简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
วันพุธที่ 22 พ.ย. 2023
•02.00 น. : ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC Meeting Minutes)
•20.30 น. : ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ (Unemployment Claims)
ตัวเลขครั้งก่อน 231K ตัวเลขคาดการณ์ 226K
•22.00 น. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมิชิแกนสหรัฐฯ (Revised UoM Consumer Sentiment)
ตัวเลขครั้งก่อน 60.4 ตัวเลขคาดการณ์ 61.1
วันศุกร์ที่ 24 พ.ย. 2023
•21.45 น. : ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ (Flash Manufacturing PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 50.0 ตัวเลขคาดการณ์ 49.9
•21.45 น. : ดัชนี PMI ภาคการบริการสหรัฐฯ (Flash Services PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 50.6 ตัวเลขคาดการณ์ 50.4
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังเงินดอลลาร์ย่อตัวลง พร้อมกับการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ ตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เชื่อว่า เฟดได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้วและอาจลดดอกเบี้ยลงได้ราว -1% ในปีหน้า
เงินดอลลาร์อาจรีบาวด์แข็งค่าขึ้นได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด หรือ ดีกว่าข้อมูลจากฝั่งเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ในส่วนของค่าเงินบาท โมเมนตัมการแข็งค่าอาจชะลอลงบ้าง จนกว่าตลาดจะรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ ซึ่งต้องรอลุ้นทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ หลังทยอยรับรู้รายงานอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ขณะเดียวกัน ควรระวังความผันผวนจากค่าเงินเยนญี่ปุ่น ที่อาจพลิกกลับมาอ่อนค่าลง หากตลาดมองว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะไม่รีบหรือยังไม่สามารถใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่นออกมาแย่กว่าคาด และที่สำคัญ โฟลว์ธุรกรรมทองคำยังคงส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทได้ ซึ่งต้องจับตาทิศทางราคาทองคำอย่างใกล้ชิด
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อย่าง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ โดย S&P Global (Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนพฤศจิกายน โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า ผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดรวมถึงภาระหนี้สินของชาวอเมริกันที่เพิ่มสูงขึ้น หลังการเริ่มกลับมาจ่ายหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (Student Loans) อาจกดดันให้ ภาคการผลิตอุตสาหกรรมพลิกกลับมาหดตัวลง สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตที่อาจต่ำกว่าระดับ 50 จุด (ดัชนีต่ำกว่า 50 จุด หมายถึง ภาวะหดตัว) ขณะที่ภาคการบริการอาจยังคงขยายตัวได้ แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยดัชนี PMI ภาคการบริการอาจลดลงสู่ระดับ 50.4 จุด (ดัชนีสูงกว่า 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว) ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 1990 ของเรา พบว่า หากทั้งดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ ต่ำกว่าระดับ 50 จุด และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ก็อาจเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่า ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในฝั่งสหรัฐฯ นั้นเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่เฟดจะตัดสินใจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ ขณะเดียวกัน ก็อาจเพิ่มโอกาสที่เฟดจะสามารถลดดอกเบี้ยลงได้เร็วขึ้นและลึกขึ้น กว่าที่เฟดได้ระบุไว้ใน Dot Plot ล่าสุด
2. ฝั่งยุโรป – ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจยูโรโซนและอังกฤษจะยังคงส่งสัญญาณชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ เดือนพฤศจิกายน อาจยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 จุด สะท้อนถึงภาวะการหดตัวต่อเนื่องของทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการ ซึ่งเป็นผลมาจากการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของทั้งธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ทั้งนี้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของทั้งอังกฤษและยูโรโซน ออกมาแย่กว่าคาด ก็อาจกดดันให้เงินปอนด์ (GBP) รวมถึง เงินยูโร (EUR) อ่อนค่าลงได้ หลังจากที่ทั้งสองสกุลเงินได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นพอสมควรในสัปดาห์ที่ผ่านมา
3. ฝั่งเอเชีย – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจของญี่ปุ่น โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงได้แรงหนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการบริการ ซึ่งได้รับอานิสงส์จากภาคการท่องเที่ยว สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคการบริการในเดือนพฤศจิกายน ที่ระดับกว่า 51 จุด ขณะที่ ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น อาจยังอยู่ในภาวะหดตัว ตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ โดยดัชนี PMI ภาคการผลิต จะยังคงต่ำกว่าระดับ 50 จุด นอกจากนี้ ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อ CPI ของญี่ปุ่น นักวิเคราะห์ต่างคาดว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI ญี่ปุ่นอาจยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า เป้าหมายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่ระดับ 3.40% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่ร่วมอาหารสดและพลังงาน (Core-Core CPI) ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 4.10% โดยหากภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่น ไม่ได้ชะลอตัวลง แย่กว่าคาด และอัตราเงินเฟ้อก็ยังอยู่ในระดับสูง ก็อาจทำให้ BOJ สามารถทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นได้ ซึ่งภาพดังกล่าว จะเป็นปัจจัยหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY)
4. ฝั่งไทย – นักวิเคราะห์ต่างมองว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 อาจโตราว +2.2%y/y ดีขึ้นจากที่ขยายตัวราว +1.8%y/y ในไตรมาสก่อนหน้า หนุนโดยการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งมีส่วนช่วยหนุนการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ภารการส่งออกที่ยังคงหดตัวอาจเป็นปัจจัยฉุดการเติบโตได้ ทั้งนี้ ยอดการส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีขึ้น ราว +8.5%y/y ตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ Semiconductor ที่ฟื้นตัวดีขึ้น ส่วนสินค้าเกษตรและอาหารก็ยังขยายตัวได้ดี ขณะที่ ยอดการนำเข้าอาจโตราว +5.6%y/y ทำให้โดยรวมดุลการค้าอาจเกินดุล +505 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ การฟื้นตัวดีขึ้นของการส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 4 จะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปีนี้ได้
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
หลังทรัมป์รับตำแหน่งตลาดการเงินเป็นอย่างไรบ้าง บล.เอเซียพลัส ชี้ความกังวลที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง มองถ้าสหรัฐอเมริกาไม่ดุดัน ตลาดหุ้นไทยจะค่อย ๆ ดีขึ้น
Jagat เป็นแอปพลิเคชันโซเชียลเน็ตเวิร์กจากประเทศอินโดนีเซีย ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถติดตามตำแหน่งของเพื่อน ครอบครัว หรือคนรักแบบเรียลไทม์ โดยจุดเด่นอยู่ที่ฟีเจอร์ภารกิจในแอปที่ผู้ใช้สามารถทำเพื่อรับรางวัล เช่น การเชิญเพื่อน ตอบคำถาม หรือร่วมกิจกรรมพิเศษ ซึ่งรางวัลเหล่านี้อาจเป็นเงินสดจริง
รีวิวโบรกเกอร์ Titan FX
บทวิเคราะห์ทองคำ
ATFX
HFM
TMGM
IC Markets Global
FP Markets
EC Markets
ATFX
HFM
TMGM
IC Markets Global
FP Markets
EC Markets
ATFX
HFM
TMGM
IC Markets Global
FP Markets
EC Markets
ATFX
HFM
TMGM
IC Markets Global
FP Markets
EC Markets