简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:มือใหม่จดเลย ! การบริหารพอร์ตลงทุน Portfolio Management EP.1
โดยหลัก ๆ ในเนื้อหาเราจะเเบ่งพอร์ตการลงทุนออกเป็น 3 ประเภท
• ประเภทเเรกพอร์ตหา Cash Flow หากระเเสเงินสด ระบบ Daytrade
• ประเภทที่สอง พอร์ตระยะกลาง ระบบSwingTrade
• ประเภทที่สาม พอร์ตระยะยาว ระบบ Run trend, Position Trade
พอร์ตสำหรับเทรดปกติ : การเทรดปกติ คือ หน้าเทรดที่เราเทรดเป็นประจำ เราจะใช้ Lot ปกติ ที่เรารับไหว สามารถที่จะ Action ตามแผนได้ดี ไม่ลก ไม่ลน จนหลุดแผน
พอร์ตสำหรับการฝึกฝน : เป็นพอร์ตสำหรับการฝึกฝน ในหน้าเทรดที่เราไม่เข้าใจหรือไม่มั่นใจ หรือเป็นหน้าเทรดที่เราอยากฝึก ไม่ถนัดหรือมีประสบการณ์เทรดทรงนี้มาน้อย เราจะใช้ Lot เล็กลง หรือพอร์ต Micro
พอร์ตสำหรับการรันเทรด : เอาไว้รันกำไรให้เพิ่ม 2-3 เท่าจากปกติ เทรดตามเทรนด์เท่านั้น จะไม่รีบปิดจนกว่าจะถึงเป้าทำกำไร
พอร์ต All-in : เป็นจังหวะที่เราถนัด โอกาสพลาดน้อย Lot ก็จะใหญ่กว่าปกติ
พอร์ตเรียกความมั่นใจ : ในหลาย ๆ จังหวะการเทรดของเราไม่ถูกเสมออยู่แล้ว มันจะมีบางช่วงที่เราเทรดได้ไม่ดี เทรดพลาด อ่านตลาดไม่ออก พอร์ตนี้เราจะลด Lot พอ ๆ กับพอร์ตฝึกฝนเลย เพราะถ้าเทรดแบบปกติ หรือ Lot ใหญ่ ๆ ไปเลยก็มีแต่โดน เราจะค่อย ๆ เก็บกำไร เพื่อ Test Logic ของเราว่าทำไมถึงผิด ทำการบ้านเพิ่ ศึกษาเพิ่ม นั่งทบทวน พอได้กำไรติดต่อกัน ค่อยกลับมาเทรดแบบปกติ เราต้องหาสาเหตุก่อน
พอร์ตหลัก : ลักษณะการเทรดคือ เทรดแบบปลอดภัย, สร้าง Cash Flow, สร้างกำไรอย่างต่อเนื่อง, พอร์ตใช้ท่าที่ตัวเองถนัด
ถอนเก็บและแบ่งไปกองย่อย : ถอนกำไรออกมาเก็บ 10-80% ของกำไร เช้น ได้กำไรมา 100$ แบ่งเก็บ 50$ อีก 50$ นำไปลงทุนต่อ
พอร์ตรองที่1 : ลักษณะการเทรด คือ การปั้นพอร์ตให้เติบโต, เทรดแบบ Swing Trade, สร้างกำไรในระยะกลาง
ถอนเก็บแบ่งไปกองย่อย เข้ามาพอร์ตรองที่ 2 : ลักษณะการเทรด คือ แบ่งกำไรที่ได้มา All-in, ระบบ Sniper/Scalping, กองนี้ไว้ใช้เร่ง CF, High Risk High Return
เอากำไรจากการเทรด Sniper : ถ้าชนะถอนกำไร 50% อีก 50% นำมา Run Trend, ทำพอร์ตเชลยเพื่อทำกำไรคำโต
แบ่งออกเป็น 3 ตำแหน่ง คือ กองหน้า, กองกลาง และกองหลัง
ตำแหน่งกองหน้า : หน้าที่ของกองหน้าคือการทำประตู คือเทรดแบบหา Cash Flow
ตำแหน่งกองกลาง : หน้าที่ของกองกลางคือการสร้างเกมครองเกม โดยเทรดระบบ Swing Trade หรือ Run Trend จะค่อย ๆ สร้างพอร์ตสร้างกำไรขึ้นมา
ตำแหน่งกองหลัง : หน้าที่กองหลังคือการป้องกันไม่ให้เสียประตู คือถือเงินสด Hold Cash ไว้รอป้องกนความเสี่ยงให้กับกองหน้าและกองหลาง เวลาตลาดแพนิคหนัก การถือเงินสดไว้ก็เป็นทางเลือกเอาไว้เติมช่วยกองกลางและกองหน้า อกีทั้งกองหลังยังเป็นตัวช่วย Money Management ที่ดีอีกด้วย
ซึ่งในตัวอย่างใช้แผน 3-5-2 : คือการเน้นไปที่กองกลาง เน้นการครองเกมเป็นหลัก ค่อย ๆ สร้างพอร์ตขึ้นมา
*บางคนอาจเน้นบุก อาจจะใช้แผน 4-3-4 เน้นหากระแสเงินสด
*บางคนเน้นป้องกัน อาจจะใช้แผน 6-3-1 เน้นป้องกันถือเงินสดมากกว่าในวันตลาดแย่ ๆ เก็บเงินสดไว้รอจังหวะดี ๆ และสวนกลับทีเดียว
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจากเพจ Alice Veronica
แอดเหยี่ยวหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! อย่าลืมมาตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ความมั่นใจเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักเทรด แต่ความมั่นใจเกินไปอาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำกำไร และอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ดังนั้น การรักษาความมั่นใจในตัวเองในระดับที่พอเหมาะ พร้อมกับการยอมรับความเสี่ยงและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยั่งยืน
Zero-Day Options คือเครื่องมือที่เหมาะกับเทรดเดอร์ที่รักความท้าทาย ชอบการเทรดแบบจบภายในวัน และพร้อมรับมือกับความผันผวนที่สูง เทรดเดอร์ที่เก่งกาจสามารถเปลี่ยนความเสี่ยงนี้ให้กลายเป็นโอกาสทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับมือใหม่ก็ต้องศึกษาและฝึกฝนให้มากก่อนที่จะกระโจนเข้าสู่สนามนี้
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
การทำงานของความกลัวในตลาดไม่ต่างจากการทำงานของสัญชาตญาณในตัวเรา เมื่อเรามองเห็นความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยง ความกลัวจะกระตุ้นให้เราหลีกเลี่ยงหรือป้องกันตัวเองจากการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อตลาดมีความผันผวนมากขึ้นหรือเมื่อมีข่าวที่ไม่ดีออกมา นักลงทุนมักจะตกอยู่ในสภาวะตกใจและเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ง่าย
HFM
EC Markets
FBS
IC Markets Global
FxPro
FXTM
HFM
EC Markets
FBS
IC Markets Global
FxPro
FXTM
HFM
EC Markets
FBS
IC Markets Global
FxPro
FXTM
HFM
EC Markets
FBS
IC Markets Global
FxPro
FXTM