简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
ควรจับตา การประชุมบรรดาธนาคารกลางหลัก (เฟด BOE และ BOJ) รวมถึง รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ และจีน พร้อมติดตามรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และสถานการณ์สงคราม
วันอังคารที่ 31 ต.ค. 2023
•19.30 น. : ดัชนีค่าจ้างแรงงานสหรัฐฯ (Employment Cost Index q/q)
ตัวเลขครั้งก่อน 1.0% ตัวเลขคาดการณ์ 1.0%
•21.00 น. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ (CB Consumer Confidence)
ตัวเลขครั้งก่อน 103.0 ตัวเลขคาดการณ์ 100.1
วันพุธที่ 1 พ.ย. 2023
•19.15 น. : ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ โดย ADP (ADP Non-Farm Employment Change)
ตัวเลขครั้งก่อน 89K ตัวเลขคาดการณ์ 141K
•21.00 น. : ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM Manufacturing PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 49.0 ตัวเลขคาดการณ์ 49.0
•21.00 น. : ตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่สหรัฐฯ (JOLTS Job Openings)
ตัวเลขครั้งก่อน 9.61M ตัวเลขคาดการณ์ 9.27M
วันพฤหัสบดีที่ 2 พ.ย. 2023
• 01.00 น. : อัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Funds Rate)
ตัวเลขครั้งก่อน 5.50% ตัวเลขคาดการณ์ 5.50%
•19.30 น. : จำนวนผู้ขอรับสวัสดีการว่างงานสหรัฐฯ (Unemployment Claims)
ตัวเลขครั้งก่อน 210K ตัวเลขคาดการณ์ 210K
วันศุกร์ที่ 3 พ.ย. 2023
•19.30 น. : ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ (Non-Farm Employment Change)
ตัวเลขครั้งก่อน 336K ตัวเลขคาดการณ์ 182K
•19.30น. : อัตราการว่างงานสหรัฐฯ (Unemployment Rate)
ตัวเลขครั้งก่อน 3.8% ตัวเลขคาดการณ์ 3.8%
•21.00 น. : ดัชนี PMI ภาคการบริการสหรัฐฯ (ISM Services PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 53.6 ตัวเลขคาดการณ์ 53.2
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น ตามการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ แม้ว่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาดีกว่าคาดก็ตาม
ควรจับตา การประชุมบรรดาธนาคารกลางหลัก (เฟด BOE และ BOJ) รวมถึง รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ และจีน พร้อมติดตามรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และสถานการณ์สงคราม
สถานการณ์สงครามที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจหนุนการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ เงินดอลลาร์ ทองคำ และพันธบัตรรัฐบาล นอกจากนี้ เงินดอลลาร์อาจผันผวนไปตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินเฟด โดยเงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้น หากภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งกว่าคาดและเฟดยังย้ำจุดยืนพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้นาน
1. ฝั่งสหรัฐฯ – จากการประเมินถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งต่างกังวลต่อแนวโน้มภาวะการเงิน (Financial Conditions) ที่ตึงตัวมากขึ้น ตามการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ รวมถึงมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ (โอกาส 97% จาก CME FedWatch Tool) และสถานการณ์สงครามที่ยังมีความไม่แน่นอนและเสี่ยงที่จะบานปลายมากขึ้น ทำให้ เรามองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินเฟด (FOMC) จะมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% อย่างไรก็ดี เราจะจับตาการส่งสัญญาณต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงินของเฟด ผ่านถ้อยแถลงของประธานเฟดในช่วงหลังรับรู้ผลการประชุม และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดท่านอื่นๆ ในสัปดาห์นี้ เนื่องจากผู้เล่นในตลาดยังคงให้โอกาสราว 30% ที่เฟดจะสามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้ในช่วงต้นปีหน้า และผู้เล่นในตลาดยังคงมองว่า เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน (Higher for Longer) ทั้งนี้ เราคาดว่า มุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อทิศทางนโยบายการเงินของเฟด อาจขึ้นกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (ISM Manufacturing and Services PMIs) เดือนตุลาคม และรายงานข้อมูลตลาดแรงงาน อย่าง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) โดยหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดและสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ยังคงแข็งแกร่ง ก็อาจยิ่งทำให้ ผู้เล่นในตลาดกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและแนวโน้มเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงมากขึ้น ทั้งนี้ ควรระวังการตีความข้อมูลการจ้างงาน โดยรายงานยอดการจ้างงานอาจไม่สามารถสะท้อนภาวะการจ้างงานได้ดีนัก หลังการประท้วงหยุดงานของกลุ่มสหภาพยานยนต์ (UAW) เริ่มคลี่คลายลง ทำให้อาจมียอดการจ้างงานจากกลุ่มยานยนต์เพิ่มขึ้นหลายหมื่นราย และนอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว เรามองว่า ควรจับตารายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้
2. ฝั่งยุโรป – เรามองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจอังกฤษและอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลงชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เลือกที่จะ “คง” อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5.25% ทั้งนี้ ควรจับตาการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงินจากผู้ว่าฯ BOE อย่างใกล้ชิด โดยถ้อยแถลงดังกล่าวก็อาจส่งผลกระทบต่อทิศทางของเงินปอนด์อังกฤษได้ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของยูโรโซน อย่าง อัตราการเติบโตเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 และอัตราเงินเฟ้อ CPI โดยเรามองว่า หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ยังคงสะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจยูโรโซนที่ไม่สดใสนัก และจากแนวโน้มการชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อยูโรโซน ทำให้เรามั่นใจว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วที่ระดับ 4.00% (Deposit Facility Rate) ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวก็อาจเป็นปัจจัยกดดันเงินยูโร ทำให้เงินยูโรมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลง ทว่าสำหรับเงินยูโร อาจต้องจับตาทิศทางตลาดหุ้นยุโรปอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่จะมีการรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน
3. ฝั่งเอเชีย – เราประเมินว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะตัดสินใจ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.10% และจะยังไม่เปลี่ยนแปลงนโยบาย Yield Curve Control อย่างไรก็ดี เราจะจับตาว่า BOJ จะมีการส่งสัญญาณพร้อมทยอยปรับนโยบายการเงินหรือไม่ หลังอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมาย 2% พอสมควรมาเป็นเวลานาน ขณะเดียวกันเงินเยนญี่ปุ่นก็อ่อนค่าลงใกล้ระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ ส่วนทางฝั่งธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) เราก็มองว่า จากแนวโน้มการชะลอตัวลงของทั้งภาพรวมเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ อาจทำให้ BNM “คง” อัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 3.00% เช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดจะรอลุ้นรายงานดัชนี PMI ของจีน ในเดือนตุลาคม โดยหากรายงานดัชนี PMI ของจีนสะท้อนภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ก็อาจช่วยหนุนให้ผู้เล่นในตลาดเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์จีน ซึ่งจะส่งผลให้เงินหยวนจีนและสกุลเงินฝั่งเอเชียทยอยแข็งค่าขึ้นได้
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ทฤษฎี Loss Aversion แสดงให้เห็นถึงแรงขับทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ไม่ว่าจะในชีวิตประจำวันหรือในเรื่องการลงทุน การเข้าใจและเอาชนะภาวะนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถวางกลยุทธ์ได้ดีขึ้น และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้จัดแถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ (7 พ.ย.) โดยที่ประชุมเฟดมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงอีก 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%
ถอดคำแถลงการณ์ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ผู้ตัดสินของ SkyLine Guide ครั้งแรกได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเลี้ยง WikiFX SkyLine Appreciation Dinner ซึ่งในงานนี้ WikiFX ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการก่อตั้ง SkyLine Judge Community ชุมชนมืออาชีพใหม่ที่มีเป้าหมายในการรวบรวมบุคคลชั้นนำจากวงการต่างๆ และขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต โดยมีคำขวัญว่า "ที่ที่นักเทรดมืออาชีพรวมตัวและเติบโต
GO MARKETS
FXTM
EC Markets
FxPro
Vantage
FP Markets
GO MARKETS
FXTM
EC Markets
FxPro
Vantage
FP Markets
GO MARKETS
FXTM
EC Markets
FxPro
Vantage
FP Markets
GO MARKETS
FXTM
EC Markets
FxPro
Vantage
FP Markets