简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:Quasimodo ชื่อนี้ได้มาจากตัวละครเอกในนวนิยายปารีสสมัยช่วงศตวรรษที่15 เป็นชายหลังค่อม รูปร่างไม่สมประกอบ ไหล่ไม่เท่ากันข้างหนึ่งสูงข้างหนึ่งต่ำ รูปร่างที่ไม่สมประกอบของ Quasimodo จึงเป็นที่มาของ Quasimodo pattern จะมีชื่อย่อว่า QM Pattern เป็นรูปแบบกราฟราคาที่เทรดเดอร์นิยมใช้เพื่อวิเคราะห์โอกาสการกลับตัวของราคา โดยอาศัยหลักการของทฤษฎี Dow Theory รูปแบบนี้โดดเด่นด้วยความเรียบง่าย เหมาะสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายตลาด ไม่ว่าจะเป็น Forex หุ้น หรือแม้แต่ทองคำ
เคยได้ยินคำว่า “Quasimodo” ไหม? ในการเทรด ไม่ได้หมายถึงตัวละครหลังค่อมจากนิยายนะ แต่หมายถึงรูปแบบกราฟราคาที่ช่วยให้นักเทรดสามารถคาดเดาทางราคา และเพิ่มโอกาสทำกำไรได้ วันนี้มาทำความรู้จักกราฟราคานี้ให้มากขึ้นกันครับ
Quasimodo ชื่อนี้ได้มาจากตัวละครเอกในนวนิยายปารีสสมัยช่วงศตวรรษที่15 ต่อมามีการสร้างเป็นละครอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นละครเวที และหนังก็มีหลากหลาย Version มาก และมาโด่งดังอีกครั้งในปี1996 Quasimodo ที่เป็นชายหลังค่อม รูปร่างไม่สมประกอบ ไหล่ไม่เท่ากันข้างหนึ่งสูงข้างหนึ่งต่ำ มีรูปแบบเหมือนกราฟราคาที่กล่าวมาข้างต้น รูปร่างที่ไม่สมประกอบของ Quasimodo จึงเป็นที่มาของ Quasimodo pattern
ขอบคุณรูปจาก cults3d.com/en/3d-model
Quasimodo Pattern จะมีชื่อย่อว่า QM Pattern เป็นรูปแบบกราฟราคาที่เทรดเดอร์นิยมใช้เพื่อวิเคราะห์โอกาสการกลับตัวของราคา โดยอาศัยหลักการของทฤษฎี Dow Theory รูปแบบนี้โดดเด่นด้วยความเรียบง่าย เหมาะสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายตลาด ไม่ว่าจะเป็น Forex หุ้น หรือแม้แต่ทองคำ
ลักษณะของรูปแบบกราฟ QM Pattern เป็นรูป M หรือ W ที่ประกอบด้วย 3 จุดสวิงคล้ายกับบรูปแบบ Head and Shoulders แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่เมื่อมีการฟอร์ม Head แล้วการปรับฐานที่ตามมาก่อนเกิดไหล่ขวาจะหลุดหรือทะลุ Neckline อย่างรุนแรง ก่อนจะกลับไปฟอร์มตัวป็นไหล่ขวาที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไหล่ซ้าย จากนั้นการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มราคาก็จะเกิดขึ้น
ขอบคุณรูปจาก www.mql5.com/it/job/150729
โดยมักเกิดขึ้นบริเวณจุดเปลี่ยนของแนวโน้มทั้งจากขาลงเป็นขาขึ้นและจากขาขึ้นเป็นขาลง จึงมักถูกนำมาใช้ในการบ่งบอกจุดกลับตัวของแนวโน้มราคาในลักษณะเดียวกับรูปแบบ Head and Shoulders และยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะเหมือนกัน คือ
รูปแบบ Bullish QM มีการกลับตัวขึ้นมีการทำลายโครงสร้างจากขาลงกลายเป็นขาขึ้น
เกิดขึ้นในช่วงท้ายของแนวโน้มขาลงที่กำลังจะเปลี่ยนกลับเป็นขาขึ้น ซึ่งอาจสังเกตหารูปแบบการฟอร์มตัวได้จากแนวโน้มราคาที่เป็นขาลงมาก่อนหน้าแล้วเริ่มฟอร์มรูปแบบที่ทำจุดต่ำลงเรื่อย ๆ (Lower Low) พร้อมกับเกิดสัญญาณขัดแย้งหรือเริ่มมีปริมาณการซื้อขายที่ลดลง หลังจากฟอร์มส่วนตัวแล้วราคาเกิดการรีบาวน์อย่างรุนแรงทะลุแนวต้านเดิมที่เป็นจุดสูงก่อนหน้าแล้วทำจุดสูงใหม่ (Higher High) แต่ไม่สามารถยืนอยู่ได้ ทำให้ราคามีการปรับตัว (Correction) ลงมาไม่ต่ำกว่าจุดต่ำที่ไหล่ซ้ายที่ทำไว้ เมื่อราคาทดสอบแนวรับนี้แล้วเกิดการกลับตัวทะลุจุดสูงที่ทำไว้ตอนรีบาวน์ (ทำ Higher High) แนวโน้มราคาก็จะเปลี่ยนกลับจากขาลงเป็นขาขึ้นโดยสมบูรณ์
ขอบคุณรูปจาก uhas
รูปแบบ Bearish QM มีการกลับตัวลงมีการทำลายโครงสร้างขาขึ้นกลายเป็นขาลง
เป็นรูปแบบ QM Pattern ที่เกิดขึ้นในช่วงท้ายของแนวโน้มขาขึ้นที่กำลังจะเปลี่ยนกลับเป็นขาลง ซึ่งอาจสังเกตหารูปแบบการฟอร์มตัวได้จากแนวโน้มราคาที่เป็นขาขึ้นมาก่อนหน้าแล้วเริ่มฟอร์มรูปแบบที่ทำจุดสูงที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ (Higher High) พร้อมกับเกิดสัญญาณขัดแย้งหรือเริ่มมีปริมาณการซื้อขายที่ลดลง หลังจากฟอร์มส่วนหัวแล้วราคาเกิดการปรับลงอย่างรุนแรงทะลุแนวรับเดิมที่เป็นจุดต่ำก่อนหน้าแล้วทำจุดต่ำใหม่ (Lower Low) แต่ราคาถูกดันกลับไปอีกครั้งขึ้นไปไม่สูงกว่าจุดสูงที่ไหล่ซ้ายที่ทำไว้ เมื่อราคาทดสอบแนวต้านนี้แล้วเกิดการปรับลงหลุดจุดต่ำที่เคยทำไว้ก่อนหน้า (ทำ Lower Low) แนวโน้มราคาก็จะเปลี่ยนกลับจากขาขึ้นเป็นขาลงโดยสมบูรณ์
ขอบคุณรูปจาก uhas
วิธีเทรดรูปแบบกราฟ QM Pattern + Demand Supply Zone
Demand Supply Zone คือ โซนของราคาที่มีแรงซื้อมากซึ่งจะถูกมองว่าเป็นโซนของแนวรับ หรือ โซนของราคาที่มีแรงขายมากซึ่งจะถูกมองว่าเป็นโซนของแนวต้าน สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ QM Pattern ได้ด้วย จากรูปจะเห็นได้ว่าราคาสร้างท่าเทรด QM และสร้าง SZ ไว้ตรงกับ QM รอราคากลับขึ้นมาที่ Zone ตรง QM ( แล้วรอให้เกิดพฤติกรรมคอนเฟิร์ม ) จึงสามารถกด Sell ได้ ซึ่ง SL เอาไว้บน HH เทรนด์ขาขึ้นและขาลงรูปแบบ QM ก็ได้แสดงให้เห็น จุดเข้าเปิดออเดอร์ stop loss, take profit ตรงไหน
ขอบคุณรูปจาก uhas
ขอบคุณรูปจาก uhas
สรุป
QM Pattern รูปแบบกราฟที่มีลักษณะหัวและไหล่ที่ไม่สมมาตรแต่ก็สามารถนำมาใช้เป็นจุดสังเกตการกลับตัวของแนวโน้ม ไปจนถึงเป็นโอกาสในการเทรดของนักเทรดที่ชื่นชอบการเทรดตามแนวโน้ม (Trend Following) ได้อีกด้วย ซึ่งรูปแบบกราฟนี้ไม่ได้เป็นเพียงกราฟเปล่า ๆ แต่ยังสนับสนุนด้วยทฤษฎีดาวที่หนุนหลังด้วยกฎของอุปสงค์และอุปทาน เป็นอีกหนึ่งรูปแบบกราฟที่มีความแม่นยำสูง
ขอบคุณข้อมูลจาก uhas และ Mitrade
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ในปีนี้ อย่าลืมว่า การสร้างวินัยในการเทรด ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้เสร็จได้ในวันเดียว มันเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความอดทน ความสำเร็จในการเทรดจะไม่เกิดขึ้นจากการกระทำที่หุนหันพลันแล่น แต่จะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ การพัฒนาตัวเอง และการทำตามแผนอย่างเคร่งครัด
ช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ อย่าประมาทครับ! แม้ตลาดจะดูสงบ แต่ความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ก็มีมาก หากเป็นไปได้ควรปิดพอร์ตพักไว้ก่อน แล้วกลับมาเริ่มต้นใหม่หลังวันหยุดจะปลอดภัยที่สุด เทรดให้รอบคอบนะครับนักเทรดทุกท่าน!
บทวิเคราะห์ทองคำ
รวมรีวิวโบรกเกอร์ประจำสัปดาห์