简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:กระทรวงการคลังแถลงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567 ขยายตัว 1.8% และ 2.8% ตามลำดับ เป็นไปตามที่มีเอกสารหลุดออกมาก่อนหน้านี้
กระทรวงการคลังแถลงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567 ขยายตัว 1.8% และ 2.8% ตามลำดับ เป็นไปตามที่มีเอกสารหลุดออกมาก่อนหน้านี้
กระทรวงการคลัง แถลงผล การประมาณการเศรษฐกิจไทยปี2566 ว่า “เศรษฐกิจไทยปี2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 ชะลอลงจากปี 2565 ที่ขยายร้อยละ 2.6” โดยมีปัจจัยสำคัญจากการหดตัวของการผลิต ภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index: MPI)
ในส่วนของสถานการณ์ค่าเงินบาท ในปี 2566 พบว่า ค่าเงินบาทมีความผันผวนโดยอ่อนค่าในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2566 และแข็งค่าขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจจีน และนโยบายการเงินผ่อนคลายของญี่ปุ่น โดยค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปี 2566 เฉลี่ยที่ 34.81 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยปี 2565
สำหรับในปี 2567 กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3 ถึง 3.3)
ด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.5 ถึง 1.5)
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ ในระยะยาวนั้น ควรให้ความสำคัญใน 3 ประเด็น ดังนี้
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Development) เช่น การพัฒนาการใช้พลังงานที่ยั่งยืน การลงทุนในด้านดิจิทัล และการพัฒนาด้านคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาคต่าง ๆ จะช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ และทำให้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางในระดับภูมิภาคได้
2. การพัฒนาทักษะ (Skills Development) การเตรียมแรงงานให้มีทักษะที่จำเป็นส าหรับเศรษฐกิจโลกมีความสำคัญและจะส่งเสริมความสำเร็จในระยะยาวได้ดี
3) การรักษาเสถียรภาพทางการคลัง (Fiscal Stability) มุ่งมั่นในการบริหารจัดการการคลังอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงการใช้จ่ายของรัฐและระดับหนี้สาธารณะอย่างรับผิดชอบ เพื่อรักษาความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แถลงข่าว กค. ฉบับที่ 4/2567 ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 และ 2567 ประจำเดือนมกราคม 2567
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
นโยบายภาษีชุดใหม่ของทรัมป์ที่ประกาศเมื่อ “วันปลดปล่อย” ได้จุดชนวนความตึงเครียดทางเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยการขึ้นภาษีเกิน 25% อาจเร่งเงินเฟ้อและซ้ำเติมตลาดแรงงาน นักวิเคราะห์คาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยลง 1.25% ภายในปีนี้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลใช้รายได้จากภาษีเป็นเครื่องมือทั้งเศรษฐกิจและการเมือง
บทความนี้สำรวจผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อค่าเงินและตลาดการเงินทั่วโลก ผ่านกรณีศึกษาในญี่ปุ่น อินเดีย เม็กซิโก และไทย ชี้ให้เห็นว่าตลาดมักตอบสนองด้วยความวิตกในระยะสั้น ก่อนจะปรับตัวตามข้อมูลพื้นฐาน นักเทรดสามารถใช้ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสในการทำกำไร หากวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างแม่นยำ
นโยบายภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ก่อให้เกิดความกังวลในระดับโลก โดยเฉพาะการขึ้นภาษีนำเข้าในอัตราสูง นักวิเคราะห์เตือนว่าอาจกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งในสหรัฐฯ และทั่วโลก JPMorgan และ Capital Economics ชี้ว่านโยบายนี้อาจนำไปสู่ภาวะถดถอย ขณะที่ Wells Fargo คาดว่า Fed อาจต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินในอนาคต
รีวิวโบรกเกอร์ CMCMarkets
FXCM
IB
XM
IC Markets Global
TMGM
Pepperstone
FXCM
IB
XM
IC Markets Global
TMGM
Pepperstone
FXCM
IB
XM
IC Markets Global
TMGM
Pepperstone
FXCM
IB
XM
IC Markets Global
TMGM
Pepperstone