5 จุด ส่วนในฝั่งอังกฤษ ตลาดมองว่า เศรษฐกิจอังกฤษอาจชะลอลงมากขึ้นในไตรมาสที่ 2 โดยเศรษฐกิจอาจไม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากที่ขยายตัวราว +0.1%q/q ในไตรมาสแรก กดดันโดยผลกระทบต่อเนื่องจากการประท้วงหยุดงานในช่วงต้นปี และ ผลกระทบจากการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงมองว่า หาก BOE เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ก็อาจส่งผลให้เศรษฐกิจอังกฤษชะลอลงมากขึ้นและเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ในช่วงปลายปีนี้หรือในช่วงต้นปีหน้า
3. ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ผ่านรายงานยอดการค้าล่าสุด โดยนักวิเคราะห์ประเมินว่า ยอดการส่งออก (Exports) เดือนกรกฎาคมจะยังคงหดตัวกว่า -12.6%y/y กดดันโดยการชะลอตัวของบรรดาเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า สอดคล้องกับรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตที่ยังคงอยู่ในภาวะหดตัว (ดัชนีต่ำกว่าระดับ 50 จุด) นอกจากนี้ การฟื้นตัวในประเทศที่ยังคงซบเซาจะกดดันให้ยอดการนำเข้า (Imports) ยังคงหดตัว -5.3%y/y ทั้งนี้ ในระยะถัดไป เราคาดว่า ยอดการค้าของจีน โดยเฉพาะในฝั่งนำเข้าอาจเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น หลังทางการจีนเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ในส่วนนโยบายการเงิน ตลาดมองว่า ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 6.50% เพื่อรอประเมินแนวโน้มอัตราเงินเฟ้ออีกครั้ง หลังอินเดียเผชิญภาวะน้ำท่วมและฝนตกหนัก ซึ่งอาจช่วยลดทอนผลกระทบจากภาวะแล้ง El Nino ได้ นอกจากนี้ ค่าเงินรูปี (INR) และฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติก็มีเสถียรภาพมากขึ้น ลดแรงกดดันต่อ RBI ในการขึ้นดอกเบี้ย
4. ฝั่งไทย – เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI ในเดือนกรกฎาคมอาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 0.8% (คิดเป็นการเพิ่มขึ้น +0.4%m/m) ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจอยู่ที่ระดับ 0.9%-1.0% ซึ่งเรามองว่า อัตราเงินเฟ้อและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในระดับดังกล่าวอาจทำให้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ไม่ได้กังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อมากนัก และเรายังคงมองว่า กนง. อาจเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.25% จนกว่าจะเห็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงกว่าคาด ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่อาจหนุนเงินเฟ้อได้นั้น คือ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ซึ่งยังมีความไม่ชัดเจน จนกว่าจะการจัดตั้งรัฐบาลจะเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ไม่ว่าจะเลือกใช้อุปกรณ์ใด สิ่งสำคัญคือการเลือกเทรดกับ โบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการลงทุนของคุณปลอดภัย ตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์และอ่านรีวิวได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX ที่โหลดฟรี! อย่าหลงกลมิจฉาชีพ เพราะการลงทุนกับผู้ให้บริการที่ไม่น่าเชื่อถือมีแต่เสียกับเสีย!
โครงสร้างกราฟ “หลอก” ในมุมมอง SMC การเทรด Forex ในคู่เงินเดียวกันนั้น นักเทรดสามารถทำกำไรได้ทั้งการ Long และ Short ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละคน ในวิดีโอนี้ เจ้าของช่องได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการเทรดที่เขาใช้เพื่อต่อกรกับเจ้ามือ
บทวิเคราะห์ทองคำ
“ความหลากหลายของการซื้อขายที่ปลอดภัย” — WikiEXPO Dubai 2024 เปิดโลกทัศน์ใหม่สำหรับอุตสาหกรรมฟินเทคระดับโลก
XM
Tickmill
STARTRADER
OANDA
Octa
IC Markets Global
XM
Tickmill
STARTRADER
OANDA
Octa
IC Markets Global
XM
Tickmill
STARTRADER
OANDA
Octa
IC Markets Global
XM
Tickmill
STARTRADER
OANDA
Octa
IC Markets Global