简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
วันอังคารที่ 15 ส.ค. 2023
•19.30 น. : ดัชนีค้าปลีกสหรัฐฯ Retail Sales m/m ตัวเลขคาดการณ์ 0.4%
วันพฤหัสบดี 17 ส.ค. 2023 19.30 น.
• 01.00 น. : รายงานการประชุมเฟด FOMC Meeting Minutes
•19.30 น. : จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ Unemployment Claims ตัวเลขคาดการณ์ 240K
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยและการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ หลังตลาดเพิ่มโอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ย
ควรรอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่นและจีน รวมถึงจับตารายงานการประชุมล่าสุดของเฟด และติดตาม ความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคเพื่อไทย
เงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นต่อได้ หากตลาดยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง หรือตลาดเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด หรือรายงานการประชุมเฟดที่ย้ำจุดยืนเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย ในส่วนของค่าเงินบาท แม้ว่าปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่ายังคงอยู่ แต่โมเมนตัมการอ่อนค่าเริ่มแผ่วลง โดยหากการจัดตั้งรัฐบาลมีความชัดเจนมากขึ้น เงินบาทก็สามารถกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้ตามฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี ควรระวังความผันผวนจากฝั่งตลาดการเงินจีน ที่อาจกดดันให้เงินหยวนอ่อนค่าลง กระทบค่าเงินบาทได้
มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 34.75-35.50 บาท/ดอลลาร์
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนกรกฎาคม โดยบรรดานักวิเคราะห์ประเมินว่า ยอดค้าปลีก อาจโตกว่า +0.4%m/m หนุนโดย Amazon Prime Day ที่กระตุ้นยอดขายสินค้าออนไลน์ กอปรกับภาพรวมตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นได้ดีในช่วงที่ผ่านมา อาจยังหนุนให้ผู้คนออกมาใช้จ่าย โดยเฉพาะในส่วนของการใช้จ่ายภาคการบริการ อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางส่วน (รวมถึงเรา) มองว่า การบริโภคในสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลง ตามการชะลอลงของการจ้างงาน, เงินออมส่วนเกิน (Excess Savings) ที่ทยอยหมดลง, ภาระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นตามการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและการบริโภคสไตล์ “ซื้อก่อน ผ่อนจ่ายทีหลัง” ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้เรายังคงมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้น ทำให้เฟดอาจไม่สามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินทิศทางนโยบายการเงินของเฟด ผ่านรายงานการประชุมเฟดล่าสุด (FOMC Meeting Minutes) ซึ่งเราคาดว่า เจ้าหน้าที่เฟดส่วนใหญ่ก็อาจยังสนับสนุนการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อ แต่ก็อาจระบุว่า เฟดนั้นเข้าใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของการขึ้นดอกเบี้ยได้เช่นกัน
2. ฝั่งยุโรป – นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI ของอังกฤษ เดือนกรกฎาคม อาจชะลอลงสู่ระดับ 6.8% จากระดับ 7.9% ในเดือนก่อนหน้า ตามการปรับตัวลดลงของราคาพลังงาน รวมถึงมาตรการคุมราคาแก๊สและค่าไฟฟ้า แต่ทว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI อาจชะลอลงเล็กน้อยสู่ระดับ 6.8% (จาก 6.9%) ทำให้เราประเมินว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ยังมีความจำเป็นที่จะต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง อีก 2 ครั้ง ครั้งละ +25bps จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 5.75% ทั้งนี้ ตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจอังกฤษ จากรายงานยอดค้าปลีก เดือนกรฎาคม โดยการใช้จ่ายของครัวเรือนอาจได้รับผลกระทบจากทั้งภาวะเงินเฟ้อสูง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และภาวะอากาศที่แปรปรวนล่าสุด ทำให้ยอดค้าปลีกอาจหดตัว -0.5% จากเดือนก่อนหน้า ชะลอลงจากที่โตกว่า +0.7% ในเดือนก่อน
3. ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญเดือนกรกฎาคม โดยบรรดานักวิเคราะห์ยังคงประเมินว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนยังคงซบเซาอยู่ กดดันโดยภาคอสังหาฯ ที่ยังคงชะลอตัวลง สะท้อนผ่าน ยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Investment) ที่ขยายตัว +3.7%y/y, YTD ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ส่วนภาพเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอลงก็ยังคงส่งผลให้ ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) โต +4.3%y/y ชะลอลงจากเดือนก่อนเช่นกัน ทั้งนี้ แม้ว่าภาพเศรษฐกิจจีนอาจยังไม่สดใส แต่ตลาดประเมินว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) อาจยังคงอัตราดอกเบี้ย MLF ไว้ที่ระดับ 2.65% ทว่ามีโอกาสที่ PBOC อาจลดอัตราดอกเบี้ย MLF สู่ระดับ 2.55% ในเดือนกันยายน ซึ่งอาจเป็นช่วงที่ทางการจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจอาจโตกว่า +2.9% จากไตรมาสก่อนหน้า เมื่อเทียบเป็นรายปี หนุนโดยการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การบริโภคในประเทศอาจไม่ได้ขยายตัวดีมากนัก จากผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อสูง ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตของค่าจ้าง ทำให้ แม้ว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI ของญี่ปุ่น เดือนกรกฎาคม โดยเฉพาะ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core-Core CPI (ไม่รวมผลของพลังงานและอาหารสด) อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.3% ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็อาจยังไม่มั่นใจต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ จนกว่าการบริโภคในประเทศจะขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง และ BOJ อาจยังไม่รีบใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น
4. ฝั่งไทย – มองว่า การจัดตั้งรัฐบาลผสมอาจเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น ทำให้แรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติอาจเริ่มชะลอลงบ้าง อย่างไรก็ดี ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติจะยังมีความผันผวนอยู่ จนกว่าการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะเสร็จสิ้น
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
3 นิสัยแย่ๆ ที่ควรหลีกเลี่ยงในเส้นทางของการเป็นเทรดเดอร์ นิสัยที่ 1 “ไม่เต็มที่กับการเทรด. นิสัยที่ 2 ใช้อารมณ์ในการเทรด นิสัยที่ 3 พูดคุยกับตัวเองในแง่ลบ
แนวทางสำคัญ 3 ข้อในการเลือก Copy Trade อย่างชาญฉลาด 1. ตรวจสอบประวัติของ Master Copy Trade อย่างละเอียด 2. เลือกต้นทุนการเทรดที่เหมาะสม 3. ตรวจสอบโบรกเกอร์ Forex ที่ให้บริการ Copy Trade
“แทนคุณ” พาผู้เสียหายถูกหลอกลงทุนผ่าน 1000x.live ร้องประธานสภาฯ
บทวิเคราะห์ทองคำ
XM
FBS
FP Markets
TMGM
FxPro
IQ Option
XM
FBS
FP Markets
TMGM
FxPro
IQ Option
XM
FBS
FP Markets
TMGM
FxPro
IQ Option
XM
FBS
FP Markets
TMGM
FxPro
IQ Option