简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:บทวิเคราะห์ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (25 ก.ค.) โดยดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อย หลังจากแข็งค่าในระหว่างวันขานรับตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐขยายตัวได้ดีเกินคาดในไตรมาส 2/2567
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.03% แตะที่ระดับ 104.355
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 153.79 เยน จากระดับ 154.00 เยนในวันพุธ (24 ก.ค.) และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8805 ฟรังก์ จากระดับ 0.8858 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3824 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3814 ดอลลาร์แคนาดา
ส่วนยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0848 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0838 ดอลลาร์ในวันพุธ และเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2859 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2904 ดอลลาร์
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ของ GDP ประจำไตรมาส 2/2567 โดยระบุว่า GDP ขยายตัว 2.8% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.1% หลังจากมีการขยายตัวเพียง 1.4% ในไตรมาส 1/2567 โดยการขยายตัวของ GDP ไตรมาส 2/2567 ได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน
ส่วนข้อมูลอื่น ๆ ที่มีการรายงานเมื่อคืนนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 10,000 ราย สู่ระดับ 235,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 237,000 ราย
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ดิ่งลง 6.6% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2563 และสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.3% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนพ.ค.
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไป (Headline PCE) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะปรับตัวขึ้น 2.4% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 2.6% ในเดือนพ.ค. และคาดว่าดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะปรับตัวขึ้น 2.5% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 2.6% ในเดือนพ.ค.
ขอบคุณสำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
นโยบายภาษีชุดใหม่ของทรัมป์ที่ประกาศเมื่อ “วันปลดปล่อย” ได้จุดชนวนความตึงเครียดทางเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยการขึ้นภาษีเกิน 25% อาจเร่งเงินเฟ้อและซ้ำเติมตลาดแรงงาน นักวิเคราะห์คาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยลง 1.25% ภายในปีนี้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลใช้รายได้จากภาษีเป็นเครื่องมือทั้งเศรษฐกิจและการเมือง
บทความนี้สำรวจผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อค่าเงินและตลาดการเงินทั่วโลก ผ่านกรณีศึกษาในญี่ปุ่น อินเดีย เม็กซิโก และไทย ชี้ให้เห็นว่าตลาดมักตอบสนองด้วยความวิตกในระยะสั้น ก่อนจะปรับตัวตามข้อมูลพื้นฐาน นักเทรดสามารถใช้ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสในการทำกำไร หากวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างแม่นยำ
นโยบายภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ก่อให้เกิดความกังวลในระดับโลก โดยเฉพาะการขึ้นภาษีนำเข้าในอัตราสูง นักวิเคราะห์เตือนว่าอาจกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งในสหรัฐฯ และทั่วโลก JPMorgan และ Capital Economics ชี้ว่านโยบายนี้อาจนำไปสู่ภาวะถดถอย ขณะที่ Wells Fargo คาดว่า Fed อาจต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินในอนาคต
รีวิวโบรกเกอร์ CMCMarkets
FXCM
EC Markets
FBS
OANDA
GO MARKETS
Saxo
FXCM
EC Markets
FBS
OANDA
GO MARKETS
Saxo
FXCM
EC Markets
FBS
OANDA
GO MARKETS
Saxo
FXCM
EC Markets
FBS
OANDA
GO MARKETS
Saxo