简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ตะกร้าค่าเงิน (Basket of Currencies) เป็นระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศที่ใช้วัดความแข็งหรืออ่อนของค่าสกุลเงิน นักลงทุนใช้ระบบตะกร้าค่าเงินเพื่อตรวจสอบความแข็งหรืออ่อนของสกุลเงินที่พวกเขาสนใจ
เติมความรู้คำศัพท์กันครับ วันนี้ขอเสนอคำว่า “ตะกร้าค่าเงิน” นักเทรดที่พึ่งได้ยินคำนี้เป็นครั้งแรกอาจจะนึกถึงตะกร้าช้อปปิ้งขึ้นมาทันที แต่ในตลาด Forex ตะกร้าค่าเงินเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยใช้ดูแนวโน้มเพื่อเทรดได้นะครับ แล้วจะใช้อย่างไรมาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้เลยครับ
ตะกร้าค่าเงิน คืออะไร?
ตะกร้าค่าเงิน (Basket of Currencies) เป็นระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศที่ใช้วัดความแข็งหรืออ่อนของค่าสกุลเงิน นักลงทุนใช้ระบบตะกร้าค่าเงินเพื่อตรวจสอบความแข็งหรืออ่อนของสกุลเงินที่พวกเขาสนใจ
เริ่มแรกของแนวคิดตะกร้าเงินมาก จาก IMF ที่ริเริ่มแนวคิด SDR หรือย่อมาจาก Special Drawing Right คือ สิทธิไถ่ถอนเงิน สร้างขึ้นในปี 1969 สำหรับ SDR สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ของ Bretton Woods โดยทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์สำรองระหว่างประเทศเพื่อเสริมเงินสำรองอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิก IMF
เดิมที SDR กำหนดโดยใช้ทองคำในปริมาณคงที่ แต่ในปี 1974 ได้มีการกำหนดใหม่เป็นตะกร้าค่าเงิน 16 สกุล ในปี 1974 ตะกร้าค่าเงินของ IMF ได้รับการแก้ไขให้มีสกุลเงินเพิ่มขึ้นอีก 11 สกุลเงิน ส่งผลให้สกุลเงินทั้งหมดในตะกร้า SDR เพิ่มขึ้นเป็น 16 สกุลเงิน
ในปี 1981 จำนวนสกุลเงินที่ผูกกับเงินตราต่างประเทศทั้งหมดลดลงเหลือเพียงห้าสกุลเงินเท่านั้น ดังนั้น ในเดือนมกราคม 1999 ยูโรจึงเข้ามาแทนที่มาร์กเยอรมันและฟรังก์ สกุลเงินทั้งห้านี้ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร หยวนจีน เยนญี่ปุ่น และปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษ
ความสำคัญของตะกร้าค่าเงิน
ตะกร้าค่าเงินมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาและความสำคัญอย่างมากสำหรับทั้งนักเทรดและหน่วยงานการเงิน สำหรับหน่วยงานการเงิน ตะกร้าค่าเงินถือเป็นเครื่องมือที่มีค่าสำหรับการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม สำหรับนักเทรดเองตะกร้าค่าเงินก็ช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราได้
ตัวอย่างของตะกร้าค่าเงิน
เพื่อทำความเข้าใจการใช้งานจริงของตะกร้าค่าเงิน ลองดูตัวอย่างดังนี้:
หน่วยสกุลเงินเอเชีย (ACU): ประกอบด้วยสกุลเงินเอเชียต่างๆ
หน่วยสกุลเงินยุโรป (ECU): รวมสกุลเงินยุโรปหลายสกุล
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (USDX): ประกอบด้วยสกุลเงินหลักของโลก 6 สกุล โดยถ่วงน้ำหนักเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
หน่วยงานด้านการเงิน เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ใช้ตะกร้าค่าเงินเป็นข้อมูลอ้างอิงในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินของตน เทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ของโลก แทนที่จะผูกสกุลเงินของตนกับสกุลเงินเดียว Fed ใช้ตะกร้าค่าเงินที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงสกุลเงินต่างประเทศหลายสกุล
วิธีการสร้างตะกร้าค่าเงิน
สำหรับการใช้งานตะกร้าค่าเงิน มีผู้ให้บริการหลายรายที่นำเสนอโปรแกรมตะกร้าค่าเงิน แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่นักเทรดคือเว็บไซต์ Finviz ซึ่งเมื่อเข้าไปในเว็บไซต์แล้ว จะมีหัวข้อที่สามารถคลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้
เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการตะกร้าค่าเงิน หลักการทำงานจะคล้ายคลึงกัน โดยจะมีตารางที่รวบรวมค่าเงินต่าง ๆ และใช้สกุลเงิน USD เป็นตัวกลางที่มีค่า 0.00% เสมอ (เนื่องจากเป็นตัวเปรียบเทียบ) ค่าเงินที่อยู่ด้านซ้ายมือของ USD จะมีค่า 0.01% ขึ้นไป ซึ่งหมายความว่าแข็งกว่า USD ตามเปอร์เซ็นต์ที่กำหนด ในขณะที่ค่าเงินที่อยู่ด้านขวามือของ USD จะมีค่า -0.01% เป็นต้นไป ซึ่งหมายความว่าอ่อนค่ากว่า USD ตามเปอร์เซ็นต์ที่ระบุ
หากนึกภาพไม่ออก ให้ลองจินตนาการถึงตราช่างที่ถ่วงน้ำหนัก หากค่าเงินแข็งกว่า USD อยู่ 1.06% เช่น JPY ตราช่างฝั่ง JPY จะสูงขึ้น ในขณะที่ฝั่ง USD จะต่ำลง เนื่องจาก JPY แข็งค่าขึ้นและ USD อ่อนค่าลง
ตะกร้าค่าเงิน ช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้
ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินสร้างความเสี่ยงอย่างมากสำหรับเทรดเดอร์ฟอเร็กซ์ นักเทรดสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้โดยการใช้ตะกร้าค่าเงิน เพราะตะกร้าค่าเงินที่หลากหลายช่วยกระจายความเสี่ยงไปยังสกุลเงินต่าง ๆ หากสกุลเงินหนึ่งมีผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน กำไรจากสกุลเงินอื่นๆ ในตะกร้าสามารถชดเชยการสูญเสียได้ ทำให้พอร์ตการลงทุนมีเสถียรภาพมากขึ้น
การกระจายความเสี่ยงด้วยตะกร้าค่าเงินช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของสกุลเงินใดสกุลเงินหนึ่งต่อมูลค่าโดยรวมของตะกร้า เนื่องจากแต่ละสกุลเงินมีสภาพเศรษฐกิจและปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างกัน ดังนั้น หากสกุลเงินใดมีการเสื่อมค่าหรือเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ เหตุการณ์ทางการเมือง หรือการเก็งกำไรในตลาด ผลกระทบต่อมูลค่าของตะกร้าค่าเงินจะได้รับการบรรเทาโดยประสิทธิภาพของสกุลเงินอื่นๆ ภายในตะกร้า
ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ตะกร้าค่าเงินช่วยให้การประเมินมูลค่าอิงตามตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่หลากหลายจากหลายประเทศ แนวทางการใช้สกุลเงินหลายสกุลนี้ลดโอกาสที่ความผันผวนรุนแรงจะเกิดจากเหตุการณ์ในเศรษฐกิจเดียว ทำให้กลไกการประเมินมูลค่ามีเสถียรภาพและเชื่อถือได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ นักเทรดและเทรดเดอร์จึงสามารถตัดสินใจลงทุนหรือเทรดได้ด้วยความมั่นใจมากขึ้น
สรุป
แม้ว่าตะกร้าค่าเงินจะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักเทรด Forex ที่ชื่นชอบการเทรดอัตราแลกเปลี่ยน การใช้ตะกร้าค่าเงินเพียงอย่างเดียวโดยไม่สนใจปัจจัยอื่น อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรงตามที่ต้องการ 100% เนื่องจากข้อมูลใน Finviz อัปเดตแบบเรียลไทม์ ทำให้ค่าเงินอาจเปลี่ยนแปลงทุกนาที ในขณะที่วิเคราะห์ข้อมูล อาจมีข่าวใหญ่จากต่างประเทศที่ทำให้ค่าเงินผันผวน ดังนั้น ควรใช้ Indicators หลายชนิดเพื่อยืนยันข้อมูลและเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ
ขอบคุณข้อมูลจาก Mitrade
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
สรุป 5 ข้อที่ต้องเช็กก่อนเข้าออเดอร์เทรด 1. วางแผนเกณฑ์การเทรดให้ชัดเจน 2. รอสัญญาณคอนเฟิร์มก่อนเข้าออเดอร์ 3. ตั้งค่า Stop Loss เป็น Pips 4. คำนวณผลตอบแทนและความเสี่ยง (Risk/Reward) 5. คำนวณ Lot Size ให้เหมาะสม
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
บทวิเคราะห์ราคาบิตคอยน์
ข้อคิดดีจากหนังสือ
ATFX
Pepperstone
GO MARKETS
XM
Tickmill
FP Markets
ATFX
Pepperstone
GO MARKETS
XM
Tickmill
FP Markets
ATFX
Pepperstone
GO MARKETS
XM
Tickmill
FP Markets
ATFX
Pepperstone
GO MARKETS
XM
Tickmill
FP Markets