简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้แอดเหยี่ยวนำบทความดี ๆ จากคุณ Alice Veronica มาฝากกันอีกแล้ว โดยเนื้อหาในครั้งนี้คือเรื่อง “ การใช้ Stop Loss ”
วันนี้แอดเหยี่ยวนำบทความดี ๆ จากคุณ Alice Veronica มาฝากกันอีกแล้ว โดยเนื้อหาในครั้งนี้คือเรื่อง “ การใช้ Stop Loss”
ทำไมถึงต้องเเนะนำเรื่อง Stop Loss คือเราต้องแพ้ให้เป็น ซึ่งการรู้จัก Stoploss หลายคนที่แพ้ตลาด คือไม่ยอมที่จะ Cut Loss หรือ Stop Loss เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า จุดที่เราซื้อขาย มันมีสิทธิ์ชนะ 50% และมีสิทธิ์แพ้ 50% เพราะฉะนั้น ถ้าเราคิดว่าทุกครั้งที่เราซื้อขายแล้วเราจะชนะ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่ง Stoploss มีหลากหลายเเบบ วันนี้จึงขอยกตัวอย่าง 4 ข้อ ดังนี้
Percentage Stop : หรือ Equity Stop เป็นการ SL กำหนดว่าเรายอมขาดทุนกี่เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต เช่น หากเรามีเงินทุนอยู่ที่ 100 บาท เรารับความเสี่ยงได้สูงสุดที่ 10% ในกรณีถ้าเราโดน Stop Loss เราจะตัดขาดทุนที่ 10 บาท
Time Stop : เราจะนำมาใช้ในกรณีที่กราฟ Sideway ไม่ไปตามที่เราต้องการ Time Stop จะช่วยให้เราไม่เสียโอกาสการลงทุน การที่กราฟไม่ขยับบีบตัวแคบ ๆ นาน ๆ อาจจะทำให้เราเสียโอกาสไปลงทุนตัวอื่น ๆ
Chart Stop : จะเป็นการ Stop Loss ที่นิยมมาก ๆ จะนำมาใช้ควบคู่กับเทคนิคอลของเรา เช่น เราใช้เข้าออเดอร์ที่แนวต้าน เราจะ SL เหนือแนวต้าน ถ้าหลุดทะลุแนวต้านเราจะปิดออเดอร์ SL ไปตามระบบ
Trailing Stop : เราจะใช้กรณีที่เรากำไรเช่น เราได้กำไรมาแล้ว 10% แต่เราดูกราฟแล้วโอกาสที่จะได้กำไรมากกว่า 10% มีมากแต่ก็กลัวขาดทุน เราจึงใช้ TL เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ เช่น กำไร 10% เราก็ตั้งล็อคกำไรไว้ที่ 7% ถ้ากราฟไม่ไปต่ออย่างน้อยเราก็ได้แน่ ๆ 7%
Percentage Stop จะเป็นจุดตัดขาดทุนตามเปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุนที่ใช้เข้า Order เช่น หากเราสามารถรับความเสี่ยงได้สูงสุดที่ 3% หลังจากเข้าออเดอร์ หากราคามีการปรับตัวลงมาถึง 3% ก็จะยอม Cut Loss ออกไป หรืออีกแบบคือการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนสูงสุดจากเงินลงทุนแทน เช่น เรารับความเสี่ยงสูงสุดได้ที่ 1% ของเงินลงทุน หากเรามีเงินลงทุน 100,000 บาท เราจะ Cut Loss ขาดทุนออกไป หากเงินลงทุนลดต่ำลงกว่า 99,000 บาท
Chart Stop เราจะนำมาใช้ควบคู่กับเทคนิคอลของเรา เช่น เราใช้ออเดอร์ที่แนวต้าน เราจะ SL เหนือแนวต้าน ถ้าหลุดทะลุแนวต้านเราจะปิดออดเอร์ SL ไปตามระบบ
Time Stop เราจะนำมาใช้ในกรณีที่กราฟ Sideway ไม่ไปตามที่เราต้องการ Time Stop จะช่วยให้เรา ไม่เสียโอกาสการลงทุน การที่กราฟไม่ขยับ บีบตัวแคบ ๆ นาน ๆ อาจจะทำให้เราเสียโอกาสไปลงทุนตัวอื่น ๆ หรือแบบในรูป เราจะปิดตามรอบเวลา เช่น เราเข้า Buy ตั้งแต่บ่ายโมง แต่พอเวลาผ่านไปถึง 5 โมงเย็นกราฟยังไม่วิ่งไปไหน เราอาจจะใช้ Time Stop เพื่อปิดออเดอร์ก็ได้
Trailing stop เราจะใช้กรณีที่เราทำกำไรมาแล้ว 10% แต่เราดูกราฟแล้วเนี่ยโอกาสที่จะได้กำไรมากกว่า 10% มีมากแต่ก็กลัวขาดทุน เราจึงใช้ TL เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ เช่น กำไร 10% ก็ตั้งล็อคกำไรไว้ที่ 7% ถ้ากราฟไม่ไปต่ออย่างน้อยเราก็ได้แน่ ๆ 7%
เรากำหนดหยุดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนตามที่เรากำหนดไว้ ยกตัวอย่าง เรามีทุน 1,000USD เราต้องการหยุดขาดทุนที่ 5% ของเงินทุน และ 5% ของทุนเท่ากับ 50USD เพราะฉะนั้น ถ้ากราฟลงมาขาดทุนถึง 5% จะทำการ SL ทันที
ในตัวอย่างสมมุติ เราเข้าออเดอร์ที่ 1786.61 Stop Loss ที่ 1781.87 คิดเป็น 5% ของพอร์ตในกรณีที่เราออก Lots ที่ 0.12 เราจะเสียอยู่ที่ 48USD
หลังจากที่เราเข้าออเดอร์นั้นกราฟไม่สามารถขึ้นต่อได้ กราฟได้ลงมาโดน Stop Loss ขาดทุนที่ 5% ของพอร์ต ทำให้เงินทุนเหลือ 952๊USD
เราจะนำมาใช้ในจังหวะ SW นาน ๆ เพราะหลาย ๆ คน มักจะเจอปัญหา เงินจมไปกับการพักตัวของราคา ทำให้พลาดโอกาสไปเทรดตัวอื่น เราจึงใช้ Time Stop เข้ามาช่วย เช่น กราฟกำลังพักตัวในกรอบราคา 1747.63 กับ 1733.67 ถ้าวันนี้กราฟยังไม่ Breakout จะปิดออเดอร์แล้ว นี้คือการใช้ Time Stop
การใช้ Time Stop นั้นบางคนอาจจะปิดก่อนนอน หรือไม่แน่ใจกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเลยปิดก่อน หรือบางคนไม่ถือข้ามสัปดาห์
เราจะใช้ในตอนที่เรากำไรแล้ว การใช้งาน TL เช่น ในตัวอย่างเรากำไรมาแล้ว 600$ แต่เรามองว่ากราฟมีโอกาสที่จะลง เราอยากถือต่อ เราก็จะใช้ TL เข้ามาช่วย เราได้กำไร 600$ แล้วใช่ไหม เราก็ขยับ SL มาที่ 50% กำไรคือ 300$ ถ้ากราฟไม่ลงต่อ เราได้กำไรแน่ ๆ ที่ 300$ แบบนี้
ในกรณีกราฟลงต่อ
เราจะขยับตามทุก ๆ 50% ของกำไร เช่นในตัวอย่าง เราได้กำไร 1600$ เราจะขยับ TL มาที่ 50% กำไรคือ 800$ เราสามารถกำหนดเปอร์เซ็นต์ตามที่เรารับได้ อาจจะเอา 90% ของกำไรเลยก็ได้ เช่น ถ้ากราฟย่อขึ้นเกิน 10% TL จะทำการล็อคกำไรเลยในทันที
การตั้ง Stop Loss แบบ Chart Stop นั้น เราจะตั้งตามเทคนิคอล เช่น ในตัวอย่าง เราจะใช้เส้น MA50 เราจะตั้ง SL เหนือเส้น MA50 ถ้ากราฟทะลุเส้น MA เราจะยอมทันที อันนี้คือวิธีการใช้ Chart Stop
ซึ่งการใช้ Chart Stop นั้นมีหลายแบบ บางคนใช้ Fibo บางคนใช้ Demand&Supply แนวรับแนวต้าน
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจากเพจ Alice Veronica
แอดเหยี่ยวหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! อย่าลืมมาตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ทฤษฎี Loss Aversion แสดงให้เห็นถึงแรงขับทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ไม่ว่าจะในชีวิตประจำวันหรือในเรื่องการลงทุน การเข้าใจและเอาชนะภาวะนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถวางกลยุทธ์ได้ดีขึ้น และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้จัดแถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ (7 พ.ย.) โดยที่ประชุมเฟดมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงอีก 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%
ถอดคำแถลงการณ์ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ผู้ตัดสินของ SkyLine Guide ครั้งแรกได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเลี้ยง WikiFX SkyLine Appreciation Dinner ซึ่งในงานนี้ WikiFX ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการก่อตั้ง SkyLine Judge Community ชุมชนมืออาชีพใหม่ที่มีเป้าหมายในการรวบรวมบุคคลชั้นนำจากวงการต่างๆ และขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต โดยมีคำขวัญว่า "ที่ที่นักเทรดมืออาชีพรวมตัวและเติบโต
Vantage
ATFX
FP Markets
Tickmill
GO MARKETS
OANDA
Vantage
ATFX
FP Markets
Tickmill
GO MARKETS
OANDA
Vantage
ATFX
FP Markets
Tickmill
GO MARKETS
OANDA
Vantage
ATFX
FP Markets
Tickmill
GO MARKETS
OANDA