简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: วันนี้เรามาเช็กความรู้กันหน่อยนะครับ ว่านักเทรดรู้จัก"แนวรับ แนวต้าน"มากแค่ไหน? และสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่รู้จัก"แนวรับ แนวต้าน"มากพอ แอดเหยี่ยวรวบรวมความรู้มาให้แล้วครับ ตามมาเลย!
หนึ่งในเทคนิคที่ใช้มากที่สุดในการวิเคราะห์ทางเทคนิคคือแนวรับและแนวต้าน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้นักเทรดระบุทิศทางของตลาดโดยการชี้ข้อมูลราคาแนวรับแนวต้าน และช่วยให้ทราบว่าจุดไหนควรเข้าซื้อหรือจุดไหนที่ควรขาย วันนี้เรามาเช็กความรู้กันหน่อยนะครับ ว่านักเทรดรู้จัก“แนวรับ แนวต้าน”มากแค่ไหน? และสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่รู้จัก“แนวรับ แนวต้าน”มากพอ แอดเหยี่ยวรวบรวมความรู้มาให้แล้วครับ ตามมาเลย!
แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร?
คือ แนวรับและแนวต้านเป็นกรอบราคาที่มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา เมื่อราคามาถึงระดับเหล่านี้ จะเกิดปฏิกิริยาต่างๆ เช่น การขายหรือการซื้อ เทรดเดอร์มักจะใช้โซนราคานี้ในการแลกเปลี่ยนสถานะการซื้อขาย (Transaction) และใช้ในการวิเคราะห์กราฟอย่างรวดเร็วเพื่อกำหนดจุดที่น่าสนใจ เช่น ทิศทางของตลาด เวลาที่จะเข้าสู่ตลาด หรือการกำหนดจุดออกจากตลาดทั้งในกรณีกำไรและขาดทุน เทรดเดอร์สามารถระบุพื้นที่แนวรับและแนวต้านบนกราฟได้โดยใช้ trendlines และ moving averages
การเข้าเทรดที่แนวรับและแนวต้านมีผลต่อผลลัพธ์การเทรด หากเทรดเดอร์สามารถเลือกจุดเข้าที่ถูกต้อง จะสามารถทำให้ต้นทุนการเทรดในช่วงเวลานั้นดีที่สุด นอกจากนี้ยังช่วยในการควบคุมความเสี่ยงได้ดีขึ้นอีกด้วย
ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการซื้อขายในรูปแบบแนวรับและแนวต้าน
ความสำคัญของแนวรับแนวต้าน
แนวรับ (SUPPORT)
แนวรับคือระดับราคาที่เทรดเดอร์คาดหวังว่าจะไม่ลดลงไปกว่านี้ โดยเป็นระดับราคาที่เมื่อมีแรงขายมาถึง จะเกิดแรงซื้อเข้ามารับราคาไว้ไม่ให้ราคาต่ำลงไปอีก
ตามทฤษฎี แนวรับเป็นระดับราคาที่อุปสงค์ (กำลังซื้อ) แข็งแกร่งพอที่จะป้องกันไม่ให้ราคาลดลง เมื่อราคาลดลงใกล้แนวรับมากขึ้น ผู้ซื้อจะมองว่าเป็นโอกาสที่ดีในการซื้อเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ขายมีโอกาสขายน้อยลง เนื่องจากราคาที่ลดลงทำให้ความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น อุปสงค์จะเอาชนะอุปทาน (ผู้ขาย) และช่วยป้องกันไม่ให้ราคาต่ำกว่าแนวรับ
ในการตีเส้นแนวรับ ให้ตีเป็นเส้นแนวนอนใต้แท่งราคา หากราคาลงมาถึงแนวรับที่ตีไว้แล้วไม่สามารถรับได้ ราคาจะทะลุลงต่อไป แต่ถ้ารับได้ ราคาจะเด้งกลับขึ้นไป
ขอบคุณรูปจาก STARTRADER
โซนแนวรับ (Support Zone)
โซนแนวรับมักใช้ในการเทรดในกรอบเวลา (timeframe) ระยะยาว เมื่อราคาลงมาถึงจุดแนวรับและไม่สามารถเด้งกลับได้ เทรดเดอร์อาจใช้จุดแนวรับที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งก่อนหน้าเป็นแนวรับต่อไป ทำให้จุดแนวรับหลายจุดรวมกันกลายเป็น “โซนแนวรับ”
แนวต้าน (RESISTANCE)
แนวต้านคือระดับราคาที่เทรดเดอร์คาดหวังว่าจะไม่เพิ่มขึ้นอีก โดยเป็นระดับราคาที่เมื่อมีแรงซื้อมาถึงจุดหนึ่ง จะเกิดแรงขายเข้ามาต้านราคาไว้ไม่ให้สูงขึ้นไปอีก
แนวต้านเป็นระดับราคาที่อุปทาน (การขาย) แข็งแกร่งพอที่จะป้องกันไม่ให้ราคาขึ้นไปอีก เมื่อราคาลดลงใกล้แนวต้านมากขึ้น ผู้ขายมีแนวโน้มที่จะขายมากขึ้น ในขณะที่ผู้ซื้อน้อยลง เนื่องจากราคาสูงขึ้น
ในการตีแนวต้านให้ตีเป็นเส้นแนวนอนเหนือแท่งราคา หากราคาขึ้นไปถึงแนวต้านที่ตีไว้แล้วไม่สามารถผ่านได้ ราคาจะกลับลงมา แต่ถ้าผ่านไปได้ ราคาก็จะมีแนวโน้มที่จะขึ้นต่อไป
ขอบคุณรูปจาก STARTRADER
โซนแนวต้าน (Resistance Zone)
ตรงกันข้ามกับโซนแนวรับ โซนแนวต้านสามารถสังเกตได้จากการกระจุกตัวของจุดแนวต้านหลายจุดในบริเวณเดียวกัน รวมถึงการเคลื่อนที่ของจุดกลับตัวที่นำไปสู่การก่อตัวเป็นโซนแนวต้านในที่สุด
แนวรับสามารถกลายเป็นแนวต้านได้! บ่อยครั้ง พื้นที่ที่เคยเป็นแนวรับจะเปลี่ยนเป็นแนวต้านเมื่อความเชื่อมั่นในตลาดเปลี่ยนไปในทิศทางที่เป็นบวก ในทำนองเดียวกัน แนวต้านเดิมก็สามารถกลายเป็นแนวรับใหม่ได้
นอกจากนี้ เมื่อราคามาถึงแนวรับหรือแนวต้าน ราคาสามารถเด้งออกจากเส้นนั้นหรือทะลุผ่านไปได้ หากราคาทะลุผ่านเส้นดังกล่าว บทบาทของเส้นทั้งสองจะกลับตัว โดยที่แนวรับจะกลายเป็นแนวต้าน และแนวต้านจะกลายเป็นแนวรับ
เทรดเดอร์สามารถวางแผนกลยุทธ์ตามการกลับตัวของราคา ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างมากในการวิเคราะห์แนวโน้มที่ผ่านมา และช่วยให้คาดการณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ดีขึ้น
วิธีการดูแนวรับ – แนวต้าน
ขอบคุณรูปจาก STARTRADER
เทคนิคการใช้ แนวรับและแนวต้าน
การเทรดในกรอบ (Trading Range)
การซื้อขายในช่วงระหว่างแนวรับและแนวต้านเป็นการเทรดที่เกิดขึ้นในกรอบที่ราคามีการเคลื่อนไหว ซึ่งกรอบนี้อาจเป็นกรอบแนวรับ-แนวต้านทั่วไป หรืออาจมีลักษณะเป็นรูปแบบอื่นๆ เช่น รูปแบบสามเหลี่ยม (Triangle) หรือแบบธง (Flag)
เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์นี้มักจะซื้อที่แนวรับและขายที่แนวต้าน แต่ต้องระวังว่า ระดับแนวรับและแนวต้านไม่เสมอไปที่จะเป็นเส้นที่สมบูรณ์แบบ บางครั้งราคาสามารถเด้งออกจากพื้นที่หนึ่งได้ แทนที่จะเป็นเส้นตรงที่สมบูรณ์แบบ เทรดเดอร์จึงจำเป็นต้องระบุช่วงการซื้อขายให้ถูกต้อง
ขอบคุณรูปจาก STARTRADER
กลยุทธ์เทรดเมื่อราคาเบรคเอาท์ (Breakout)
รูปแบบนี้เกิดจากการเคลื่อนไหวของราคาในกรอบและการเปลี่ยนแนวโน้มอย่างรุนแรงจนทะลุผ่านแนวรับหรือแนวต้าน
สำหรับการเบรคเอาท์ในแนวโน้มขาขึ้น เทรดเดอร์จะทำการซื้อเมื่อราคาทะลุผ่านแนวต้าน หรือซื้อเมื่อราคาลงมาทดสอบแนวรับใหม่แล้วไม่หลุดกลับลงไป
ในกรณีของการเบรคเอาท์ในแนวโน้มขาลง จะเกิดขึ้นหลังจากที่ราคาทดสอบแนวรับหลายครั้งจนกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง เทรดเดอร์สามารถใช้กลยุทธ์นี้ในการขายเมื่อราคาหลุดผ่านแนวรับ หรือขายเมื่อราคารีบาวน์กลับมาทดสอบแนวต้านใหม่
ขอบคุณรูปจาก STARTRADER
กลยุทธ์ Trendline
การใช้เส้นแนวโน้มเป็นแนวรับหรือแนวต้านคือการลากเส้นเชื่อมระหว่างจุดสูงสุดสองจุดขึ้นไปในแนวโน้มขาลง หรือจุดต่ำสุดสองจุดขึ้นไปในแนวโน้มขาขึ้น
ในแนวโน้มที่แข็งแกร่ง ราคามักจะเด้งออกจากเส้นแนวโน้มและเคลื่อนตัวตามทิศทางของแนวโน้ม ดังนั้น เทรดเดอร์ควรมองหาทิศทางของการเทรดทั้งหมดของเส้นแนวโน้ม เพื่อเพิ่มโอกาสในการเทรดให้มากที่สุด
ขอบคุณรูปจาก STARTRADER
แนวรับและแนวต้านโดยใช้ค่า Moving Averages
เทรดเดอร์หลายคนใช้เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Averages) เป็นแนวรับและแนวต้าน เพื่อช่วยในการคาดการณ์โมเมนตัมระยะสั้นในอนาคต เส้นค่าเฉลี่ยเกิดจากการคำนวณราคาปิดย้อนหลังเพื่อหาค่าเฉลี่ยตามช่วงเวลาที่เลือก เช่น เส้นค่าเฉลี่ย 5 วันของกราฟรายวันหมายถึงค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลัง 5 วัน ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์มองเห็นรูปแบบการซื้อขายในช่วง 5 วันที่ผ่านมาได้อย่างคร่าวๆ
เทรดเดอร์สามารถใช้เส้นค่าเฉลี่ยได้หลายวิธี เช่น คาดการณ์การเคลื่อนที่ของราคาไปด้านบนเมื่อเส้นราคาข้ามเหนือเส้นค่าเฉลี่ย หรือออกจากการซื้อขายเมื่อราคาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะทดลองใช้ช่วงเวลาที่แตกต่างกันในเส้นค่าเฉลี่ย เพื่อค้นหาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกรอบเวลาการซื้อขายของตน
ขอบคุณรูปจาก STARTRADER
เทรดโดยการใช้การกลับตัวของ แนวรับและแนวต้าน
แนวรับบางครั้งจะกลายเป็นแนวต้านเมื่อราคาพยายามกลับขึ้นไป และในทางกลับกัน ระดับแนวต้านจะกลายเป็นแนวรับเมื่อราคาถอยกลับชั่วคราว
สรุป
การวิเคราะห์ด้วยแนวรับและแนวต้านเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการวิเคราะห์กราฟ การใช้กลยุทธ์นี้ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถหาจังหวะที่เหมาะสมในการเข้าซื้อขาย พร้อมกับการควบคุมความเสี่ยงได้ดีขึ้น ซึ่งทำให้มีโอกาสในการลงทุนที่แม่นยำมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ยังต้องใช้ความรู้และการฝึกฝนเพื่อเพิ่มความชำนาญก่อนที่จะลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก STARTRADER
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
การลงทุนที่ดีที่สุดเพื่อเพิ่มผลกำไรจากการเทรด Forex
บทวิเคราะห์ Bitcoin
กฎของ 72 เป็นสูตรที่เรียบง่าย แต่มีประโยชน์มากสำหรับนักลงทุนที่อยากรู้ว่าเงินลงทุนจะเพิ่มขึ้นเป็น สองเท่า ภายในเวลากี่ปี ด้วยอัตราผลตอบแทนรายปีที่กำหนด หรือหากนักเทรดรู้ระยะเวลาที่เงินจะเพิ่มเป็นสองเท่าแล้ว กฎนี้ยังช่วยคำนวณอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่คุณต้องการได้ด้วย
พีระมิดการลงทุนไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยง แต่ยังสร้างสมดุลให้พอร์ตการลงทุนได้อย่างยั่งยืน หัวใจสำคัญคือการวางแผนและจัดการพอร์ตให้เหมาะสมกับเป้าหมาย พร้อมทั้งศึกษาและเข้าใจสินทรัพย์แต่ละประเภทอย่างลึกซึ้ง
FOREX.com
XM
OANDA
STARTRADER
Pepperstone
GO MARKETS
FOREX.com
XM
OANDA
STARTRADER
Pepperstone
GO MARKETS
FOREX.com
XM
OANDA
STARTRADER
Pepperstone
GO MARKETS
FOREX.com
XM
OANDA
STARTRADER
Pepperstone
GO MARKETS