简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:บทความดี ๆ จากคุณ Alice Veronica มาฝากกันอีกแล้ว โดยเนื้อหาในครั้งนี้คือเรื่อง “ Position Sizing ”
วันนี้แอดเหยี่ยวนำบทความดี ๆ จากคุณ Alice Veronica มาฝากกันอีกแล้ว โดยเนื้อหาในครั้งนี้คือเรื่อง “ Position Sizing”
Position Sizing คือ การบริหารความเสี่ยงด้วยการจำกัดความเสียหาย จากผลของการขาดทุนหรือ Risk Management
อยากเเนะนำมือใหม่ ฝึกการปรับ Position Size เพราะการปรับ Position Size นั้น เป็นศิลปะเเขนงหนึ่งเลยเพราะไม่มีกำหนดตายตัวว่าต้องใช้ Position sizeเท่าไหร่ เเละสถานการณ์เเบบไหนควรจะปรับอย่างไรดี
ในโพสต์จะเป็นการยกตัวอย่างการออกเเบบ Position Size เป็น Unit
• ทหารราบ สร้างความเสียหายเล็กน้อยเอาไว้ยึดพื้นที่ความเสี่ยง: 1-3% ของพอร์ต
• ทหารอาวุธหนัก สร้างความเสียหายกลางๆเอาไว้ใช้เมื่อเราอยู่พื้นที่ที่ได้เปรียบความเสี่ยง: 4-10%ของพอร์ต
• ยานเกราะ สร้างความเสียหายหนัก เอาไว้บุกทะลวงความเสี่ยง:10%-20% ของพอร์ต
• เชลยศึก สร้างความเสียหายหนักเอาไว้สำรวจพื้นที่บุกทะลวงความเสี่ยง: 1-10%ของกำไร เหมือนการ All in
Idea Position Sizing
Technical ที่จะใช้ คือ Dow Theory และ Reversal Pattern จะแบ่งออกเป็น 2 โซน คือ โซนที่ได้เปรียบ และ โซนที่เสียเปรียบ
ในทางด้าน Zone ที่เสียเปรียบ เราจะใช้ ทหารราบ หรือความเสี่ยงประมาณ 1% ของพอร์ต
ในทางด้าน Zone ที่ได้เปรียบ เราจะใช้ ทหารราบและทหารอาวุธหนัก ความเสี่ยง 1-5% ของพอร์ต และเมื่อได้จุดเปรียบมาก ๆ ก็จะส่ง ยานเกราะ ลงไปลุยทันที ความเสี่ยง 10% ของพอร์ต
ตัวอย่าง Position Sizing
วิเคราะห์กราฟ เราดูกราฟราคา เราเห็นแล้วว่า ราคา Breakout Trendline ขึ้นมา ทำให้ราคาเปลี่ยนแนวโน้ม จากขาลงเป็นขาขึ้น เราจะมารอ Buy
การ Zoning วาง Position Sizing เราจะกำหนด Zone ที่เราเสียเปรียบและได้เปรียบตามเทคนิคของเราเลย ในตัวอย่าง จะเทรดตามเทรนด์คือรอเข้าที่ SwingLow หรือจุด TB (Throw Back) เราจะรอวาง Position Sixe ตรงนั้น
เราสามารถวาง Position Size ที่ Zone เสียเปรียบได้ไหม ตอบเลยว่าได้จ้า แต่มันเหมือนเราไปใส่ราคาเฉย ๆ และเสียเปรียบ ทำให้เราต้องเพิ่ม Risk แต่ถ้ากราฟไปต่อเราก็ไร แต่ถ้าราคาลงต่อ เราต้องมีทุนเหลือเข้า Zone ที่ได้เปรียบ
หลังจากนั้นกราฟได้ลงมา ชน TB แล้วขึ้นต่อ จะเห็นว่าถ้าเราเข้า Zone แดง จะทำให้เราโดนลากลงมาก่อนทำให้เราต้องเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็น อาจจะทำให้เราติดดอยได้
ตัวอย่าง Position Sizing
การ Zoning เคสนี้ของ EURUSD เราจะเห็นกราฟราคา Breakout แนวต้านขึ้นมา ทำให้เราต้องหา Trade Set Up ฝั่ง Buy คือรอกราฟลงมา Throw Back
ตัวอย่าง Position Sizing
การ Zoning เคสนี้ของ GBPJPY สามารถส่ง Unit ทหาร ของเราเพิ่มลงไปได้
อย่าง Zone ที่ 1 กราฟ Breakout ขึ้นแล้วย่อลงทำ Throw Back ขึ้นต่อ เราก็สามารถลง Unit เพิ่มได้
อย่าง Zone ที่ 2 กราฟขึ้นมาเราก็สามารถเข้าที่โซน 2 ได้เลย ถ้าหบุดโซนที่ 2 ลงมาค่อยหนีก็ได้ ส่วน Zone ที่ 3, 4, 5 เหมือนกันเลย ถ้าหลุดโซนไหนลงมาให้หนี
การเทรดแบบนี้ง่ายต่อการบริหารความเสี่ยง เพราะได้ฝึกด้วยการจำกัดความเสียหาย ทำให้เราไม่เร่งและไม่ช้าเกินไป ค่อย ๆ วาง Zone และวาง Position ได้ง่ายขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจากเพจ Alice Veronica
แอดเหยี่ยวหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! อย่าลืมมาตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
สรุป 5 ข้อที่ต้องเช็กก่อนเข้าออเดอร์เทรด 1. วางแผนเกณฑ์การเทรดให้ชัดเจน 2. รอสัญญาณคอนเฟิร์มก่อนเข้าออเดอร์ 3. ตั้งค่า Stop Loss เป็น Pips 4. คำนวณผลตอบแทนและความเสี่ยง (Risk/Reward) 5. คำนวณ Lot Size ให้เหมาะสม
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
บทวิเคราะห์ราคาบิตคอยน์
ข้อคิดดีจากหนังสือ
Octa
Vantage
Pepperstone
STARTRADER
OANDA
Tickmill
Octa
Vantage
Pepperstone
STARTRADER
OANDA
Tickmill
Octa
Vantage
Pepperstone
STARTRADER
OANDA
Tickmill
Octa
Vantage
Pepperstone
STARTRADER
OANDA
Tickmill